FIN2202 การภาษีอากรธุรกิจ (Business Taxation) ผู้สอน ผศ.อรทัย รัตนานนท์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ ข้อมูลผู้สอน ผศ.อรทัย รัตนานนท์ ห้องพัก 5721 อาคาร57 ชั้น 2/ ตู้ส่งงาน หน้าห้อง 5721 หมายเลขโทรศัพท์ 081-488-6000/ 089-811-2212 E-mail : orathairattananont_@hotmail.com www.teacher.ssru.ac.th/orathai.ra www.fin.fms.ssru.ac.th เวลาพบนักศึกษา : วันจันทร์ เวลา 10.00-15.00 น. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
ข้อตกลงการเข้าชั้นเรียน เวลาเรียน : 8.30 น. การแต่งกาย : ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ( เสื้อ ผ้า หน้า ผม ) อุปกรณ์การเรียน : สมุดจดงาน เครื่องคำนวณ เครื่องเขียน ตำราหลัก การใช้เครื่องมือสื่อสาร: ระบบสั่น หรือปิดเสียง การบ้าน : ส่งสัปดาห์ถัดไปก่อนการเรียนการสอน การพูดคุยในชั้นเรียน : คำสุภาพ ไม่ส่งเสียงดัง การส่งรายงาน : ตามวันเวลาที่กำหนด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
การทำรายงาน วิชาการภาษีอากรธุรกิจ ...... รูปแบบรายงาน ประกอบด้วย 1. ปก 2. คำนำมี 3 ย่อหน้า (วัตถุประสงศ์ ส่วนประกอบเนื้อหา การเขียนขอบคุณ) รวมไม่เกิน 10 บรรทัด 3. สารบัญ 4. เนี้อหา 5. อ้างอิง หรือ บรรณานุกรม 6. ภาคผนวก ( กรณีจำเป็นต้องมี ) 7. ภาพกิจกรรม ( กรณีจำเป็นต้องมี ) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ กำหนดส่งรายงาน ภายในวันที่ ..........ส่งข้อมูลเพื่อตรวจความเรียบร้อย ภายในวันที่ ...........ส่งรูปเล่ม และจับฉลากการนำเสนอหรือคัดเลือก 2 กลุ่ม ภายในวันที่ ............นำเสนอรายงาน ผู้นำเสนอ 2 คนต่อ 1 กลุ่ม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ การจัดทำรายงาน การแบ่งกลุ่ม : 5 คน/กลุ่ม การนำเสนอ : ใช้วิธีจับสลากหรือคัดเลือก นำเสนอ 2 กลุ่ม การจัดกลุ่ม : ให้เรียงตามลำดับรหัสนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ การออกข้อสอบ ข้อสอบแบบปรนัยทั้งกลางภาคและปลายภาค ครั้งละ จำนวน 45 ข้อ สอบบทละ 7-10 ข้อ คะแนนเต็ม 30 -35 คะแนน สอบกลางภาค ปลายภาค ตามวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้นำเครื่องคิดเลขมาด้วย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ การวัดและประเมินผล การเข้าชั้นเรียน / จิตพิสัย/พฤติกรรม 10 % การทำแบบฝึกหัด 10 % การทำรายงาน (บทที่ 5 ) 15 % การสอบวัดผลกลางภาค (บทที่ 1-4 รวม 45 ข้อ) 30 % การสอบวัดผลปลายภาค (บทที่ 5-9 รวม 45 ข้อ) 35% รวม 100 % คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/
เนื้อหาการเรียนการสอน บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร บทที่ 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บทที่ 3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักณที่จ่าย บทที่ 4 ภาษีเงินได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม บทที่ 6 ภาษีธุรกิจเฉพาะ บทที่ 7 อากรแสตมป์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ อาจารย์ อรทัย รัตนานนท์
เนื้อหาการเรียนการสอน บทที่ 8 ภาษีสรรพสามิต บทที่ 9 ภาษีศุลกากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา http://ssru.ac.th/ อาจารย์ อรทัย รัตนานนท์
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ภาษีอากร บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ภาษีอากร
หน้าที่ของรัฐบาล ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข รักษาความสงบภายในประเทศ ป้องกันประเทศจากการรุกรานของข้าศึก ดูแลและส่งเสริม การสาธารณสุข การศึกษา การเกษตร การอุตสาหกรรม การสื่อสาร การพลังงาน การพาณิชย์
ความหมายของภาษีอากร แนวที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร
ความหมายของภาษีอากร แนวที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล
วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีอากร เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐบาล - ในการกระจายรายได้ - ในการส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า - ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ - ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน - สนองนโยบายบางประการของรัฐบาล เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม และ นโยบายประชากร
หลักการจัดเก็บภาษีตามรัฐธรรมนูญ ต้องทำให้ประชาชน ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ มีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร => ต้องเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี 1. หลักความเป็นธรรม - ความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชน - ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เนื่องจากการดูแล คุ้มครองของรัฐบาล 2. หลักความแน่นอนและชัดเจน - ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย - มีความชัดเจนเพื่อป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี 3. หลักความสะดวก วิธีการและกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากร ควรต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร 4. หลักประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มาก โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี 5. หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ การเก็บภาษีอากร ต้องไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด 6. หลักการอำนวยรายได้ การจัดเก็บภาษีอากรได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ของรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้ตามหน้าที่ 7. หลักความยืดหยุ่น การปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้อสำคัญอันเป็นโครงสร้างหลักของกฎหมาย แบ่งเป็น 6 หัวข้อคือ 1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้อยู่ในข่ายเสียภาษีอากร ตามที่กฎหมายนั้นๆ จะกำหนด ได้แก่ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 2. ฐานภาษีอากร ความหมายอย่างกว้าง: คือสิ่งที่เป็นมูลเหตุให้ต้องเสียภาษีอากร เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน หรือ การใช้จ่าย ความหมายอย่างแคบ: คือสิ่งที่รองรับอัตราภาษีอากร ภาษีที่ต้องเสีย = ฐานภาษีอากร x อัตราภาษีอากร
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 3. อัตราภาษีอากร แบบคงที่: คืออัตราภาษีอากรไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจำนวนของฐาน ภาษีอากรจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 30%, 10% และ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แบบก้าวหน้า: คืออัตราภาษีอากรเพิ่มขึ้น เมื่อฐานภาษีอากรมีจำนวน เพิ่มขึ้น เช่น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10 % - 40 %
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 3. อัตราภาษีอากร แบบถดถอย: คืออัตราภาษีอากรที่ลดลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษีอากรจะเพิ่มขึ้น เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 4. การประเมินจัดเก็บภาษีอากร 4.1 การประเมินตนเอง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากร ตามจำนวนที่พึงต้องชำระ 4.2 เจ้าพนักงานประเมิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีประเมินตนเองไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ เจ้าพนักงานก็มีอำนาจประเมินให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และหรือ เบี้ยปรับเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากภาษีอากรที่ต้องเสีย
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 4.3. การหักภาษี ณ ที่จ่าย กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่าย แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด เวลา ภาษีที่ถูกหักไว้นี้ มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเมื่อถึงกำหนดเวลา หรือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอาจได้รับเงินคืน ถ้าภาษีที่ถูกหักไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องเสีย
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 4.5. การอุทธรณ์ภาษีอากร ปัญหาข้อขัดแย้งพิพาทกันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ระหว่างผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสีย หรืออำนาจการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร หากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่ กฎหมายมักกำหนด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วนก่อน มิฉะนั้นผู้เสียภาษีอากรอาจเสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้โดยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร จะนำคดีขึ้นสู่ศาลทันทีไม่ได้
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร 4.6. เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ ผู้ไม่ชำระภาษีอากร จะต้องรับผิดในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระ พร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ เจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล และอาจต้องรับโทษทางอาญา เช่น เสียค่าปรับ และหรือ ต้องระวางโทษจำคุก
การจำแนกประเภทภาษีอากร ภาษีทางตรง (Direct Tax) - เป็นภาษีที่ภาระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ - เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) - เป็นภาษีที่ภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะ ให้รับภาระหรือไม่ - เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต
ประมวลรัษฎากร ประมวลรัษฎากร คือชื่อของกฏหมายภาษีอากรที่มีผลใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 และการควบคุมการใช้โดยกรมสรรพากร กฎหมายภาษีอากรแบ่งเป็น 4 ประเภท 1 ภาษีเงินได้ จัดเป็นภาษีทางตรง 2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเป็นภาษีทางอ้อม 3 ภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเป็นภาษีทางอ้อม 4 อากรแสตมป์ จัดเป็นภาษีทางอ้อม
กฎหมายภาษีอากร ภาษีเงินได้ - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ - เป็นระบบภาษีใหม่ ที่นำมาบังคับใช้แทนภาษีการค้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 - เป็นภาษีทางอ้อม ที่เก็บจากฐานการใช้จ่ายบริโภคอุปโภคทั่วไป
แผนภูมิแสดงประเภทรายรับของรัฐบาลไทย
ประมาณการรายรับ ปีงบประมาณ 2554 ประมาณการรายรับ ปีงบประมาณ 2554 ประมาณการรายรับ 1,650,000 ล้านบาท จำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ ที่มา : สำนักงบประมาณ งบประมาณโดยสังเขปประจำปี 2554
หน่วยงานที่จัดเก็บเงินได้ของรัฐบาล กรมสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีอากรอื่นๆ และรายได้อื่นๆ
หน่วยงานที่จัดเก็บเงินได้ของรัฐบาล กรมสรรพสามิต ภาษียาสูบ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีสุราและค่าผลประโยชน์ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีและรายได้อื่นๆ เช่น ภาษีไพ่ ภาษีแก้ว ภาษีเครื่องหอมและเครื่องสำอาง ภาษีกิจการบริการ(เช่น สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ) ภาษีพรม ภาษีรถจักรยานยนต์ ภาษีหินอ่อนและหินแกรนิต ภาษีแบตเตอรี่ ภาษีเครื่องดื่ม และภาษีเครื่องไฟฟ้า(เช่น เครื่องปรับอากาศ โคมระย้าติดเพดานหรือผนัง) กรมศุลกากร อากรขาเข้า อากรขาออก รายได้อื่นๆ
ประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ แยกตามลักษณะงาน การบริหารทั่วไป การบริหารทั่วไปของรัฐ การป้องกันประเทศ การรักษาความสงบภายใน การบริหารชุมชนและสังคม การศึกษา การสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การเคหะและชุมชน การศาสนา วัฒนธรรมและ นันทนาการ การสิ่งแวดล้อม การเศรษฐกิจ การเชื้อเพลิงและพลังงาน การเกษตร การเหมืองแร่ ทรัพยากรธรณี การอุตสาหกรรมและการโยธา การคมนาคมขนส่งและสื่อสาร การบริการเศรษฐกิจอื่น อื่น ๆ การดำเนินงานอื่น
รายได้ของรัฐบาล การจัดเก็บภาษีอากร เป็นแหล่งรายได้หลักและสำคัญที่สุดของรัฐบาล การขายสินค้า และ การให้บริการ การรับบริจาคหรือความช่วยเหลือ การกู้ยืมเงิน หรือ พิมพ์ธนบัตร
ประมวลรัษฎากร บัญญัติโดยการใช้ มาตรา สำหรับอ้างอิง มาตรา 1 - 4 เกี่ยวกับ ข้อความเบื้องต้น มาตรา 5 - 37 เกี่ยวกับ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป และ วิธีการภาษีอากรประเมิน มาตรา 38 - 76 เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ มาตรา 77 - 90 เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 91 เกี่ยวกับ ภาษีธุรกิจเฉพาะ มาตรา 103 - 129 เกี่ยวกับ อากรแสตมป์
บทขยายประมวลรัษฎากร ประกาศและคำสั่งคณะปฏิวัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกรมสรรพากร คำสั่งกรมสรรพากร คำชี้แจงกรมสรรพากร หนังสือกรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
จบ