งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ 2552 .............................................

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ 2552 ............................................."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ

2 1. รูปแบบการตรวจราชการและนิเทศงาน 1
1. รูปแบบการตรวจราชการและนิเทศงาน 1.1 การตรวจราชการและนิเทศงานเชิงลึก หมายถึง การตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายเชิงลึก โดยเน้นที่สภาพปัญหาของพื้นที่ในแต่ละงาน (โครงการ/งานตามแผนการตรวจราชการฯใน 13 เรื่อง ตามแผนการตรวจราชการฯ) 1.2 การตรวจราชการและนิเทศงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึง การตรวจราชการเพื่อวัดประสิทธิผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดในแผนการตรวจราชการฯ (จำนวนตัวชี้วัดทั้งหมด 79 ตัวชี้วัด)

3 2. แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 2.1 การตรวจราชการและนิเทศงานเชิงลึก มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอของจังหวัดซึ่งเดิมจะเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว เป็นเน้นการวิเคราะห์เชิงลึก โดยให้จังหวัดนำเสนอสภาพปัญหาของแต่ละงานที่มีผลต่อการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่นั้น ๆ

4 2. แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 2.2 การตรวจราชการและนิเทศงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ การตรวจติดตามที่มุ่งเน้นผลสำเร็จของตัวชี้วัดตามที่กำหนดในแผนการตรวจราชการและนิเทศงาน ซึ่งเป็นผลงานเชิงปริมาณโดยทีมนิเทศงานจะต้องวิเคราะห์และเชื่อมโยงกับการตรวจราชการและนิเทศงานเชิงลึกเพื่อทราบถึงกลยุทธ์/ปัจจัย ที่ทำให้ผลงานสำเร็จ หรือสาเหตุของปัญหา/ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

5 3. กรอบการตรวจติดตามงานในการตรวจราชการและนิเทศงาน 3
3. กรอบการตรวจติดตามงานในการตรวจราชการและนิเทศงาน 3.1 การตรวจราชการและนิเทศงาน รอบที่ 1 เน้นกระบวนการจัดทำแผนงาน / โครงการ ที่สอดคล้องทั้งยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง และยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ โดยประเด็นสำคัญในการตรวจติดตาม รอบที่ 1 ให้จังหวัดเตรียมการนำเสนอข้อมูล ดังนี้

6 (1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่ของจังหวัด (2) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพของประชาชนโดยให้อธิบายเหตุผลความจำเป็นในการเลือกโครงการ/กิจกรรมในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ (3) อธิบายแผนงาน/โครงการ ในการแก้ไขปัญหา (13 เรื่องตามแผนการตรวจราชการฯ และปัญหาเฉพาะพื้นที่) (4) การบริหารจัดการโครงการ (แผนปฏิบัติงาน เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ การควบคุม กำกับ ติดตามงาน ฯลฯ)

7 3.2 การตรวจราชการและนิเทศงาน รอบที่ 2 เน้นที่กระบวนการดำเนินงานตามแผนและผลสัมฤทธิ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยประเด็นสำคัญในการตรวจติดตาม รอบที่ 2 ให้จังหวัดเตรียมการนำเสนอข้อมูล ดังนี้ (1) ติดตามสถานการณ์ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา และผลผลสัมฤทธิ์ต่อการดำเนินงานตามแผนการแก้ปัญหาที่จังหวัดได้นำเสนอในรอบที่ 1 (2) วิเคราะห์ปัจจัย / กลยุทธ์ที่ทำให้ผลงานสำเร็จ (3) วิเคราะห์ปัจจัย / อุปสรรค ที่ทำให้ผลงานไม่สำเร็จ (4) สรุปผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดในแผนการตรวจราชการฯ (5) แนวทางการดำเนินงานที่ทำให้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด 6) ความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานในส่วนกลาง

8 4. แผนการตรวจราชการกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ แผนงาน/โครงการ ตามแผนการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย 13 แผนงาน/งาน ได้แก่ (1) งานตามพระราชดำริฯโครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) การสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (4) การพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน

9 (5) การลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากยาเสพติด (6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสุขภาพในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน (7) การขับเคลื่อนงานสาธารณสุขเชิงรุก (8) ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น (9) การควบคุมโรคติดต่อ (10) การควบคุมโรคไม่ติดต่อ (11) งานคุ้มครองผู้บริโภค (12) การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (13) การสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและ ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ

10 4.2 แผนการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย จำนวน 2 โครงการ คือ (1) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ (2) โครงการดูแลสุขภาพนักเรียนเพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2552

11 5. ระยะเวลาการตรวจราชการฯ จังหวัดละ 3 วัน รอบที่ 1 : ระหว่างเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ รอบที่ 2 : ระหว่างเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม จังหวัดเพชรบุรี รอบที่ มกราคม รอบที่ มิถุนายน

12 6. กำหนดการตรวจราชการ (21 ม. ค
6. กำหนดการตรวจราชการ (21 ม.ค.52) วันที่ 1 : ทีมผู้นิเทศงานเข้ากลุ่มงาน / งาน ของ สสจ./รพท. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

13 6. กำหนดการตรวจราชการ วันที่ 2 : (22 ม. ค. 52) 09. 00 – 09. 30 น
6. กำหนดการตรวจราชการ วันที่ 2 : (22 ม.ค.52) – น.- นำเสนอผลงานในภาพรวมจังหวัด โดย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด – น.- นำเสนอผลงานของโรงพยาบาลทั่วไป โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล – น.- คณะตรวจราชการฯ ให้ข้อคิดเห็น – น.- ผู้ตรวจราชการฯ ตรวจเยี่ยม สสจ./รพท – น.- คณะตรวจราชการฯ แบ่งทีมตรวจเยี่ยมพื้นที่ (รพช./ สสอ./ สอ.) ออกเป็น 2 ทีม คือ ทีมที่ 1 : ผู้ตรวจราชการฯ หัวหน้าทีม หัวหน้างานตรวจราชการเขต 5 เลขานุการทีม ทีมที่ 2 : ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการฯ หัวหน้าทีม หัวหน้าสำนักงานสาธารณสุขเขต 5 เลขานุการทีม

14 6. กำหนดการตรวจราชการ วันที่ 3 : (23 ม. ค. 52) 09. 00 – 12. 00 น
6. กำหนดการตรวจราชการ วันที่ 3 : (23 ม.ค.52) – น. - ตรวจราชการแบบบูรณาการโครงการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด ผู้รับการตรวจราชการ : คณะอนุกรรมการป้องกันและ แก้ไขปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด – น. - ประชุมผู้นิเทศงานเพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่พบจากการตรวจราชการ ฯ – น. - ประชุมสรุปผลการตรวจราชการฯ ใน ภาพรวมจังหวัด

15 7. กรอบการจัดเตรียมเอกสารประกอบการตรวจราชการในระดับจังหวัด 7
7. กรอบการจัดเตรียมเอกสารประกอบการตรวจราชการในระดับจังหวัด การตรวจราชการในรอบที่ ข้อมูลที่จัดทำ เอกสารรูปเล่ม สำหรับให้คณะตรวจราชการฯ ศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการตรวจราชการฯ ประกอบด้วย (1) ข้อมูลทั่วไป สถานะสุขภาพ และทรัพยากรด้านสาธารณสุข (2) ข้อมูลปัญหาสุขภาพในพื้นที่ภาพรวมจังหวัด (3) สถานการณ์ปัจจุบันและแผนงาน/โครงการรองรับตัวชี้วัดตามแผนการตรวจราชการฯ ปี 2552 (79 ตัวชี้วัด) และปัญหาสุขภาพในพื้นที่

16 (4) วิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์ 2 โครงการบูรณาการ (เอดส์ และสุขภาพนักเรียน) - Key Risk Area - Political Risk - Negotiation Risk (5) วิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการในจังหวัด พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหา

17 (6) การบริหารงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของจังหวัด ปี 2552 (การจัดสรรงบประมาณ / แผนงาน โครงการ / ระบบการติดตามประเมินผล) (7) แผนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของจังหวัด ปี (8) ปัญหาอุปสรรคในเชิงนโยบายต่อการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

18 การนำเสนอข้อมูลและผลงาน ที่เป็นประเด็นสำคัญ โดย Power Point โดยใช้เวลา จังหวัดละไม่เกิน 30 นาที ประเด็นสำคัญที่ควรนำเสนอ ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไป/สถานะสุขภาพ/ทรัพยากร (2) สภาพปัญหาสุขภาพของจังหวัด แผนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ (3) สรุปสถานการณ์การเงินการคลังของโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัด

19 (4) การบริหารงาน P&P ของจังหวัด (5) แผนการพัฒนา PCU ของจังหวัด (6) โครงการตรวจราชการบูรณาการ เฉพาะโครงการดูแลสุขภาพนักเรียนฯ (โครงการเอดส์ นำเสนอในวันที่เข้าตรวจบูรณาการ) (7) ปัญหาในเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะ

20 7. 2 การตรวจราชการในรอบที่ 2. 7. 2
7.2 การตรวจราชการในรอบที่ ข้อมูลที่จัดทำเอกสารรูปเล่ม สำหรับให้คณะตรวจราชการฯ ศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการตรวจราชการฯ ประกอบด้วย (1) ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการฯ รอบที่ 1 (2) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนการตรวจราชการฯ (79 ตัวชี้วัด) (3) ผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการ (เอดส์ และการดูแลสุขภาพนักเรียน)

21 (4) ผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการใช้จ่ายงบ P&P ปี (5) ผลงานเด่นหรือผลงานที่ประสบความสำเร็จ (6) ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย และแนวทางแก้ไข

22 การนำเสนอข้อมูลและผลงาน ที่เป็นประเด็นสำคัญ โดย Power Point โดยใช้เวลาจังหวัดละไม่เกิน 30 นาที ประเด็นสำคัญที่ควรนำเสนอ ได้แก่ (1) นำเสนอเฉพาะตัวชี้วัดที่ดำเนินการไม่บรรลุเป้าหมาย และแนวทางการแก้ไข (2) นำเสนอผลงานเด่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ (2) ผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการ (เฉพาะโครงการดูแลสุขภาพนักเรียนฯ) (3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ 2552 .............................................

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google