ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลข เช่น น้ำหนัก ความสูง ระยะทาง อายุ หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ เช่น ที่อยู่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา
แบ่งตามการจัดกระทำข้อมูล ข้อมูลดิบ (Raw data) คือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่ได้จัดกระทำ จัดระเบียบ หรือจัดหมวดหมู่ข้อมูล ข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่ (Group data) คือข้อมูลที่มีการจัดกระทำให้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ มีการแจกแจงความถี่ ทำให้ง่ายต่อการคำนวณหรือการนำไปใช้
แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสังเกต เป็นต้น ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ข้อเท็จจริงที่มีผู้รวบรวมไว้ และนักวิจัยนำมาใช้ในงานวิจัยของตนเอง
ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลนี้ใช้มากในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ หมายถึงข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ที่ผ่านการประมลผลหรือการวิเคราะห์แล้ว ผู้วิจัยเพียงแต่นำมาศึกษาใหม่
บันทึกส่วนตัว รายงาน สถิติ เอกสารทางราชการ เอกสารส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอื่นๆ
ข้อดีของข้อมูลทุติยภูมิ ไม่ต้องเก็บรวบรวมใหม่ ประหยัดเวลา ศึกษาย้อนหลังได้ไกลเท่าที่ต้องการศึกษา
ข้อจำกัดของข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลไม่สมบูรณ์ครบตามประเด็นที่ศึกษา ปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ข้อมูลไม่ทันสมัย การเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างคำนิยามหรือความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ
ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นโดยเฉพาะ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
การสำรวจ (Field survey) การเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ โดยใช้วิธี การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
การเก็บข้อมูลโดยการควบคุมตัวแปรทดลองให้ผันแปรได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ การทดลอง การเก็บข้อมูลโดยการควบคุมตัวแปรทดลองให้ผันแปรได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ
การทดลองแบบสมบูรณ์ (Experiment) โดยการควบคุมตัวแปรอิสระและตัวแปรอื่นๆ ได้เต็มที่ ส่วนใหญ่จะเป็นการทดลองในขอบเขตหรือบริเวณที่จำกัด ดังเช่นห้องปฏิบัติการ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experiment) การทดลองในสภาพความเป็นอยู่ของประชากร โดยการควบคุมตัวแปรต่างๆ เช่น การทดลองการสอน
ข้อดีของข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิจะต้องกันข้ามกับข้อมูลทุติยภูมิ โดยผู้วิจัยสามารถกำหดลักษณะและควบคุมข้อมูลได้ตามที่ต้องการ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งความรู้ความสามารถของผู้วิจัย
ข้อจำกัดของข้อมูลปฐมภูมิ เสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล ถ้าผู้วิจัยขาดความชำนาญในการเก็บข้อมูลโดยเฉพาะการเก็บโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ จะส่งผลต่อคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล
แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ข้อมูลคุณภาพ (Qualitative data)
ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ คือข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข เป็นการบรรยายคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบและจัดกลุ่มหรือประเภทของข้อมูล
เพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา สาขาวิชา อาชีพ ภูมิลำเนา ลักษณะที่อยู่อาศัย
การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยพฤติกรรม จะใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การพูดคุย หรือการสัมภาษณ์ คำว่า “คุณภาพ” คือความหมายที่ตรงกันข้ามกับ “ปริมาณ” ไม่ได้หมายถึงคุณภาพดีหรือไม่ดี หรืออาจจะเรียกว่าข้อมูลที่เป็นข้อความหรือเชิงบรรยาย
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพต้องใช้เทคนิคและความอดทนสูง เพราะต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการเลือกวิจัยหรือการใช้ข้อมูลประเภทนี้ ผู้วิจัยต้องมีความมีความซื่อสัตย์ อดทน และเวลามากพอ
ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลขโดยตรง ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติเช่น คะแนน ความถี่ ความสูง อายุ น้ำหนัก ตามมาตราการวัดทั้ง 4 ระดับ คือ นามบัญญัติ อันดับ ช่วง และอัตราส่วน