1. ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ 2. ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไป ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 3. ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 4. ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต 5. ไม่ทำลายข้อมูล 6. ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้ รับอนุญาต 7. ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคล หนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับ เข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ
8. การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มี การใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัด ของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จน ถึง ขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามา ใช้บริการได้ 9. ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูก สร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความ เสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้าย ที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัสเวิร์ม และม้าโทรจัน 10. ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) ( การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมี จุดประสงค์เพื่อการโฆษณา ) 11. ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อแอบส่งข้อมูล ส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรื อองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ ไม่ทราบ 12. ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic TransactionsLaw) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให ้ เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่ เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่า เทียมกับ นิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบ ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการ ใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่าย โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนา สังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับ เจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจาย สารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไก สำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพใน การปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และ นำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DataProtectionLaw) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือ เผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอัน รวดเร็ว โดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิด การนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อ เจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพ ระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพใน การติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ 5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิ วเตอ ร์ (Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำ ผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม