งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

2 เนื้อหาในบทเรียน 1. รู้จักความหมายของซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
2. ชนิดของเครื่องมือสำหรับการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต 3. รู้จักตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่าง ๆ 4. ประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ Blog 5. ประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ Folksonomy 6. ประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ KUI

3 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกัน โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคม หรือชุมชนออนไลน์ เช่น - - Instant messaging - WEB - Blog - Wiki เป็นต้น

4 ชนิดเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร (1)
1. เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ - เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) ไม่ว่าจะเป็นการเขียน ส่งเสียง ส่งเป็นวีดีโอ ตัวอย่างเช่น การใช้ เป็นต้น - เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่ม แบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat เป็นต้น

5 ชนิดเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร (2)
2. เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ - เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์เพื่อการจัดการความรู้มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้น เช่น การสืบค้นข้อมูล - ส่วนในระดับถัดมา เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น

6 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคม
1. Blog 2. Internet Forum 3. Wiki 4. Instant Messaging 5. Folksonomy 6. KUI (Knowledge Unifying Initiator)

7 Blog

8 Blog - Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log - Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ,รูปและลิงค์ - การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging” - บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries” - บุคคลที่โพสลงใน “entries”เรียกว่า “blogger”

9 จุดเด่นของ Blog 1. Blog เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความ เป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้ชัดเจน 2. มีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น 3. Comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการ เรียนรู้ใหม่ๆ

10 Blog แตกต่างจากเว็บอื่นๆ อย่างไร
- การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย - มี template อัตโนมัติช่วยจัดการ - มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ - ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย - เจ้าของ blogจะเป็นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านั้น

11 Blogging และวิถีของผู้คน
- Blogger หลายคนสนับสนุนแนวคิดเรื่อง open source - Blog ส่งผลกระทบต่อสังคมได้ เช่นบาง Blog นั้นลูกจ้างอาจจะก่อรำคาญใจต่อนายจ้างและทำให้บางคนถูกไล่ออก - คนใช้ Blog ในทางอื่นๆ เช่นส่งข้อความสู่สาธารณะ อาจจะมีปัญหาตามมาได้ คือการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญา หรือการให้ข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือได้ - บางครั้งการสร้างข่าวลือก็เอื้อประโยชน์ต่อสื่อสารมวลชนที่สนใจเรื่องนั้น ๆ ได้ - Blog เป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้านจิตวิทยา , อาชญากรรม , ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ - Blog เป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

12 รูปที่ 8-1 ตัวอย่าง Blog และหน้าจอการ post ข้อความใน Blog

13 ตัวอย่างหน้าจอการ post ข้อความใน BLBlog

14 Internet Forum

15 Internet Forum - ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
- มีการรวบรวมข้อมูลทั่วๆไป เช่น เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง - ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้ - ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่งโพส ความคิดเห็นของตนเองลงไปได้

16 Forum เรื่อง Computer และ Internet

17 Forum เรื่อง Game

18 Wiki

19 Wiki(1) - Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"
- สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน - Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ

20 Wiki(2) - มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น - Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารณะ ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย - มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ - วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ - ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ

21 Wiki(3) - ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดีพึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด - เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุด - ดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใดๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิของปัจเจก (individual)ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

22 หน้าจอ Wikipedia http://th.wikipedia.org

23 Instant Messaging

24 Instant Messaging - เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy - ตัวอย่างเช่น Gtalk , Skype , Meetro , ICQ , Yahoo Messenger , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น

25 ตัวอย่างโปรแกรม Instant Messaging

26 Folksonomy

27 ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)
ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 1. ค้นหาในเนื้อความ (Text Search) 2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological) 3. แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)

28 ค้นหาในเนื้อความ - Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page
- ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ - เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ อย่างไรต่อไป

29 เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
- เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน - เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง - Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน - ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้

30 แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)
ลักษณะอื่น ๆ ที่นำมาใช้ร่วมในการแบ่งประเภทนี้ อาจจะเป็น ช่วงราคาสินค้า, ยี่ห้อสินค้า, ผู้สร้าง, สถานที่ จะช่วยทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น เช่น ค้นหาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ราคาไม่เกิน 30,000 บาท, ยี่ห้อ Dell เรียงลำดับตามยอดขายสูงสุดไปต่ำสุด การใช้ลักษณะหลาย ๆ ด้านมาทำการแยกแยะข้อมูลเรียกว่า Faceted Classification

31 ปัญหาที่พบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่
- เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน - การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก - การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด - ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ

32 ตัวอย่างโครงการที่ใช้อาสาสมัครมาช่วยกันจัดระเบียบกลุ่มประเภทของเว็บ
- โครงการ Open Directory Project ( - แม้กระนั้นก็ตามโครงการนี้ก็ยังไม่สามารถโตได้ทันกับการเติบโตของเว็บทั้งหมดได้เลย นี่เองเป็นแรงผลักให้เกิดระบบ ปัจเจกวิธาน ขึ้น - เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการข่าวสารความรู้สำหรับปัจเจกบุคคลอันนำมาซึ่งประโยชน์อันกว้างขวางในการศึกษาความสนใจและพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคมโดยรวมได้

33 กำเนิด ปัจเจกวิธาน - Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ Keyword เพื่อจัดกลุ่มแทน - เช่น “search engine tools” และ “password security tools” เมื่อต้องการเรียกเว็บที่มีคำว่า tools ก็จะสามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันที - ปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสัก 2-7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่ที่สามารถจัดเป็นกลุ่มเว็บได้

34 ตัวอย่าง tag ที่เกี่ยวกับ google maps

35 รูปที่รวม tag คำว่า tools
วิธีการใช้ tag นี้มีความสะดวกตรงที่ไม่ต้องจำลำดับชั้นการจัดระเบียบเช่นเดิม การค้นเจอเว็บก็ได้จาก tag หลาย ๆ ตัวได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ข้อมูลใน Folder เดียวกัน Joshua นำให้ทุก ๆ คนสามารถตรวจดูเว็บที่มีการตั้งชื่อ tag โดยผู้อื่นได้

36 ที่มาของคำว่า Folksonomy
- คำว่า Folksonomy นี้ มีที่มาจากการที่ ใครก็ได้ทุก ๆ คน (Folk) มีสิทธิในการจัดทำอนุกรมวิธาน (Taxonomy) หรือ จัดกลุ่มประเภทหมวดหมู่ของเอกสารในโลกอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในแบบที่ตนเข้าใจ - ต่างจากการทำ Taxonomy เช่น การจัดประเภทสัตว์หรือพืช ที่อาศัย ผู้รู้ เป็นผู้ดำเนินการและให้ผู้อื่นจัดว่าอะไรควรจะอยู่ประเภทไหนตามที่ผู้รู้นั้นได้กำหนดไว้แล้ว

37 คุณลักษณะพิเศษที่ได้จาก ปัจเจกวิธาน
- กระแสการติดตามเว็บใหม่ ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed) - การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆตาม หัวเรื่องที่สนใจ (Tag Cloud) - การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity) - การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

38 กระแสการติดตามเว็บใหม่ ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed)
- จากตัวอย่าง มีหน้าเฉพาะสำหรับ Tag คำว่า Tools ซึ่งก็อาจจะมีหน้าเฉพาะอื่น ๆ ให้ เข้าไปติดตาม Tag เฉพาะใด ๆ ได้ เช่น ถ้าท่านสนใจเรื่องภาษาไทย ท่านอาจจะตามอ่านได้จากหน้า “ tag/thai” หรือ “tag/thai+language” - นอกจากนี้ยังมีการสร้าง RSS feed สำหรับหน้าดังกล่าว เพื่อใช้เตือนทาง RSS reader ว่ามีเนื้อหาใหม่ ๆ ตาม Tag ดังกล่าว เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมา ดังรูป

39 ตัวอย่าง RSS feed

40 การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ
ตามหัวเรื่องที่สนใจ (Tag Cloud) เมื่อมีการใส่ tag เป็นจำนวนมากแล้ว ระบบของ ปัจเจกวิธาน สามารถแสดงภาพรวมออกมาได้ว่าทุก ๆ คนใช้ tag ใดมากน้อยเพียงใดดังรูป tag ใดที่มีคนใช้มาก ก็จะตัวใหญ่ tag ใดใช้น้อยก็จะตัวเล็ก การแสดงภาพรวมนี้สามารถทำได้ทั้งของทุก ๆ คนรวมกัน หรือ เฉพาะบุคคลไป (ซึ่งจะชี้ให้เห็นได้ว่าบุคคลนั้นสนใจเรื่องใดบ้าง)

41 การให้คะแนนความนิยม(Rating and Popularity)
ตัวอย่างการค้นหาเว็บที่เกี่ยวกับ Wallpaper ใน del.icio.us การที่เว็บมีข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกว่าข้อมูลใด น่าสนใจที่สุด ระบบของ ปัจเจกวิธาน ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการแสดงจำนวนผู้ใช้ที่ได้ใส่ tag ให้กับเว็บนั้น ๆ ถ้ามีจำนวนผู้ใช้ที่ใส่ tag มากก็แสดงว่าเว็บนั้นเป็นที่นิยม

42 การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน
(Cross-Navigation) การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่างได้ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แกนดังกล่าวได้แก่ - User: เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ tag ให้และเรียกดู tag cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย - Tag: เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ tag และเรียกดู tag ที่ เกี่ยวข้องได้ด้วย - URL: เว็บเว็บนี้มีใครใส่ tag บ้าง และใส่ว่าอะไรบ้าง การค้น อาจจะเริ่มจากที่ User แล้วไปที่แกน tag และทำให้ พบtag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนแต่แรก

43 การใช้ tag สามารถพบได้ในการนำไปกับเนื้อหาอื่น ๆ นอกจาก URL เช่น
- Flickr.com เก็บ และ ใส่ tag ให้กับรูปภาพ - CiteULike.org เก็บและใส่ tag ให้เอกสารงานวิจัย (academic paper) - 43Things.com บันทึกสิ่งที่อยากทำในชีวิตพร้อมกับใส่ tag ให้กิจกรรมนั้น - Tagzania.com บันทึกสถานที่ และใส่ tag ให้กับสถานที่หรือแผนที่

44 ตัวอย่าง tag/cat รวมภาพที่เกี่ยวกับแมวบน Flickr.com

45 อนาคตของ ปัจเจกวิธาน - ระบบการใช้ tag จะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ Blog และ Wiki เพื่อความสะดวกให้การค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในซอฟต์แวร์ทั้งสอง - ในระยะยาวอาจจะมีการแข่งขันของโปรแกรมลักษณะนี้อีกก็เป็นไปได้ โดยที่อาจจะมีคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถใหม่ ๆ

46 KUI

47 KUI (Knowledge Unifying Initiator)(1)
- Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้ โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge Management) - KUI ประกอบด้วย 3 หมวดหลักดังนี้ - Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์ - Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น - Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย

48 KUI (Knowledge Unifying Initiator)(2)
- แต่มีสิ่งที่แตกต่างจากเว็บบอร์ด คือ ถ้าประเด็นความเห็นใดสมาชิกให้คะแนน (Vote) น้อย หรือคนไม่สนใจ ประเด็นนั้นก็จะถูกลบออกไป โดยเกณฑ์การให้คะแนน (Vote) นั้น ต้องมีสมาชิกให้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของสมาชิกที่ได้ทำการลงทะเบียน

49 KUI (Knowledge Unifying Initiator)(3)
- นอกจากนี้ยังมีส่วน Dictionary จะแสดงผลข้อมูลคำศัพท์ และใน Documentations เป็นการอธิบายการทำงานในแต่ละโมดูล - สมาชิกสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายได้ แต่ถ้าหัวข้อใดที่สมาชิกเป็นคนเพิ่มเข้าไปเองก็จะสามารถแก้ไขชื่อหัวข้อได้ด้วย

50 ตัวอย่างหน้าจอการใช้งาน KUI http://tosf.buu.ac.th/kui

51 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม

52 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
- ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (social computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม - ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุด - เช่น การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ - ในการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อสังคมจึงเน้นให้คงความเป็นปัจเจก (individual) ของบุคคลไว้ - การให้โอกาสปัจเจกบุคคลสามารถแสดงออกสู่สาธารณะเพื่อสนับสนุนให้มีการตอบสนองจากสังคมอย่างเท่าเทียมเป็นปารถนาสูงสุดของการประมวลทางสังคม

53 ประโยชน์ของการใช้บล็อก (blog)
- เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้เพื่อการเสนอ (post) ข้อความต่อผู้อื่นในสังคม และอนุญาตให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้ - ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปจะสามารถใช้บล็อกได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก - บล็อกจะเรียงลำดับตามเหตุการณ์จากปัจจุบันไปอดีต จึงเป็นโอกาสที่ผู้ใช้จะใช้บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้บันทึกได้ในทุกๆ เรื่อง ตามประสงค์ของผู้บันทึก - บล็อกจึงสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในกระบวนการการจัดการความรู้ การสร้างลักษณะนิสัยให้ประชาคมในสังคมรักการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในบล็อกจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตของสังคมนั้น

54 ประโยชน์ของการใช้ปัจเจกวิธาน (folksonomy)
- ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่ แห่งสรรพสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ โดยผู้จัดหมวดหมู่เป็นผู้กำหนดเอง - ปัจจุบันยังไม่มีปัจเจกวิธานตัวใดที่สามารถใช้จัดหมวดหมู่ได้ทุกสรรพสิ่ง แต่มีซอฟต์แวร์ปัจเจกวิธานเฉพาะเรื่องให้เลือกใช้ เช่น - การจัดหมวดหมู่ของรูปภาพ สามารถใช้บริการที่ - การกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ สามารถใช้บริการที่ - การจัดหมวดหมู่ลิงค์เชื่องโยงในอินเทอร์เน็ตที่สนใจได้แก่ - ประโยชน์อย่างมากของปัจเจกวิธานก็คือการเปิดโอกาสผู้ใช้ได้มีโอกาสในการจัดหมวดหมู่สารสนเทศที่สามารถใช้เป็นแหล่งความรู้ได้ด้วยตนเองได้โดยปราศจากการบงการ (เพียงแต่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์) จากผู้อื่นหรือจากระบบแต่อย่างใด

55 ประโยชน์ของการใช้ปัจเจกวิธาน (folksonomy) (ต่อ)
เจตจำนงสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมอันหนึ่งก็คือ - การเปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลได้มีโอกาสในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคมของพวกเขาได้ด้วยตนเอง - การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะมีอิสรเสรีในการเลือกประโยชน์ที่ต้องการด้วยตัวเอง - ดังนั้นคำตอบในเรื่องประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม จึงเป็นคำตอบที่ท่านต้องตั้งคำถามให้ไว้กับตนเองตอบนั่นเอง

56 การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมในการจัดการความรู้

57 การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมในการจัดการความรู้
- หัวใจของกระบวนการจัดการความรู้ เน้นที่การแบ่งปันความรู้ - มีการใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ และการจัดเก็บความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมาย เช่น - สร้างฐานความรู้ (knowledge base) - ส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกัน เช่น groupware มาใช้ประโยชน์

58 ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม “คุย” หรือ “KUI
- มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในสังคม ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้ - เป็นการเปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลสามารถเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยแต่ละคนมีอิสรเสรีในการนำเสนอความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจ - โปรแกรม “คุย” ใช้หลักการของการเคารพความเห็นของส่วนรวม ปฏิบัติตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ แต่ยังรับฟังความคิดเห็นที่ดีของคนส่วนน้อย - โปรแกรมคุยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน และใช้ประโยชน์เพื่อจรรโลงสังคมได้

59 ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของโปรแกรม KUI
- โปรแกรมคุยสามารถถูกนำไปใช้ในโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เช่น - การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ในภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบ - เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ - เป็นพื้นที่ที่คณะกรรมการตรวจสอบสามารถใช้เพื่อแจ้งข่าวสาร ข้อเท็จจริงและสารสนเทศอื่นๆ ที่สามารถส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกิจกรรมการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ ได้ - โปรแกรมคุยสามารถถูกนำไปใช้ในโครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

60 จบการนำเสนอ คำถาม??


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google