งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วย บริการ สป.สธ. 2557

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วย บริการ สป.สธ. 2557"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วย บริการ สป.สธ. 2557

2 ข้อแตกต่างของงบเหมาจ่ายรายหัวล่วงหน้า ปี 57
ปี 2556 ปี 2557 - OP CAP คำนวณ 2 วิธี เปรียบเทียบกัน ถ้า Cost Function มากกว่าจ่ายส่วนเพิ่ม ด้วยงบต้นทุนสูง - คำนวณ วิธีเดียว -PP ระดับพื้นที่ สำหรับค่าบริการ TSH ,Pap smear ไม่มี - PP ตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จัดสรรล่วงหน้า 70% (17.50บาท) - P&P จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จัดสรรล่วงหน้า 55% (11 บาทต่อผู้มีสิทธิ UC จาก 20บาท) - งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ จัดสรรล่วงหน้า 55% (17.60 บาทต่อผู้มีสิทธิ UC จาก 32 บาท)

3 การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วยบริการ สป.สธ. 2557
ค่าบริการ OP ที่จ่ายแบบเหมาจ่ายตามประชากร ค่าบริการ IP ทั้งบริการในเขตและนอกเขต ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P basic services) งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (QOF) 5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ 6. การปรับลดค่าแรง (หักเงินเดือน)

4 1. การประมาณการจัดสรรงบค่าบริการ OP Capitation 57
(1,001.87) จัดสรรเบื้องต้นโดยใช้ฐานประชากร UC ที่เป็นปัจจุบัน (ก.ค. 56) โดยอาจปรับตามจำนวนประชากร UC ที่คาดว่าจะลดลงในปี จากการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิทธิข้าราชการท้องถิ่น หรือปรับจาก กรณีอื่นๆเช่น ปรับจากกรณีบุคคลซ้ำซ้อน เป็นต้น โดยจัดสรรด้วย อัตรา Diff Capitation ระดับจังหวัด(830.86) + อัตราเท่ากัน ที่ บาท ต่อหัวประชากร UC สำหรับหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการใหม่ใน ปีงบประมาณ 2557 หรือรับโอนประชากรจากหน่วยบริการอื่นจะมี การปรับฐานประชากรตามข้อมูลที่ได้ประสานเพิ่มเติมกับ สปสช. เขต

5 2. การประมาณการจัดสรรงบค่าบริการ IP 57
ทั้งที่ให้บริการในเขต และนอกเขต ประมาณการ adjRW ที่คาดว่าหน่วยบริการจะทำได้ทั้งปีจาก ผลงานของหน่วยบริการที่ผ่านมา ประมาณการจัดสรรเงิน IP กรณีที่หน่วยบริการให้บริการรักษา ผู้ป่วยภายในเขตเดียวกัน ด้วยอัตราจ่ายเบื้องต้นที่ประมาณการได้ ในแต่ละเขต ประมาณการจัดสรรเงิน IP กรณีที่หน่วยบริการให้บริการรักษาผู้ป่วยนอก เขต โดยคำนวณจ่ายอัตรา 9,600 บาทต่อ adjRW 4) ประมาณการเงินบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบ ทางเดินปัสสาวะด้วยเครื่องสลายนิ่วให้เป็นไปตามเงื่อนไขบริการ และอัตราที่ สปสช.กำหนด

6 3. การประมาณการจัดสรรงบ P&P basic services
จำนวน บาท จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัวตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP สำหรับส่วนที่เหลือ (Non UC) จัดสรรเป็นภาพรวมระดับจังหวัดให้ อปสจ. พิจารณาปรับเกลี่ยเงินให้หน่วยบริการประจำ/หน่วยบริการ/สถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมจัดบริการ จำนวน บาทต่อหัวประชากรไทย จัดสรรตามปริมาณผลงานข้อมูลบริการในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาตามชุดกิจกรรมภายใต้สิทธิประโยชน์แต่ละกลุ่มวัยทุกสิทธิ 2) P&P เพื่อจัดบริการทันตกรรมส่งเสริมป้องกัน (เฉพาะกลุ่ม) จำนวน 10 บาทต่อหัวประชากรไทย จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัวตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP สำหรับส่วนที่เหลือ จัดสรรเป็นภาพรวมระดับจังหวัดให้ อปสจ. พิจารณาปรับเกลี่ยเงินให้หน่วยบริการประจำ/หน่วยบริการ/สถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมจัดบริการ 3) P&P จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จัดสรรล่วงหน้าจำนวน 11 บาทต่อผู้มีสิทธิ UC (55%ของ 20บาท)ตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP

7 4. งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ
งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ จัดสรรล่วงหน้า จำนวน บาทต่อผู้มีสิทธิ UC (55%ของ 32บาท)ตามจำนวนผู้มี สิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP

8 5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ
เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น งบประมาณทั้งหมด ล้านบาทโดยมีแนวทางการบริหารจัดการ ดังนี้ เป็นค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่ เสี่ยงภัย (พื้นที่ Hardship) ให้ใช้ผลการศึกษาสมการต้นทุนของโรงพยาบาลและ รพ.สต. (ชุดที่ปรับปรุงใหม่เป็น ตัวแทนหน่วยบริการที่มีประสิทธิภาพ) และข้อมูลงบการเงินของหน่วยบริการ โดย ประยุกต์จ่ายตามตัวแปรของสมการต้นทุน หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. อาจต้องเกลี่ยงบบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปที่ได้รับมาสนับสนุน หน่วยบริการในพื้นที่ Hardship หากงบรายการนี้ไม่เพียงพอ ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง เป็นผู้พิจารณารายชื่อหน่วยบริการและ เงื่อนไขการจ่าย

9 6. การปรับลดค่าแรง (หักเงินเดือน)
1) ปรับลดค่าแรงจากงบประมาณที่หน่วยบริการได้รับจากงบประมาณ OP/IP/PP 2) ผนวกการปรับประสิทธิภาพหน่วยบริการกับการปรับเกลี่ยค่าแรงโดยมีหลักการ ดังนี้ การปรับเกลี่ยต้องนำข้อมูลรายรับรายจ่ายจากทุกแหล่งมาคำนวณ ไม่ใช่เฉพาะ UC การปรับเกลี่ยต้องนำข้อมูลด้านประสิทธิภาพของหน่วยบริการ โดยอาจใช้ ต้นทุน ต่อหน่วย (unit cost) หรือตัวชี้วัดอื่นที่สามารถแสดงถึงประสิทธิภาพและศักยภาพของ หน่วยบริการ มาพิจารณาประกอบ โดยต้องได้รับการยอมรับและตรวจทานจากหน่วย บริการสังกัด สป.สธ. ทุกระดับ การช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาการขาดทุนต้องมีเงื่อนไขในการพัฒนาประสิทธิภาพ ของหน่วยบริการให้ดีขึ้น ต้องจัดระบบรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาและระบบในการติดตามกำกับให้มี การพัฒนาประสิทธิภาพตามแผนงานที่หน่วยบริการให้สัญญาว่าจะดำเนินการ อาจต้องมีมาตรการเฉพาะหากหน่วยบริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาด ประสิทธิภาพได้ตามแผนงานที่หน่วยบริการให้สัญญาว่าจะดำเนินการ

10 6. การปรับลดค่าแรง (หักเงินเดือน) ต่อ
3) ให้ปรับลดค่าแรงที่ระดับหน่วยบริการ (CUP) ตามจำนวนที่สำนักงบประมาณปรับลด และหากจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการให้ปรับลดค่าแรงเพิ่ม อีกไม่เกินร้อยละ 3 (ประมาณ 1,841 ล้านบาท) ของจำนวนเงินเดือนของ CUP โดย สป.สธ. เป็นผู้พิจารณา 4) จำนวนเงินที่หักไว้เกินเงินเดือนที่สำนักงบประมาณหักไว้ ให้เป็นวงเงินสำหรับการ แก้ไขปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการ (เงิน CF) โดยมอบให้เครือข่าย บริการสุขภาพระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรร ระหว่างจังหวัดในเขต และหากไม่จำเป็นต้องใช้ เงิน CF ให้จ่ายคืนหน่วยบริการ 5) การสนับสนุนเงินสำหรับการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการให้ จังหวัด เป็นผู้พิจารณาเกลี่ยการหักเงินเดือนระหว่าง CUP ภายในจังหวัดเพื่อให้มีรายได้ที่เหมาะสม โดยไม่ให้เกลี่ยเงินของ CUP ในกลุ่ม hardship ไปช่วย CUP อื่น สำหรับการปรับ เกลี่ยการหักเงินเดือนให้คำนึงถึงปัจจัยการบริหารจัดการภายในจังหวัดด้วย เช่น การส่งตัว ผู้ป่วยนอกภายในจังหวัด/ข้ามจังหวัด , ค่าดำเนินการ (Fixed cost) ของสถานีอนามัย , เงินเดือนนักเรียนทุน/ลูกจ้าง หรือกิจกรรมอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในการส่งเสริมการจัดบริการ สาธารณสุขของแต่ละหน่วยบริการ เป็นต้น

11 เปรียบเทียบงบก่อนปรับเกลี่ย จาก สสจ.
รพ. รวม Prepaid ก่อนหักเงินเดือน ปี 56 รวม Prepaid ก่อนหักเงินเดือน ปี 57 วัดพระญาติการาม 34,887,330.28 39,919,758.10 พระนครศรีอยุธยา 208,035,181.06 249,900,443.20 เสนา 139,968,495.72 151,243,638.76 ท่าเรือ 47,065,489.08 46,367,190.76 สมเด็จพระสังฆราช(นครหลวง) 46,751,922.02 41,817,222.70 บางไทร 36,980,063.09 34,555,612.68 บางบาล 30,451,724.44 28,751,032.13 บางปะอิน 72,985,114.98 78,899,824.03 บางปะหัน 44,074,502.73 34,663,481.88 ผักไห่ 47,340,018.83 42,800,570.92 ภาชี 41,721,933.65 36,237,293.92 ลาดบัวหลวง 39,753,002.79 37,644,407.19 วังน้อย 57,657,341.38 63,968,427.59 บางซ้าย 25,080,944.21 16,614,958.60 อุทัย 42,689,941.52 47,618,966.00 มหาราช 26,320,618.32 22,795,732.08 บ้านแพรก 22,013,974.66 11,729,909.81 ศูนย์เวชปฎิบัติครอบครัว 84,982,009.32 95,514,441.63 สสจ.ปรับเกลี่ย 52,806,389.20 35,866,526.08  รวม 1,101,565,997.28 1,116,909,438.06


ดาวน์โหลด ppt การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วย บริการ สป.สธ. 2557

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google