ENL 3701 เนื้อหา ๑ ภาษาคืออะไร
ภาษาศาสตร์คืออะไร ๑. ภาษาเป็นเรื่องของมนุษย์ (Language is human) ๒. ภาษาที่แท้จริงคือภาษาพูด ( Language is primarily oral) ๓. ภาษาถ่ายทอดวัฒนธรรม ( Language is culturally transmitted) ๔. ภาษาเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นและมีระบบ (Language is arbitary and systematic)
ภาษาคืออะไร (ต่อ) ๕. ภาษาคือนิสัย (Language is habit) ๖. ภาษาเป็นเรื่องเฉพาะตัว (Language is personal) ๗. ภาษาของแต่ละกลุ่มไม่มีดีหรือเลว ไม่มีถูกหรือผิด (Language of a given group is neither “good” nor “bad”, “right” nor “wrong”) ๘. ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ (Language is always changed slowly)
๒. ความหมายของ “ภาษาศาสตร์” ภาษาศาสตร์มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ ๑. การศึกษาธรรมชาติของภาษาหรือโครงสร้างของภาษาใดภาษาหนึ่งและภาษาโดยทั่วไป ๒. การศึกษาธรรมชาติของการสื่อสารด้วยภาษา (Language communication) นักภาษาศาสตร์ (Linguist) ศึกษาภาษาส่วนมากเป็นแบบวิทยาศาสตร์ เราจึงมักได้ยินว่า ภาษาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ทางภาษา
ความหมายของภาษาศาสตร์ (ต่อ) การศึกษาทางภาษาศาสตร์ เป็นการศึกษาตัวภาษาในฐานะเป็นเนื้อหาในตัวของมันเอง ไม่ใช่การศึกษาภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง จึงเป็นการศึกษาในเชิงวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับภาษา ความแตกต่างระหว่างวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิมกับการศึกษาแบบใหม่อยู่ที่ เจตคติ(Attitude) การเน้น (Emphasis) และจุดมุ่งหมาย (Purpose) ในการศึกษาภาษา นักภาษาศาสตร์รุ่นเก่าซึ่งเรียกว่า Philologists มักจะสนใจประวัติความเป็นมาของภาษาเป็นหลักใหญ่ ในขณะที่นักภาษาศาสตร์รุ่นใหม่จะให้ความสำคัญกับภาษาพูด (spoken language) มากกว่า