งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์

2 พฤติกรรมด้านจิตพิสัย
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใจจิตใจของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความรู้สึก อารมณ์และจิตใจของบุคคล เช่น ความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติ ค่านิยม ความต้องการ การปรับตัว คุณธรรม จริยธรรม บุคลิกภาพ เป็นต้น เป็นสิ่งที่สร้างสมขึ้นจนเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล การเกิดจิตพิสัยภายในตัวบุคคลนั้น จะพัฒนาจากระดับต่ำจนถึงระดับสูง ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่า และ การสร้างลักษณะนิสัย การพัฒนาให้เกิดจิตพิสัยในระดับสูงต้องอาศัยพื้นฐานระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่า

3 ธรรมชาติของการวัดจิตพิสัย
เป็นคุณลักษณะด้านจิตใจที่มองไม่เห็นหรือ เป็นนามธรรม เป็นการวัดทางอ้อม การวัดจิตพิสัยมีความคลาดเคลื่อนในการวัดเกิดขึ้นได้ง่าย อาจมีการเสแสร้งและบิดเบือนคำตอบของผู้ถูกวัด การตอบของผู้ถูกวัดมีลักษณะเป็นไปตามที่สังคมมุ่งหวัง

4 องค์ประกอบของพฤติกรรมจิตพิสัย
เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงอารมณ์หรือความรู้สึกของบุคคล ในการวัดจิตพิสัยจึงต้องใช้เครื่องมือวัดที่แสดงออกในลักษณะของอารมณ์และความรู้สึก เป็นลักษณะที่มีแบบแผนเฉพาะคน คนที่มีความรู้สึกอย่างเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีการแสดงออกที่เหมือนกัน มีทิศทาง ความรู้สึกของบุคคลมีทิศทางเป็นไปในทางที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนา ชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ มีความเข้ม ระดับความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายนั้นๆ มีทั้งปรารถนามาก น้อย ชอบมากชอบน้อย เป็นต้น เป้าหมายของการวัด เป็นสิ่งที่บุคคลต้องการแสดงความรู้สึกลงไปให้ชัดเจนและแน่นอนว่า ความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด

5 หลักการวัดพฤติกรรมจิตพิสัย
วัดให้ครอบคลุมพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด วัดหลายๆ ครั้ง และใช้เทคนิคการวัดหลายวิธี วัดผลอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ถูกวัดเป็นอย่างดี ใช้ผลการวัดให้ถูกต้อง

6 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การสังเกต (Observation)
เป็นวิธีการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เครื่องมือชนิดนี้ใช้ครูหรือตัวบุคคลทำหน้าที่ในการวัดโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยเฉพาะทางตาและหูเป็นสำคัญ ลักษณะของการสังเกตจะปล่อยให้สภาพการณ์ต่างๆ ดำเนินไป ตามธรรมชาติ ในการเรียนการสอนการสังเกตทำให้ครูทราบข้อมูลที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา คุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจ นิสัยการเรียน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

7 ตัวอย่างพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้โดยการสังเกต
คุณลักษณะ พฤติกรรมที่แสดงออก ความสนใจ ความใส่ใจต่อการศึกษาวิชาต่างๆ การทำงาน การใฝ่รู้หรือการแสวงหาความรูการร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ นิสัยการเรียน การเตรียมพร้อมในการเรียน การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความซาบซึ้ง การแสดงความชื่นชม ชื่นชอบต่อวิชาที่เรียน พอใจและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรม ธรรมชาติ เจตคติ -ทางวิทยาศาสตร์ -ทางสังคม ยอมรับฟังผู้อื่น ใฝ่รู้ มีเหตุผล มีทักษะการคิด ไม่ด่วนสรุปจนกว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจน การมีสัมมาคารวะ เคารพกฎกติกา เคารพสิทธิของผู้อื่น ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือสังคม การปรับตัว ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ปฏิกิริยาต่อคำชมและคำวิจารณ์ ความมั่นคงทางอารมณ์ การปรับตัวทางสังคม

8 แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
พฤติกรรม ใช่ ไม่ใช่ 1. มาเรียนเป็นประจำ 2. ตั้งใจทำกิจกรรมแม้ไม่มีครูอยู่ด้วย 3. ซักถามครูเมื่อมีปัญหา 4. ร่วมอภิปราย 5. มีความกระตือรือร้นในการเรียน รวมคะแนน

9 แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
พฤติกรรมที่สังเกต ระดับความถี่ของพฤติกรรม เสมอๆ (5) บ่อยๆ (4) บางครั้ง (3) นานๆ ครั้ง (2) ไม่เคยเลย (1) 1. มาเรียนเป็นประจำ 2.ตั้งใจทำกิจกรรมแม้ไม่มีครูอยู่ด้วย 3. ซักถามครูเมื่อมีปัญหา 4. ร่วมอภิปราย 5. มีความกระตือรือร้นในการเรียน รวมคะแนน

10 แผนภูมิการมีส่วนร่วม (Participation Chart)
ชื่อสมาชิก ในกลุ่ม ความรับผิดชอบ การให้ความ ร่วมมือ การร่วม อภิปราย การทำงาน ที่ได้รับ มอบหมาย ร่วมกัน แก้ ปัญหา 1. ฟ้าสวย // /// 2. ฟ้าใส / 3. เหินฟ้า 4. เมฆงาม

11 ระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal)
การบันทึกพฤติการณ์ของผู้เรียน ชื่อผู้ถูกสังเกต………………………….วิชา……………………….…….ชั้น………… วัน เดือน ปี ที่สังเกต .…………เวลาที่สังเกต……………..สถานที่ที่สังเกต…………………… บันทึกพฤติกรรม/ผลการสังเกต ……….……………………………………………………..…………………… ……………………………………………………………………….…………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………… ความคิดเห็นของครู……………………………………………………….…………… ……………………………………………………………….…………………… ………………………… ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………….…… ……………………………… ผู้สังเกต…………………………...

12 การสร้างแบบบันทึกการสังเกต
กำหนดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการสังเกต แยกแยะพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตออกเป็นพฤติกรรมย่อยๆ ที่สามารถสังเกตเห็นได้เป็นรูปธรรม เช่น ต้องการวัดความสนใจในการเรียน พฤติกรรมย่อยๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น เข้าเรียนสม่ำเสมอ ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มตามบทบาท กระตือรือร้นในการเรียน เป็นต้น เลือกรูปแบบของแบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ประกอบการสังเกต วางแผนการสังเกตว่าจะสังเกตช่วงเวลาใดหรือสถานการณ์ใด ใครเป็นผู้สังเกต สังเกตกี่ครั้ง กำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละพฤติกรรมย่อย

13 คุณภาพของการสังเกตและเเบบบันทึกการสังเกต
การนิยามพฤติกรรมที่ต้องการสังเกต ต้องชัดเจน สังเกตได้ เข้าใจตรงกันการตรวจสอบคุณภาพเน้นที่ความตรงเชิงเนื้อหาเป็นสำคัญ ในการสังเกต หากผู้ถูกสังเกตมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เนื่องจากรู้ตัวว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมข้อมูลที่ได้อาจผิดพลาดได้ ผู้สังเกตต้องได้รับการฝึกฝนและรู้เรื่องที่จะสังเกตเป็นอย่างดี ซึ่งการสังเกตจะได้ผลดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ประสาทสัมผัส และการรับรู้ของผู้สังเกตซึ่งการรับรู้เป็นผลมาจากประสบการณ์และความสามารถของผู้สังเกตเป็นสำคัญ

14 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การสัมภาษณ์ (Interview)
เป็นการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายตามวัตถุประสงค์ที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ได้ข้อมูลโดยตรงจากผู้ที่เราสนทนาด้วย ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเจาะลึกเฉพาะด้านเกี่ยวกับความจริงหรือ ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความสนใจ ความคิดเห็นและเจตคติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสัมภาษณ์คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ มีลักษณะทั้งที่กำหนดคำถาม คำตอบไว้ล่วงหน้า และที่ไม่กำหนดคำถามตายตัว แต่จะกำหนดเป็นคำถามกว้างๆ คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตอบได้เต็มที่และอาจนำคำตอบนั้นมาตั้งเป็นคำถามใหม่ได้

15 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การสอบถาม (Questionnaire)
เป็นการให้ผู้เรียนเป็นผู้รายงานตนเองตามข้อคำถามที่เตรียมไว้ เป็นการสอบถามเรื่องราวต่างๆ ที่เน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความจริง ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็น คำตอบโดยมากไม่มีถูกหรือผิด การตอบให้ผู้ตอบทำเครื่องหมายในข้อที่ต้องการตอบ ซึ่งเรียกว่าแบบสอบถามปลายปิด หรือให้ผู้ตอบเขียนคำตอบเอง ซึ่งเรียกว่า แบบสอบถามปลายเปิด เนื้อหาที่ถามอาจเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียน หรือเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้เรียนด้านการเรียน ลักษณะนิสัยการเรียน ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของครู เป็นต้น

16 แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบสำรวจความสนใจกิจกรรมด้านศิลปะ
ชอบ ไม่ชอบ 1. เต้นรำ 2. แต่งเพลง 3. วาดภาพ 4. ตกแต่งบ้าน 5. เขียนบทละคร

17 แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบสำรวจความสนใจกิจกรรมด้านการอ่าน
รายการ 5 4 3 2 1 1.อ่านข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง 2. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านเศรษฐกิจ 3.อ่านข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษา 4.อ่านข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางสังคม 5. อ่านเรื่องราวด้านบันเทิง สารคดี

18 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การใช้แบบวัดเชิงสถานการณ์
เป็นการใช้สถานการณ์ต่างๆ แล้วให้นักเรียนพิจารณาว่าในสถานการณ์เหล่านั้น นักเรียน มีความรู้สึก หรือมีความคิดเห็นอย่างไร หรือนักเรียนจะทำอย่างไร คำตอบของนักเรียนจะไม่มีผิดหรือถูก แต่คำตอบจะเป็นข้อมูลบอกให้ทราบว่าคุณลักษณะในด้านนั้นๆ ที่เราต้องการวัด นักเรียนมีอยู่ในระดับใด การสร้างแบบวัดเชิงสถานการณ์ จะมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าในแต่ละสถานการณ์ต้องการตรวจสอบคุณลักษณะด้านใดของผู้เรียน ตัวเลือกจะมีระดับของคะแนนไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่อยู่กับทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่นำมาใช้เป็นหลักในการสร้างตัวเลือกเพื่อจะบอกว่า คุณลักษณะด้านจิตใจของบุคคลนั้น เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในระดับใด ตามทฤษฎีนั้นๆ

19 ตัวอย่างการวัดค่านิยมในการเสียสละ
ถ้าเพื่อนบ้านบ้านใกล้เคียงที่รู้จักชอบพอกัน มาขอยืมอุปกรณ์เครื่องใช้บางอย่าง ถึงแม้ข้าพเจ้าจะหวง แต่ข้าพเจ้าให้ยืมเพราะ 1. เป็นเพื่อนบ้านที่รู้จักคงเอากลับคืนได้ 2. คราวหน้าเราจะได้ไปยืมของเพื่อนบ้านมาใช้บ้าง 3. เป็นเพื่อนบ้านกันควรมีน้ำใจต่อกัน 4. เพื่อนบ้านจะได้เห็นว่าเราเป็นคนมีน้ำใจ 5. การแบ่งปันกันใช้เป็นสิ่งที่คนมีน้ำใจควรปฏิบัติ 6. สังคมจะอยู่ได้ก็ด้วยน้ำใจที่เอื้อเฟื้อต่อกัน

20 การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย
ขั้นต้น 1. ระบุความต้องการหรือเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการวัด เช่นต้องการวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการประกอบอาชีพ หรือต้องการวัดความมีวินัยในตนเองของผู้เรียน เป็นต้น 2. ศึกษาคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อการกำหนดคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่ชัดเจน หรือแยกเป็นด้านๆ ซึ่งอาจเป็นคุณลักษณะตามทฤษฎีหรือตามหลักวิชา หรือเป็นคุณลักษณะที่ได้จากแหล่งข้อมูลในเรื่องนั้นๆ โดยตรง 3. นำคุณลักษณะที่ต้องการวัด มาเขียนในลักษณะของนิยามปฏิบัติการหรือเขียนในลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งสามารถวัดได้ เพื่อให้คุณลักษณะที่จะวัดอยู่ในรูปของพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ หรือกำหนดขอบข่าย ประเด็นหลักและรายการของสิ่งที่จะถามในแต่ละเรื่องนั้นของการวัดนั้นให้ชัดเจนและครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัด

21 การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย
ขั้นดำเนินการสร้าง 4. กำหนดวิธีการวัดหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัด ว่าจะเป็นการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบวัดเชิงสถานการณ์ หรือมาตรวัด พร้อมทั้งรูปแบบและประเภทของคำถามให้เหมาะกับเรื่องที่จะวัดและลักษณะของผู้เรียนแต่ละระดับว่า ควรเป็นคำถามลักษณะใด 5. สร้างเครื่องมือตามลักษณะและชนิดของเครื่องมือที่กำหนด ซึ่งมีรายละเอียดของการสร้างข้อคำถามที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของเครื่องมือ 6. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ทั้งในด้านความตรง ความเป็นปรนัย ความชัดเจนของภาษา หรือความเหมาะสมของข้อความ รวมทั้งการจัดเรียงข้อความ ทั้งนี้ในการตรวจสอบคุณภาพ เป็นไปตามลักษณะของเครื่องมือวัดแต่ละชนิดที่อาจแตกต่างกันบ้างในบางประเด็น สำหรับการตรวจสอบคุณภาพขั้นนี้โดยการ 6.1 ตรวจสอบข้อคำถามเหล่านั้นด้วยตนเอง แล้วทำการปรับปรุงแก้ไข 6.2 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา องค์ประกอบของเครื่องมือวัดที่ดี ความชัดเจนและความถูกต้องของภาษาที่ใช้ นำข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงตามความเหมาะสม

22 การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย
ขั้นดำเนินการสร้าง 7. นำเครื่องมือที่สร้างไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่ไม่ใช่ผู้เรียนจริงที่จะวัด เพื่อดูความเป็นปรนัย ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ คือดูว่าข้อคำถามนั้นเข้าใจตรงกันหรือไม่ มีความเข้าใจในข้อคำถามเพียงใด คำถามชัดเจนเข้าใจง่ายหรือไม่ มีคำตอบที่ควรจะเป็นครบหรือไม่ ถ้าเป็นคำถามปลายเปิดมีที่ว่างเพียงพอที่จะตอบหรือไม่ ที่สำคัญคือคำชี้แจง ผู้ตอบมีความเข้าใจคำชี้แจงมากน้อยเพียงใด 8. นำผลที่ได้จากการทดลองใช้มาวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ แล้วปรับปรุงแก้ไขตามผลการทดลองใช้ในด้านความเป็นปรนัย และตามผลการวิเคราะห์ 9. ทดลองใช้ แล้วนำผลการทดลองใช้มาวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ และคุณภาพทั้งฉบับด้านความตรง และความเที่ยง นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข 10. สร้างเกณฑ์การแปลความหมายของคะแนน เมื่อเครื่องมือมีคุณภาพดีแล้วและจัดพิมพ์เครื่องมือวัดเป็นฉบับสมบูรณ์ต่อไป

23 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย ความตรง (Validity)
หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือในการวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด ในการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวัดจิตพิสัย เน้นการตรวจสอบความตรงตามคุณลักษณะหรือความตรงตามโครงสร้างหรือความตรงตามทฤษฎี (Construct validity) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของเครื่องมือในการวัดได้ตรงตามพฤติกรรมหรือคุณลักษณะ (Trait) ทางจิตวิทยาที่ต้องการวัดซึ่งเป็นโครงสร้างของเรื่องนั้นๆ ตามที่กำหนดไว้ในทฤษฎีเรื่องนั้นๆ โดยตรวจสอบว่า ข้อความในเครื่องมือวัดแต่ละข้อความหรือแต่ละตัวเลือกนั้น วัดคุณลักษณะ ได้ตามโครงสร้างทางทฤษฎีของสิ่งที่จะวัดหรือไม่ การตรวจสอบความตรงชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องมือที่วัดคุณลักษณะที่เป็นนามธรรมซึ่งวัดโดยตรงได้ยาก เช่น เชาว์ปัญญา ความสนใจ เจตคติ ความพึงพอใจ ค่านิยม บุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น

24 การตรวจสอบรายข้อและรายตัวเลือก
โดยการใช้ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ช่วยตรวจสอบซึ่งคล้ายคลึงกับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา กล่าวคือ เป็นการหาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence) ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด (Known Group Technique) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ได้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีและกลุ่มที่ไม่มีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด นำเครื่องมือวัดไปวัดกับกลุ่มรู้ชัดทั้ง 2 กลุ่ม แล้วนำผลการวัดแต่ละข้อความในแต่ละกลุ่ม มาหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่มนั้น การหาค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อ กับคะแนนรวมข้อที่เหลือ

25 อำนาจจำแนก (Discrimination)
หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือในการจำแนกคนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้ คือ คนที่มีคุณลักษณะนั้นสูง กับคนที่มีคุณลักษณะนั้นต่ำ ซึ่งสังเกตได้จากคะแนนที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือชนิดนั้นๆ ถ้าบุคคลนั้นได้คะแนนจากแบบวัดสูงแสดงว่ามีคุณลักษณะนั้นมาก ถ้าได้คะแนนจากแบบวัดต่ำ แสดงว่ามีคุณลักษณะนั้นน้อย

26 การตรวจสอบความตรงรายฉบับ
การใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด การหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบวัดที่สร้างขึ้นกับคะแนนที่ได้จากแบบวัดที่เป็นมาตรฐานที่วัดคุณลักษณะเดียวกัน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เทคนิคการวัดหลายคุณลักษณะโดยใช้การวัดหลายวิธี

27 ความเที่ยง (Reliability)
หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือในการให้ผลการวัดผู้เรียนกลุ่มเดียวกันที่คงที่แน่นอนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือความคงเส้นคงวาของผลการวัดหลายๆ ครั้งของผู้เรียนในกลุ่มเดียวกัน ถ้าเครื่องมือวัดมีความเที่ยงสูงไม่ว่าจะทำการวัดกี่ครั้งผู้เรียนคนเดิมก็จะได้คะแนนหรืออันดับที่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเครื่องมือวัดมีความเที่ยงต่ำผลการวัดก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

28 การคำนวณหาค่าความเที่ยง
การวัดความคงที่โดยการสอบซ้ำ วิธีการใช้แบบวัดคู่ขนาน วิธีการหาความสอดคล้องภายใน

29 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเที่ยงของแบบวัด
ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ประมาณ เท่าของจำนวนข้อ (Gable. 1986) ความเป็นเอกพันธ์ของข้อคำถามในแบบวัด จำนวนข้อคำถามหรือข้อความในแบบวัด

30 Question & Answer


ดาวน์โหลด ppt การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google