งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา หลักการตลาด บทที่ 9 การจัดการโซ่อุปทานและโลจีสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา หลักการตลาด บทที่ 9 การจัดการโซ่อุปทานและโลจีสติกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา หลักการตลาด บทที่ 9 การจัดการโซ่อุปทานและโลจีสติกส์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อ.จิรญา โพธิเวชเทวัญ

2 บทที่ 9 การจัดการโซ่อุปทานและโลจีสติกส์
การจัดการโซ่อุปทาน ความหมาย ฐาปนา บุญหล้า “การจัดการโซ่อุปทาน คือการกำหนดกระบวนการบูรณาการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่งและการคืนสินค้า ตั้งแต่ผู้ขายสินค้าทุกระดับจนถึงลูกค้าทุกระดับ รวมทั้งแนวทางกลยุทธ์การปฏิบัติการขององค์กรให้เกิดการไหลของสินค้า การไหลของงานและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดต้นทุนรวมให้ต่ำที่สุดสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคและเกิดความได้เปรียบการแข่งขันแบบยั่งยืน”

3 วัตถุประสงค์ของการจัดการโซ่อุปทาน
1.สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการส่งมอบสินค้าและบริการให้ลูกค้าในสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ในปริมาณที่ถูกต้อง ในเวลาที่ต้องการ และส่งมอบด้วยต้นทุนต่ำสุด 2.สามารถเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ ช่วยให้สามารถจำหน่ายสินค้าในความต้องการของลูกค้าได้หมด และลดต้นทุนในการดำเนินการ ทำให้ธุรกิจได้กำไรมากขึ้น

4 หลักการพื้นฐานในการจัดการโซ่อุปทาน
1.การจัดการอุปสงค์ ด้วยการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าให้ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด 2.การจัดการอุปทาน ด้วยการจัดหาสินค้าและบริการตามที่ลูกค้าต้องการ (ตามการพยากรณ์) 3.การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ระบบที่ทันสมัย เช่น บาร์โค๊ท ระบบ EDI

5 กิจกรรมการจัดการโซ่อุปทาน
1.กิจกรรมเตรียมการผลิต ด้วยการจัดหาวัตถุดิบ หรือปัจจัยในการผลิต รวมถึงเครื่องมือ เครื่องจักร 2.กิจกรรมการกระจายวัสดุเพื่อการผลิต คือการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตให้ทันเวลา JIT รวมทั้งควบคุมดูแลไม่ให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงเกินไป 3.กิจกรรมการกระจายสินค้าเพื่อการจำหน่าย โดยการกระจายสินค้าไปตามช่องทางต่างๆ จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย 4.กิจกรรมการจัดการสารสนเทศ การตลาดและการเงิน ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และประหยัด

6 การจัดการโลจีสติกส์ ความหมาย วันชัย รัตนวงษ์ “การจัดการโลจีสติกส์ คือ กระบวนการในการวางแผน จัดสายงาน และควบุคมกิจกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการไหลของสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภค เพื่อให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่สุด” วิโรจน์ พุทธวิถี “เป็นการจัดให้มีสินค้าที่มีคุณภาพ สถานะ สถานที่ เวลา ลูกค้า ต้นทุนที่ตรงกับความต้องการเน้นที่ต้นทุนและบริการ ซึ่งเป็นระบบนับสนุนเพื่อเชื่อมต่อกิจกรรมการจัดหา ผลิต จำหน่าย และบริโภคโดยให้ความสำคัญสูงสุดกับการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า”

7 การจัดการโลจีสติกส์ 1.การเตรียมการผลิต 2.การจัดการวัสดุเข้าสู่กระบวนการผลิต 3.การกระจายสินค้าสำเร็จรูปสู่ลูกค้า 4.การบริการลูกค้า


ดาวน์โหลด ppt วิชา หลักการตลาด บทที่ 9 การจัดการโซ่อุปทานและโลจีสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google