การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) โดย นางดารารัตน์ อุ่นคำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผลงาน รางวัลPopular Vote จากงาน KKU Show and Share 2009 รับทุนวิจัยสถาบัน ปีงบประมาณ พ.ศ.2550
มูลเหตุหรือแรงจูงใจแห่งการทำงานวิจัย ปัญหาที่เกิดจากหน้างาน ความรักองค์กร อยากให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ทำให้การทำงานมีชีวิตชีวามีความสุข มีผลงานเพื่อเลื่อนระดับ ตำแหน่ง ได้รับการยอมรับนับถือ ได้เครือข่าย ได้เดินทาง
สถานการณ์ปัญหา : งานประจำกับการจัดการความรู้ เมื่อกล่าวถึงงานประจำ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าไม่สนุก น่าเบื่อ เป็นภาระ เหนื่อย หนัก และจำเจ โดยมีสาเหตุจาก 1. การแบ่งงานกันทำเป็นส่วน ๆ 2. งานถูกลดคุณค่า เหลือเพียงแค่ที่มาของรายได้ 3. ลักษณะงานประจำเป็นงานที่คนอื่นสั่งให้ทำ 4. งานประจำได้ทำลายความคิดสร้างสรรค์
วิธีดำเนินการ 1.ระบุหัวข้อหรือปัญหาการวิจัย 2.ทบทวนวรรณกรรม หนังสือ วารสาร ผู้เชี่ยวชาญ 3.กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย (ตัวแปรและวิธีวัดตัวแปร) 4. ออกแบบการวิจัย ประกอบด้วย 4.1 การกำหนดประชากร - กลุ่มตัวอย่าง - วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย 4.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 4.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 5. ดำเนินการเก็บข้อมูล 6. วิเคราะห์ข้อมูล 7. เขียนรายงานการวิจัย
ปัญหาอุปสรรค 1.ไม่มีเวลา 2.เพิ่มภาระ 3. ตั้งโจทย์ไม่เป็น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1.คิดเสมอว่า ต้องทำเสร็จให้ได้ ละความเป็นตัวตนของตน 2.ต้องยอมปรับแก้ตามคณะกรรมการเพราะเป็นมุมมองรอบด้าน 3.อย่าเพิ่งคิดถึงงานวิจัย ให้คิดถึงการพัฒนาคุณภาพงาน เพราะจะทำให้มองเห็นปัญหาหลากหลาย 4.หาพี่เลี้ยงให้คำแนะนำด้านวิชาการ ให้ทุน และกระตุ้นติดตาม
ข้อแนะนำ กลุ่ม 1 เก็บข้อมูลเอาไว้บ้างแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะทำ อะไรต่อไปอย่างไร กลุ่ม 2 มีโครงการวิจัยหรือมีหัวข้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำ กลุ่ม 3 สนใจที่จะทำงานวิจัยมาก แต่ยังไม่มี โครงการแน่นอน กลุ่ม 4 สนใจที่จะทำวิจัยพอควร แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะทำ ได้หรือไม่ กลุ่ม 5 ไม่ต้องการทำวิจัยเลย คิดว่ายุ่งยาก และไม่สนใจ
ข้อแนะนำ (ต่อ) กลุ่ม 1 เก็บข้อมูลเอาไว้บ้างแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปอย่างไร ลองเอาข้อมูลเดิมมาพิจารณา แล้วดูว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ลองค้นหาปัญหา กลุ่ม 2 มีโครงการวิจัยหรือมีหัวข้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำ ลองค้นหาปัญหา เริ่มต้นปรับโครงการเดิมโดยเขียนให้ชัดเจนขึ้น มีการทบทวนเอกสารมากขึ้น กลุ่ม 3 สนใจที่จะทำงานวิจัยมาก แต่ยังไม่มี โครงการแน่นอน ดู สังเกตปัญหาการทำงานใกล้ตัว วิเคราะห์ปัญหาให้ชัด เริ่มพัฒนาโครงการตามขั้นตอน
ข้อแนะนำ (ต่อ) กลุ่ม 4 สนใจที่จะทำวิจัยพอควร แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะทำ ได้หรือไม่ อ่านเอกสารมากๆเพื่อกระตุ้นให้คิดได้ ศึกษาบทเรียนของผู้อื่น สอบถามผู้รู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดความคิดของตนเอง กลุ่ม 5 ไม่ต้องการทำวิจัยเลย คิดว่ายุ่งยาก และไม่สนใจ ทำอย่างดี ? ลองคิดใหม่ ลองศึกษาผลงานผู้อื่น ลองไปพูดคุยกับผู้รู้
ขอบคุณค่ะ