“การปรับโครงสร้างหนี้ (Debt restructuring)
“การปรับโครงสร้างหนี้ (Debt restructuring) คือ กระบวนการที่ยอมให้ธุรกิจของรัฐหรือของเอกชน ที่ประสบปัญหาการไหลเวียนของเงินสด และความเดือดร้อนทางการเงิน ทำการลดและต่อรองใหม่ในหนี้สินที่มีการละเมิดสัญญาตามกฎหมาย เพื่อที่จะปรับปรุงหรือทำให้สภาพคล่องกลับมาเหมือนเดิม และฟื้นฟูใหม่จนกระทั่งสามารถดำเนินงานต่อไปได้”
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดต้น ลดดอก ขยายระยะเวลา ชำระหนี้ เปลี่ยนหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว เป็นต้น โดยสามารถจะใช้วิธีใด วิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันก็ได้
ลูกหนี้เป็นหนี้บัตรเครดิต ๕๐,๐๐๐ บาท ผ่อนชำระเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท เสนอปรับโครงสร้างหนี้ ให้ลูกหนี้ผ่อนเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท โดยพักดอกเบี้ยของต้นเงิน๕๐,๐๐๐ บาท จนกว่าลูกหนี้จะผ่อนเงิน๕๐,๐๐๐ บาทหมด = 25 เดือน
ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าติดตามทวงหนี้ จน ลน สัญญากู้ 100,000 ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าติดตามทวงหนี้ สัญญาปรับโครงสร้างหนี้หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาล
การปรับโครงสร้างหนี้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ข้อดี ยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป ในกรณีที่ไม่สามารถชำระได้ตามข้อตกลง หรือสัญญาครั้งแรก และเป็นการรวมหนี้ บางแบงค์/เจ้าหนี้ อาจจะมีข้อเสนอว่าจะรวมหนี้บัตรเครดิต+สินเชื่อบุคคล มาเป็นหนี้ยอดเดียวกัน และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิมเช่น อาจจะเป็น 12 เปอร์เซ็นต่อปี
ข้อเสีย 1. การทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้/แบงค์ จะนำยอดหนี้เดิมที่บวกดอกเบี้ย+ค่าปรับ+ค่าทวงถาม มาแล้วในช่วงที่ลูกหนี้หยุดชำระหนี้ นำมาเป็นยอดหนี้ใหม่ และทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่วนผลที่ได้ของการปรับโครงสร้างหนี้ คือทำให้มูลหนี้ต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ดอกเบี้ย ,เบี้ยปรับ , ค่าธรรมเนียมการใช้เงิน , ค่าติดตาม และอื่นๆ ที่ลูกหนี้ไม่เคยรู้ มาก่อนในสัญญาหนี้หรือในข้อตกลงที่เจ้าหนี้(ธนาคารหรือบัตรเครดิต)ไม่เคยแจ้งให้ลูกหนี้ รู้มาก่อน (เข้าสัญญาไม่เป็นธรรมหรือเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ในศาล หรือเจ้าหนี้ขาด หลักฐานที่จะฟ้องลูกหนี้) เมื่อลูกหนี้ไปทำการลงชื่อในเอกสารปรับโครงสร้างหนี้ จะเข้าสัญญาประนีประยนอมยอมความ มาตรา 850-852
ผลของ สัญญา ประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป " ทำให้สิทธิที่จะต่อสู้และ เรียกร้องต่างๆ ที่มีอยู่เดินหมดไปทันที และ ทำให้เจ้าหนี้ได้สิทธิใหม่ตามกฎหมาย 2. หากมีการฟ้องแล้วไปไกล่เกลี่ยที่ศาล และมีการตกลงชำระหนี้ตามที่ตกลงกันที่ศาล และมีการบันทึกก็ถือว่าคดีสิ้นสุดแล้ว หากไม่ชำระหนี้มีผลมาถึงการอายัดทรัพย์, อายัดเงินเดือนเร็วขึ้น