แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
Advertisements

ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
ผู้วิจัย : นางสาวสุรีรัตน์ ขันคำ
การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ follow me เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 ของนักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขาพณิชยการ โดย อ.ชรินทร.
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
เทคนิคการตรวจสอบภายใน
การวัด Measurement.
KPI 8 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร น้ำหนัก :ร้อยละ 5 KPI ๑๐ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ น้ำหนัก : ร้อยละ 3 กองการเจ้าหน้าที่
การพัฒนาโปรแกรมระบบ รายงาน หน่วยงานเวชสารสนเทศ หน่วยงานเวชสารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริการ สุขภาพโรงพยาบาลสุโขทัย.
นาย สรวิศ เตธัญญวรากูล ปวช.3/2 นาย ศิวกร มาลี ปวช.3/2.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
จัดทำโดย นางสาวพิจิตรา ปันเต เลขที่ 18 นางสาวปิยธิดา อุตมา เลขที่ 19 ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
สรุปผลการอบรม หลักสูตรการพัฒนาการ จัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและ ประเมินผล จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ชุมชนปลอดภัย.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
การขอโครงการวิจัย.
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
การนำเสนอผลงานการวิจัย
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
รายวิชา การบริหารการศึกษา
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ
การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2400 (ปรับปรุง)
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
นายเกียรติศักดิ์ คนธสิงห์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การสอนควบคู่กับการเรียน
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา

ศัพท์สำคัญ การวัด (measurement) หมายถึง การกำหนดปริมาณให้กับสิ่งที่ต้องการวัด ไม่ว่าจะเป็น วัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ โดยจะต้องมีความหมาย เป็นไปตามกฏเกณฑ์ ซึ่งการจะได้มาซึ่งปริมาณนั้น อาจต้องใช้เครื่องมือไปวัดเพื่อให้ได้ปริมาณที่สามารถแทนคุณลักษณะต่าง ๆ ของสิงที่ต้องการวัด การวัดผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. การวัดทางตรง เป็นการวัดคุณลักษณะที่ต้องการวัดได้โดยตรง เรียกอีกอย่างว่า การวัดด้านวิทยาศาสตร์ หรือการวัดทางกายภาพ 2. การวัดทางอ้อม เป็นการวัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ สิ่งที่วัดเป็นนามธรรม ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมองหรือพฤติกรรม

การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) 2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain) 2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain)

การทดสอบ (testing) หมายถึง เครื่องมือหรือสิ่งเร้าที่ไปเร้าให้ผู้ถูกทดสอบได้แสดงพฤติกรรมหรือความสามารถที่ต้องการออกมา ผลการทดสอบมักออกมาในรูปของคะแนน และคะแนนเป็นสิ่งที่แทนความสามารถของบุคคล ดังนั้นการทดสอบจึงควรจะมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือการทดสอบวัดที่มีคุณภาพ และต้องพยายามดำเนินการทดสอบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกทดสอบทุกคน ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน องค์ประกอบของการทดสอบมีดังนี้ 1. บุคคลที่ถูกทดสอบ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 3. การดำเนินการทดสอบ 4. ผลการทดสอบในรูปของคะแนนที่แทนความสามารถ ของผู้ถูกทดสอบ

การวัดผลการศึกษา (educational measurement) คือการสอบและการวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการศึกษา มักเกี่ยวข้องกับการวัดความสามารถ วัดผลสัมฤทธิ์ วัดคุณลักษณะของผู้เรียน วัดทักษะปฏิบัติต่าง ๆ ของผู้เรียน การประเมิน (assessment) มักนำมาใช้แทนการวัดทางการศึกษา เป็นคำที่ใช้แทนเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการวัดที่นอกเหนือจากการสอบแบบเดิม ซึ่งมีอยู่หลากหลาย เช่น การประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและอยู่ในการเรียนการสอน เป็นการวัดและประเมินตามสภาพแท้จริงของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

การประเมินทางเลือก (alternative assessment) เป็นการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการใช้ข้อสอบแบบเดิม รวมถึงการประเมินภาคปฏิบัติ การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น การประเมินภาคปฏิบัติ (performance-base assessment) เป็นแบบหนึ่งของการประเมินทางเลือก เป็นการประเมินเกี่ยวกับทักษะการแสดงออก การเคลื่อนไหวทางร่างกายและประสาทสัมผัส เช่น การสื่อสาร การเล่นเครื่องดนตรี การเล่นกีฬา เป็นต้น

การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำตัวเลขที่ได้จากการวัด (measurement) รวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาตัดสินผล (judgement) โดยการตัดสินนั้นอาจไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อปลาชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อปลาชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน เป็นต้น ประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม 2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์

การประเมินผลนั้นต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ 1) ผลการวัด (measurement) 2) เกณฑ์การพิจารณา (criteria) 3) การตัดสินใจ (judgement) การประเมินผลที่เที่ยงธรรม ย่อมมาจากการวัดผลที่ดี คือควรวัดด้วยเครื่องมือหลาย ๆ อย่าง อย่างละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ ข้อ นั่นคือการวัดซ้ำ 4 ครั้งด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกัน ย่อมดีกว่าการวัดเพียงครั้งเดียว หรือวัดด้วยข้อสอบ 20 ข้อย่อมดีกว่าวัดด้วยข้อสอบเพียง 5 ข้อ

ลักษณะและข้อจำกัดของการวัดผลการศึกษา 1. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม เพราะเป็นการวัดคุณลักษณะนามธรรมที่อยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง 2. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ คือไม่สามารถวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 3. ผลจากการวัดย่อมเกิดความคลาดเคลื่อนเสมอ คะแนนจากการวัด จึงเท่ากับความสามารถที่แท้จริงกับความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด เขียนเป็นสมการได้ว่า X = T + E เมื่อ X แทนคะแนนที่ได้จากการวัด T แทนความสามารถที่แท้จริง และ E แทนความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด

ระดับของผลการวัด 1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale) 2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) 3. ระดับช่วง (interval scale) 4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale)

หลักการวัดผลการศึกษา การจะดำเนินการวัดผลสิ่งใด หรือในโอกาสใดก็ตาม ผู้วัดย่อมต้องการผลการวัดที่มีคุณภาพ เช่น ให้เชื่อถือได้ ให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อจะนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมั่นใจ การที่จะดำเนินการตามความต้องการดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่ดีสำหรับยึดถือเป็นแนวทางของการปฏิบัติ หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบสำคัญที่ถือว่าเป็นหลักของการวัดผลการศึกษา มีดังนี้

1. วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 1.1 ทำความเข้าใจคุณลักษณะที่ต้องการวัด 1.2 ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมถูกต้อง 1.3 วัดให้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม 2. ใช้เครื่องมือวัดผลที่หลากหลายและมีคุณภาพ

3. มีความยุติธรรม 3.1 เครื่องมือที่ใช้ - วัดครอบคลุมทุกเรื่องทุกแง่มุม - ไม่ควรให้ผู้เรียนเลือกตอบเพียงบางข้อได้ เช่น ออกข้อสอบ 6 ข้อให้เลือกทำ 3 ข้อ - ใช้ภาษาชัดเจน ไม่วกวน - คำถามไม่ควรตอบกันเอง เช่น ข้อหลัง ๆ แนะนำคำตอบของข้อแรก ๆ เป็นต้น - ควรใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน หากใช้ข้อสอบคนละชุดจะมีความยากง่ายแตกต่างกัน

3.2 การใช้เครื่องมือ - บอกใบ้คำตอบระหว่างที่มีการสอบวัด - ส่งเสียงรบกวนระหว่างที่ผู้สอบใช้ความคิด - ใช้เครื่องมือที่พิมพ์ผิดมาก ๆ ไม่มีคำตอบถูก หรือมีคำตอบถูกหลายตัว - ทำเฉลยผิด ตรวจผิด ให้คะแนนอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ 4. ประเมินผลได้ถูกต้อง

5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า - เด็กคนนี้มีความสามารถ เด่น – ด้อย ด้านไหน - เด็กงอกงามมากขึ้นเพียงใด - เครื่องมือที่ใช้มีคุณภาพอย่างไร

ขั้นตอนในการวัดผลการศึกษา 1. ขั้นวางแผน 1.1 กำหนดจุดมุ่งหมาย - สอบใคร เพื่อทราบระดับความยากง่ายที่เหมาะกับกลุ่มผู้สอบ - สอบไปทำไม เพื่อทราบชนิด/ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ - สอบอะไร เพื่อทราบสิ่งที่ต้องการวัด 1.2 กำหนดสิ่งที่จะวัด คือพยายามกำหนดว่าเนื้อหาใด คุณลักษณะหรือพฤติกรรมใดที่ต้องการสอบวัด แต่ละเนื้อหาและพฤติกรรมนั้น ๆ จะวัดมากน้อยเพียงใด

1.3 กำหนดเครื่องมือ การวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ต้องการนั้น ควรใช้เครื่องมืออะไรบ้าง จึงจะวัดได้ตรงตามความต้องการได้อย่างครบถ้วน - รูปแบบคำถามที่ใช้ - จำนวนข้อคำถามและเวลาที่ใช้ในการวัด - วิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ - ผู้รับผิดชอบในการสร้างเครื่องมือ - กำหนดเวลาในการสร้างเครื่องมือ - วิธีการที่จะให้ผู้เรียนตอบ - วิธีการตรวจให้คะแนน และการบันทึกผลคะแนน

2. ขั้นดำเนินการสร้างเครื่องมือ 2.1 เขียนข้อคำถาม 2.2 พิจารณาคัดเลือกข้อคำถาม 2.3 พิจารณาข้อคำถามทั้งหมดที่ใช้ 2.4 พิมพ์และอัดสำเนาเครื่องมือ 2.5 ทำเฉลย 2.6 จัดเตรียมเครื่องมือที่จะใช้

3. ขั้นใช้เครื่องมือ เป็นการนำเครื่องมือไปทดสอบกับผู้เรียน โดยต้องดำเนินการสอบให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้เข้าสอบทุกคน พยายามหลีกเลี่ยงการรบกวนเวลาในการคิดของผู้เรียน ควรชี้แจงวิธีคิดคำตอบ ชี้แจงวิธีการตอบ 4. ขั้นตรวจและใช้ผลการวัด 4.1 แปลงคำตอบของผู้เรียนให้เป็นคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วจดบันทึก 4.2 รวบรวมคะแนนของผู้เรียนที่ได้จากการวัดทุกชนิด ทุกระยะเพื่อนำไปใช้ในการประเมินผลและใช้ผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

5. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ นำผลการวัดมาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเป็นรายข้อและทั้งฉบับเพื่อใช้พิจารณาว่าข้อสอบนั้นมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ควรแก้ไขปรับปรุงในเรื่องใด รวมทั้งยังช่วยเก็บรวบรวมข้อสอบที่ดีเอาไว้ใช้ต่อไป

แนวคิดหลักในการวัดและประเมินผลการศึกษา 1. การประเมินที่เน้นการประเมินการปฏิบัติ (performance assessment) 2. การประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) 2.1 อะไรที่มีคุณค่าที่เรียนไปและควรได้รับการประเมินในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง 2.2 กำหนดแนวทางการประเมิน โดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย

3. การประเมินเน้นการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย (multiple method) การใช้ข้อสอบอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ควรใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายที่เหมาะกับสิ่งที่ต้องการวัด เช่น การสังเกต การบันทึกเหตุการณ์ การเขียนอนุทิน การประเมินปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม การรายงานหน้าชั้น การใช้แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น

4. การประเมินต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ - ประโยชน์ต่อผู้เรียน ประเมินเพื่อบอกว่าผู้เรียนทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ควรพัฒนา - ประโยชน์ต่อผู้สอน ช่วยปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน - ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง เห็นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน - ประโยชน์ต่อสถานศึกษา เป็นข้อมูลสำหรับสถานศึกษาในการจัดชั้นเรียนให้เรียนในโปรแกรมที่เหมาะสม การจัดโปรแกรมเสริม การให้คำแนะนำในการศึกษาต่อและอาชีพ

คุณธรรมของผู้ทำหน้าที่วัดผล 1. มีความยุติธรรม ในทุกขั้นตอนของการประเมินผล ตัดสินผลด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ลำเอียง 2. มีความซื่อสัตย์ ไม่บอกข้อสอบหรือขายข้อสอบ เปลี่ยนแปลงคะแนนโดยไม่ยึดหลักวิชา ฯ 3. มีความรับผิดชอบ ดำเนินการวัดและประเมินให้สำเร็จไปด้วยดี สร้างข้อสอบหรือส่งคะแนนทันตามกำหนดเวลา คุมสอบให้เป็นไปตามระเบียบ

4. มีความละเอียดรอบคอบ รอบคอบในการวัดและการตัดสินใจ ทำให้ผลการวัดผลเชื่อถือได้มากที่สุด ทั้งการออกข้อสอบ การตรวจ การทานคะแนน การรวมคะแนน การตัดเกรด 5. มีความอดทน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย เช่น ตรวจข้อสอบอัตนัยที่ใช้เวลามาก ตรวจแบบฝึกหัดทุกครั้ง ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ฯ 6. มีความสนใจใฝ่รู้ในหลักการวัดและประเมินผลใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางานและวิชาชีพของตนเอง