ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศุวรีย์ จำปามูล
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ในรายวิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ-วิชาชีพ เรื่อง การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม ปีการศึกษา 2558
2
วัตถุประสงค์การวิจัย
1 เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่อง การฝึกออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ วิชา สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ เรื่อง การฝึกออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ วิชา สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ เรื่อง การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน
3
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณการที่เน้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ ตัวแปรตาม - ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การ อ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน - ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
4
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 158 คน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 2 ห้องเรียน 60 คน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม ปีการศึกษา จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เนื่องจากผู้วิจัยทำการสอนในกลุ่มนี้เท่านั้น ภาพกลุ่มตัวอย่าง
5
ภาพหลักฐานการสอน ภาพหลักฐานการสอน
6
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
1. การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ตารางที่ ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รายการทดสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย แบบฝึกหัดระหว่างเรียน (E1) 15 11.27 แบบทดสอบหลังเรียน (E2) 11.38
7
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
จากตารางพบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเฉลี่ยร้อยละ 75.13/75.86 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
2. เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน ของกลุ่มทดลอง ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองด้วย ค่า t-test สูตรสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน มีผลการทดลองตามตารางที่ 4.2 ดังนี้ ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง ผลการเรียนรู้ จำนวน นักศึกษา คะแนนเต็ม S.D. t Sig (2 tailed) ก่อนเรียน 60 15 9.41 3.36 7.369 .000 หลังเรียน 12.19 3.87
9
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
จากตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองด้วยนักศึกษากลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ เรื่อง การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน พบว่า ค่า Sig (0.000) มีค่าน้อยกว่าค่า t (7.369) จึงปฏิเสธ H0 ยอมรับ H1 นั้นคือ ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่ามากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หรือกล่าวได้ว่าการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง เมื่อผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
10
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รายการ S.D. ระดับความคิดเห็น 1. นักศึกษาพอใจในการเรียนแบบเป็นกลุ่ม เพราะรู้สึกว่า เพื่อนทุกคนในกลุ่มได้ช่วยเหลือกัน 4.60 .493 มากที่สุด 2. การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือมีความเป็นกันเอง ทุกคนเป็นมิตรกัน 4.76 .460 3. การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นการทำให้คนเก่งมีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอ่อน 4.73 .502
11
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
4. การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น 4.73 .474 มากที่สุด 5. การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ ทำให้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา 4.62 .513 6. การเรียนแบบนี้ทำให้มีอิสระในการคิด กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าในการที่จะถามและ ออกความคิดเห็นร่วมกัน 4.42 . 661 มาก 7. กิจกรรมกลุ่มช่วยพัฒนาทักษะการออกเสียง คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน 4.45 .621 8. การเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือนี้ ทำให้เรียนง่ายขึ้น 4.54 9. การเรียนรู้ด้วยแผนกการัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนี้ ช่วยพัฒนาทักษะการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงินและนำไปปฏิบัติได้จริง 4.66 .603 10.มีโอกาสได้อ่าน เขียน และวิเคราะห์สิ่งใหม่ ๆ ร่วมกัน และคนที่เรียนอ่อนกล้าแสดงความคิดเห็นได้ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ ทุกคนต้องมีส่วนร่วม 4.58 .594 รวม 4.60 .663
12
ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ
จากตารางพบว่า ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60 ) โดยเรียงลำดับความสำคัญ 3 อันดับดังนี้ การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือมีความเป็นกันเอง ทุกคนเป็นมิตรกัน ( = 4.76) การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นการทำให้คนเก่งมีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอ่อน และการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น ( =4.73) การเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณการนี้ ช่วยพัฒนาทักษะการออกเสียง คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน และนำไปปฏิบัติได้จริง ( = 4.66)
13
สรุปผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ร่วมกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเฉลี่ยร้อยละ 75.13/75.86 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองด้วยนักศึกษากลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ เรื่อง การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หลังเรียนมีค่ามากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หรือกล่าวได้ว่าการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง เมื่อผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
14
สรุปผลการวิจัย 3. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา ที่เรียนด้วยแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดพบว่า การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือมีความเป็นกันเอง ทุกคนเป็นมิตรกัน การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นการทำให้คนเก่งมีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอ่อน และการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น การเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือนี้ ช่วยพัฒนาทักษะการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้านงบการเงินและนำไปปฏิบัติได้จริง การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือทำให้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา มีโอกาสได้อ่าน เขียน และวิเคราะห์สิ่งใหม่ ๆ ร่วมกัน และคนที่เรียนอ่อนกล้าแสดงความคิดเห็นได้ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือทุกคนต้องมีส่วนร่วม และการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือนี้ ทำให้เรียนง่ายขึ้น ตามลำดับ
15
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากอาจารย์ผู้สอนในการวางแผน ดำเนินการ และปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ครูผู้สอนควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการนี้ ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ โดยเลือกใช้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนในห้องเรียน ที่เน้นให้นักศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ดี และสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการนำแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีความเชื่อมโยงกันในด้านเนื้อหา หรือ การบูรณาการสมรรถนะรายวิชา เช่น รายวิชาการบัญชีต้นทุน 2 กับ รายวิชาการบัญชีเพื่อการจัดการ และรายวิชาการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน ควรมีการบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอน หรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น นำไปใช้ ครั้งต่อไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.