งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาอย่างยั่งยืน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวความคิด การพัฒนาอย่างยั่งยืน

2 วิวัฒนาการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ช่วงทศวรรษ 1960 มีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการใช้สารเคมี และสารพิษอย่างกว้างขวาง 1962 ตีพิมพ์หนังสือ Silent Spring กระตุ้นให้นานาประเทศเห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม และหนังสือ Population Bomb เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1968 องค์การสหประชาชาติจัดประชุมนานาชาติ เพื่อกำหนดรูปแบบการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างจริงจัง

3 1971 ตีพิมพ์เอกสาร Only One Earth เสนอแนวความคิดการจัดสรร และการสำรองทรัพยากรธรรมชาติสำหรับคนรุ่นอนาคต Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD) พัฒนาแนวความคิด Polluter Pays Principle 1972 ตีพิมพ์หนังสือ Limits to Growth ประยุกต์แนวความคิดของ Malthus ให้ความสำคัญกับการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติจัดประชุม United Nations Conference on the Human Environment มีการจัดทำร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

4 กำหนดหลักการ 26 ประการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก
1980 จัดทำ World Conservation Strategy และพัฒนาต่อมาเป็น Caring for the Earth : A Strategy for Sustainable Living 1987 ประชุม World Commission on Environment and Development ซึ่ง Gro Harlem Brundtland นายกรัฐมนตรีของประเทศนอรเวย์เสนอให้กำหนดหัวข้อทางสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในขั้นวิกฤต จัดพิมพ์เอกสาร Our Common Future 1992 การประชุม United Nations Conference on Environment and Development (UNCED) ณ ริโอเดอจาไนโร ประเทศบราซิล

5 ผลสรุปของการประชุม ณ กรุงริโอเดอจาไนโร
ปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (คำประกาศริโอ) ประกอบด้วยหลักการ 27 ข้อเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก แผนปฏิบัติการที่ 21 คำแถลงเกี่ยวกับหลักการเรื่องป่าไม้ อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

6 Sustainable Development is development that meets the needs of the present without compromising the ability of the future generations to meet their own needs การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน โดยแนวทางที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมของสิ่งมีชีวิต โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของคนในรุ่นต่อไปในอนาคตด้วย

7 แนวทางการประยุกต์หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ยึดถือความสมดุลของระบบนิเวศ และระบบสิ่งแวดล้อม (Ecocentric) ยึดถือการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ (Anthropocentric) เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน บูรณาการแนวความคิดการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการตัดสินใจในทุกระดับ พิจารณาต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และต้นทุนทางสังคม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบเสมอภาค กระจายโอกาสการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

8 - พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง รักษาระดับประชากรโลกให้คงที่เพื่อการให้บริการด้านการศึกษา สาธารณสุข และบริการอื่น ๆ มีประสิทธิภาพ

9 ความต้องการทางเศรษฐกิจ ศักยภาพของสิ่งแวดล้อม
ความต้องการทางสังคม ความต้องการทางเศรษฐกิจ ศักยภาพของสิ่งแวดล้อม

10 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทาง The Stockholm Declaration และ Rio Declaration
1) ความร่วมมือระหว่างประเทศทางสิ่งแวดล้อม 2) การให้คำแนะนำในเรื่องทางสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง 3) หลักการป้องกันล่วงหน้า 4) สิทธิของรัฐในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ 5) ความเสมอภาคในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ 6) การแจ้งเหตุฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 7) หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย

11 8) สิทธิในสิ่งแวดล้อม 9) ความยุติธรรมในสิ่งแวดล้อมสำหรับชนยุคอนาคต 10) การขจัดปัญหาความยากจน 11) พันธกรณีร่วม และพันธกรณีที่แตกต่าง 12) การมีส่วนร่วมของประชาชน 13) การไม่เลือกปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อม 14) การระงับข้อพิพาทอย่างสันติ

12 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. Principle of Futurity (Inter-generational equity) 2. Principle of Social Equity (Intra-generational equity) 3. Principle of Environmental Conservation and Protection (Transfrontier responsibility) 4. Principle of Public Participation การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา (Family-based development and Community-based development)

13 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนากับคุณภาพสิ่งแวดล้อม รูปแบบของกิจกรรมการพัฒนาที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นกิจกรรมที่ไม่ส่งผลเสียหายต่อปริมาณสำรองของทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอื่นทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณน้อย, 2) หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการฟื้นคืนสภาพของทรัพยากรธรรมชาติ,

14 3) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคในการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ และ
4) หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแนวโน้ม หรือก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเสียความสมดุลตามธรรมชาติของระบบนิเวศ


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google