งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์

2 การสังเกต เป็นการค้นหาความจริงของพฤติกรรมบุคคลที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด โดยอาจเลือกศึกษาจากพฤติกรรมที่บุคคลเหล่านั้นแสดงออกบ่อยๆ จนเป็นปกติวิสัย หรือกรณีพิเศษก็ได้ เป็นการแสวงหาความจริงของปรากฏการณ์ โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งหลายของผู้สังเกตโดยตรง จำเป็นต้องมีเงื่อนไข หรือข้อกำหนดบางประการสำหรับการสังเกตแต่ละครั้ง ซึ่งได้แก่ ความตั้งใจ (Attention) ความไวในการใช้ประสาทสัมผัสหรือผัสสะ (Sensation) ความไวในการรับรู้หรือสื่อความหมาย (Perception)

3 ลักษณะการสังเกตที่ดี
เป็นการสังเกตเพื่อตอบปัญหาการวิจัย มีการกำหนดไว้แน่ชัดว่าจะสังเกตอะไร (สังเกตอะไร สังเกตใคร) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดขอบเขตของปัญหา และทราบเป้าหมายที่แน่นอนของการวิจัยครั้งนั้นๆ นั่นคือ ผู้สังเกตต้องสามารถเลือกพฤติกรรมหลักที่ต้องการสังเกต ต้องสามารถนิยามพฤติกรรมเหล่านั้นได้แจ่มชัดว่า พฤติกรรมนั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ต้องการสังเกตไปเพื่ออะไร จะเกิดประโยชน์อย่างไร ซึ่งสามารถทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่อง ของพื้นที่ และของเวลา (สังเกตที่ใด สังเกตแค่ไหน สังเกตเมื่อไหร่ ) มีการบันทึกเป็นหมวดหมู่ หรือมีการแปลงเป็นตัวเลขเพื่อให้สามารถนำไปคำนวณได้เป็นรูปธรรม และเชื่อมโยงกับข้อเสนอทั่วไปได้ (สังเกตอย่างไร) ผู้สังเกตต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะสังเกต หรือมีการแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาก่อนที่จะสังเกตสิ่งนั้น (ความถูกต้อง_Validity) ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตต้องสามารถทำซ้ำ และนำมาตรวจสอบกับคนอื่นๆ ได้ (ความเชื่อถือได้_Reliability)

4 ข้อดี สามารถบันทึกเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมในขณะที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะได้ข้อเท็จจริงถูกต้องกว่าการสอบถามผู้รู้ในภายหลัง เพราะอาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากผู้ให้สัมภาษณ์ลืมเหตุการณ์นั้นแล้ว สามารถบันทึกได้ว่าทำไมจึงเกิดสถานการณ์เช่นนั้น ทำไมจึงเกิดพฤติกรรมเช่นนั้น สามารถรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่ไม่สามารถให้คำตอบได้โดยเฉพาะ การได้มาซึ่งข้อมูลยังขึ้นอยู่กับความเต็มใจของบุคคลที่จะให้ข้อมูลด้วย ในบางกรณีที่บุคคลไม่ยอมให้ข้อมูล หรือต่อต้านการวิจัยเพราะไม่มีเวลา หรือไม่ยอมสัมภาษณ์ ในกรณีเช่นนี้ต้องอาศัยการสังเกตโดยตรง เพราะจะช่วยลดปัญหาการขอความช่วยเหลือจากบุคคลไปได้

5 ข้อเสีย การสังเกตบางอย่างไม่อาจทำได้ตามที่ต้องการ จะต้องรอคอยจนกว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น เช่น พิธีแต่งงาน น้ำท่วม เป็นต้น การสังเกตโดยตรงด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่า พฤติกรรมบางอย่างไม่เปิดโอกาสให้สังเกตได้ เช่น ความสัมพันธ์ทางเพศ ฯลฯ การสังเกตยังถูกจำกัดด้วยเงื่อนเวลา เนื่องจากระยะเวลาของเหตุการณ์ เช่น เราไม่สามารถสังเกตประวัติชีวิตของบุคคลได้โดยตรง การสังเกตให้ข้อมูลในเชิงคุณภาพ การจะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสถิติจึงต้องเพิ่มเทคนิคพิเศษเข้าไป มิฉะนั้นนักวิจัยก็จะได้แต่เพียงอธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูลเท่านั้น การสังเกตมีปัญหาเรื่องความเชื่อถือได้ของข้อมูล การที่นักวิจัยสร้างความสัมพันธ์กับคนหรือกลุ่มที่ตนศึกษามากหรือน้อย อาจจะมีผลทำให้ข้อมูลที่ได้มีอคติในบางเรื่อง

6 คุณสมบัติของผู้สังเกต
ผู้สังเกตต้องมีประสาทสัมผัสที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ผู้สังเกตต้องมีความสามารถที่จะจดบันทึกเหตุการณ์ได้รวดเร็ว และถูกต้อง ผู้สังเกตต้องมีความตื่นตัวอยู่เสมอ ผู้สังเกตต้องสามารถควบคุมความลำเอียงส่วนตัว ผู้สังเกตต้องมีเครื่องมือสำหรับจดบันทึกข้อมูล

7 ข้อแนะนำสำหรับผู้สังเกต
ต้องรู้จักแสวงหาความรู้ในเรื่องที่จะสังเกตให้มากที่สุด ก่อนสังเกตควรทบทวน อ่านหัวข้อย่อๆ ของเรื่องที่จะไปสังเกตให้แม่นยำขึ้นใจ เพื่อจะได้สังเกตตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย เตรียมเครื่องมือจดบันทึกข้อมูลให้เรียบร้อย การสังเกตควรกระทำอย่างระมัดระวังตั้งใจ พยายามขจัดความกังวลใจ และสิ่งรบกวน ก่อนจะไปสังเกต ควรเตรียมสภาพร่างกาย และเครื่องมือให้พร้อม ต้องตัดสินใจว่าจะสวมบทบาทใดในหลายบทบาทที่ต้องเลือก

8 ระบบการสังเกต เนื้อหาของการสังเกต การบันทึกการสังเกต
การเพิ่มความเชื่อถือได้จากการสังเกต ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สังเกตกับผู้ถูกสังเกต

9 เนื้อหาของการสังเกต ผู้ที่มีส่วนร่วม (The Participants)
ที่ตั้ง (The Setting) จุดมุ่งหมาย (The Purpose) พฤติกรรมทางสังคม (The Social Behavior) ความถี่และระยะเวลา (Frequency and Duration)

10 การบันทึกการสังเกต บันทึกข้อมูลควรจะกระทำทันทีในขณะที่กำลังสังเกต หรืออยู่ในเหตุการณ์นั้น เพราะจะทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ครบถ้วน แอบจดบันทึกไว้ในกระดาษแผ่นเล็กๆ หรือบันทึกเสียงด้วยอุปกรณ์เล็กๆ โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึกตัว เมื่อกลับที่พักหรือช่วงเวลาว่างก็ให้รีบจดบันทึกรายละเอียดให้ได้มากที่สุดโดยระบุวันเวลาที่สังเกต และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

11 การเพิ่มความเชื่อถือได้จากการสังเกต
ประสบการณ์ และความสามารถของผู้สังเกต การเลือกใช้เครื่องมือทุ่นแรงและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม ให้มีผู้สังเกตการณ์มากกว่า 1 คน จัดหมวดหมู่การบันทึกอย่างเป็นระบบ

12 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สังเกตกับผู้ถูกสังเกต
ผู้สังเกตต้องตัดสินใจว่าจะเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าตนเองเป็นนักวิจัย หรือจะใช้วิธีปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าเป็นนักวิจัยจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดทำให้มีโอกาสได้ข้อมูลมากกว่า แต่ในบางสถานการณ์การปลอมตัวก็อาจจะเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความจริงมากกว่า ผู้สังเกตควรจะสร้างมิตรภาพกับผู้ถูกสังเกต โดยการสร้างความสัมพันธ์ทีละเล็กทีละน้อย อย่าทำอย่างรวดเร็ว และไม่ควรเสนอตัวกับผู้ที่เราจะสังเกตมากนัก ควรพยายามทำความรู้จักอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ผู้ถูกสังเกตไว้ใจ


ดาวน์โหลด ppt การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google