การถอดบทเรียน กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
มุ่งพัฒนาสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
ปทิตตา มีชิตสม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สามารถ ศรีวิริยาภรณ์ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 7
งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน Joseph Jacobs
งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
กิจกรรมถอดสกัดความรู้
แนะนำวิทยากร.
นวัตกรรม Innovation สุทธินันท์ สระทองหน.
มีหน้าที่เชื่อมโยงผู้คน/หน่วยงานเข้าหากัน
การพัฒนาทักษะการจดบันทึก เพื่อต่อยอดความรู้สู่การปฏิบัติ
Knowledge Management (KM)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คำอธิบายแนวทางการให้คะแนน เอกสาร/หลักฐานการดำเนินงาน
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข AAR (After Action Review)
เรียนรู้ จาก VDO ของ KMI
สะท้อนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน
โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน (รนสช.)
เครื่องมือช่วยในการจับประเด็น รวบรวมความคิดให้เป็นหมวดหมู่
การทำงานเชิงกระบวนการในชุมชน
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ถอดรหัส Nanoka : ภาวะผู้นำและการประเมินแนวใหม่
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
ความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง (Conflict and Negotiation)
Communities of Practice (CoP)
ความก้าวหน้าการนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ สูการปฏิบัติ
1 การจับความรู้ที่เกิดขึ้นหลังการทำกิจกรรม ของทีมทำงานรวมทั้งทบทวนและสะท้อน บทเรียนนำไปสู่การวางแผนต่อไป การให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบกับ ทีมงานในเรื่องผลการปฏิบัติ
การถอดบทเรียน หลังจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ เสร็จสิ้นแล้ว
๑.เทคนิคสำคัญ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้แกนนำในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิทยากร ใช้กิจกรรมนันทนาการจุดประกายขณะเปิดเวที เช่น เพลง “สดุดีมหาราชา” รูปแบบเวทีเป็นธรรมชาติ
รายงานการฝึกอบรมโครงการ “ผู้นำเยาวชนคนพิการ พลิกฟื้นชุมชน สู่การพัฒนา”
Participation : Road to Success
รวบรวม /ปรับปรุง/เสริมแต่ง
โครงการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (การส่งเสริมให้ส่วนราชการนำร่อง เข้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ) เขียนลักษณะสำคัญขององค์กร :
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
ขอต้อนรับทุก ท่าน WELCOME ! No 1. การบรรยายความรู้ มุมมองใหม่ กับการทำงานส่งเสริมเคหกิจ เกษตร วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ระหว่างเวลา ๑๕. ๐๐ – ๑๖. ๐๐ น.
การเรียนรู้ของทีม Team Learning
แนวทางดำเนินงานจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร ให้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
โมเดลปลาทู “คุณเอื้อ” “คุณกิจ” “คุณอำนวย” CKO Knowledge Sharing (KS)
การประสานงานและการสื่อสาร วันที่ 27 เมษายน 2553 กลุ่มที่ 1 ผู้ส่งสาร
กระบวนการวิจัย Process of Research
การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต
เทคนิคการจัดเวทีประชาคม
การกำหนดโจทย์วิจัย/ปัญหาการวิจัย (Research problem )
หลักสตรูแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การถอดบทเรียน หลังจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ เสร็จสิ้นแล้ว
ผู้อำนวยกลุ่มการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
การดักจับความรู้ด้วยเครื่องมือ “AAR”
หลักการเขียนโครงการ.
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ สร้างความมีวินัย การตรงต่อเวลา
การเขียนโครงการ.
3. หลักการวิจัย หลักการวิจัย : สำราญ สาราบรรณ์.
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
โครงการจัดตั้ง กองแผนงาน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การถอดบทเรียน กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

ทำไมต้องถอดบทเรียน???

ทำไปเถอะ ทำให้เต็มที่ เต็มความสามารถของเรา ทำไปให้มีความสุข เบิกบาน แล้วทุกอย่างจะดีเอง จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

การจัดการความรู้ (KM) ปัญหา ความสำเร็จ วิจัย KM การวิจัย เริ่มด้วยปัญหา (Research Question) แล้วก็หาวิธีที่จะขบให้แตก ทำความเข้าใจ หรือว่าแก้ปัญหา/ตอบโจทย์ ก็เกิดความรู้ที่จะแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ให้เข้าใจขึ้น เราเรียกว่า “การวิจัย” (Research) การจัดการความรู้ (KM) เป็นการสร้างความรู้จากเรื่องราวความสำเร็จ ตีความ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจกัน เอาทฤษฎีมาตีความสำเร็จ เพื่อทำความเข้าใจว่าสำเร็จได้เพราะอะไร ? มีขั้นตอนต่างๆอย่างไร ? และในที่สุดก็เกิดความเข้าใจ เกิดความรู้ขึ้นเป็นการสร้างความรู้อีกทางหนึ่ง

KM Explicit Knowledge ความรู้ฝังลึก ในตัวคนที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ Tacit Knowledge ความรู้ฝังลึก ในตัวคนที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ Explicit Knowledge ความรู้ชัดแจ้งที่อยู่ในรูปการบันทึก หนังสือ ตำรา internet ฯลฯ เทคนิคตั้งคำถาม เริ่มจากคำถามพื้นฐาน คำถามล้วงลึก ทำไมๆ ๆๆๆ

ทำไมต้องถอดบทเรียน คนเรามักเก็บสิ่งที่รู้ไว้มิดชิดเกินกว่าจะนำมาถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น นับว่าเป็นการสูญเสีย“งบดุล” ทางชีวิตและสังคมอย่างมาก หากเราและคนรอบข้างจะผิดพลาดในสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่ได้นำเอาความรู้ที่ตกผลึกหรือที่เรียกว่า “ความรู้ฝังลึก” (Tacit knowledge) ที่อยู่ในงานนั้นมาใช้ประโยชน์ แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? การที่จะนำความรู้ฝังลึกนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เผื่อแผ่ผ่านประสบการณ์ของเราหรือเจ้าของความรู้ ตรงนี้เองเป็นที่มาของการถอดบทเรียน (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร, ๒๕๕๓)

การถอดบทเรียนเป็น “เครื่องมือ” ในการผลิตความรู้ ค้นหา ความรู้จากการปฏิบัติ สร้าง ความรู้จากการปฏิบัติ ใช้ ความรู้จากการปฏิบัติครั้งก่อนเพื่อการปฏิบัติซ้ำ ปรับปรุง พัฒนาความรู้ เพื่อการปฏิบัติครั้งต่อไป หัวใจ คือแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงาน

ความหมายการถอดบทเรียน ถอด - เอาออก หลุดออก บทเรียน – บทสรุปที่อธิบายผลการทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และปัจจัยเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้น การถอดบทเรียน – กระบวนการดึงความรู้จากการทำงานด้วยการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้สนใจนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง ในการพัฒนาให้งานดีขึ้นกว่าเดิม

ประโยชน์จากการถอดบทเรียน ผู้ร่วมกระบวนการ ถอดบทเรียน สื่อ/ ชุดความรู้ เรียนรู้ร่วมกัน ทำงานเป็นทีม ปรับวิธีคิด/วิธีทำงานที่ สร้างสรรค์ จุดประกายความคิดให้ผู้อื่น พัฒนางาน พัฒนาองค์กร เผยแพร่

คุณสมบัติ ผู้ถอดบทเรียน

คุณสมบัติผู้ถอดบทเรียน เป็นบุคคลเรียนรู้ เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ มีทักษะการคิดเชิงระบบ มีทักษะการสื่อสาร มีความเป็นตัวของตัวเอง มีทักษะการเขียน ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย มีจุดมุ่งหมายและพลังในตัวเอง มีทักษะการถ่ายภาพ

เทคนิคการถอดบทเรียน ทำให้เนียน ทำให้เป็นธรรมชาติ การใช้การพูดคุยแบบคนต่อคนหรือกลุ่มเล็กๆ การสร้างความไว้วางใจ การสร้างบรรยากาศสนทนาที่ดี ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

เครื่องมือในการถอดบทเรียน การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม

เครื่องมือในการบันทึกข้อมูล กล้องถ่ายรูป/VDO สมุดบันทึก เครื่องบันทึกเสียง Mind map

รูปแบบ การถอดบทเรียน การถอดบทเรียนหลังการทำงาน (After Action Review) การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Storytelling) การเรียนรู้จากบทเรียนที่ดีหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

วิธีที่ ๑ การถอดบทเรียนหลังการทำงาน (After Action Review: AAR) เป็นการทบทวนความสำเร็จหรือล้มเหลวภายหลังจากทำงาน เพื่อค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมจึงเกิด และจะดำรงจุดแข็ง ปรับปรุงจุดอ่อนได้อย่างไร หัวใจของ AAR คือ การเปิดใจเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้หาคนผิด แต่ต้องการปรับปรุงงานในครั้งต่อไปให้ดีกว่าเดิม

ทบทวนการดำเนินงานด้วยคำตอบจากคำถามต่อไปนี้ พัฒนางาน ฝึกการยอมรับความคิดเห็น/คําแนะนําของผู้ร่วมงาน ฝึกการทํางานเป็นทีม เหตุผลในการทำ AAR ทบทวนการดำเนินงานด้วยคำตอบจากคำถามต่อไปนี้ - สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร ? - สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ? - ทําไมจึงแตกต่างกัน ? - สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร ?

ขั้นตอนการทำ AAR ทํา AAR ทันทีหลังจากจบเสร็จสิ้นการทำงาน ทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน มีผู้กระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ไม่มีการกล่าวโทษซํ้าเติม เปรียบเทียบความแตกต่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับที่คาดหวัง จดบันทึก

วิธีที่ ๒ การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Storytelling) ๑.เล่าปัญหา/ความต้องการพัฒนา ๒.เล่าวิธีแก้ปัญหา/พัฒนางาน ๓.เล่าผลงานที่เกิดขึ้น ๔.เล่าความรู้สึก ต่อการแก้ปัญหา/พัฒนา ๕.เล่าการได้เรียนรู้จากปัญหา/พัฒนา ประสบการณ์ & ปฏิสัมพันธ์

การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นการปลดปล่อยความรู้สึกฝังลึก (Tacit knowledge) ให้กลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) วิธีการ เล่าประสบการณ์ ความสำเร็จในการทำงานของตนเองให้สมาชิกในกลุ่มฟัง จากนั้นให้สมาชิกช่วยกัน ถอดบทเรียน หรือ สกัดขุมความรู้ จากเรื่องที่ได้ฟังว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ช่วยทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ เพื่อนำขุมความรู้ที่ได้ฟังจากเรื่องเล่ามาใช้เป็นฐานความรู้ หรือ เป็นแนวทางในการทำงานให้ประสบความสำเร็จต่อไป...

จุดเน้นของการถอดบทเรียนจากการเล่าเรื่อง เงื่อนไข ผู้เล่าเรื่องต้องมีความสุขในการเล่าเรื่อง ที่ประสบผลสำเร็จ ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ซักถามด้วยความชื่นชม สร้างบรรยากาศที่ดี สิ่งสำคัญในกระบวนการถอดบทเรียนจากเรื่องเล่า คือ การสกัดความรู้จากเรื่องเล่าไว้เป็นความรู้ขององค์กร สำหรับให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าถึง และนำไปปรับใช้ในงานของตนเองหรือทีมงานได้

จุดเน้นของการถอดบทเรียนจากการเล่าเรื่อง เน้นการดึงความรู้ในเชิงประสบการณ์ในตัวผู้ปฏิบัติงาน ให้ปรากฏออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้ง เน้นความรู้ในตัวคนที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานมากกว่าความรู้เชิงทฤษฎี เน้นปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์ เป็นการสื่อสาร ๒ ทาง ในแนวราบระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้ปฏิบัติงาน เป็นการสร้างความรู้จากการทำงาน ระหว่างคนในองค์กร เน้นความคิดในเชิงบวก มุ่งถ่ายทอดสิ่งที่ดี ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน และในความสำเร็จนั้นมีความรู้ซ่อนอยู่จะต้องช่วยกันสกัดออกมาให้ได้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน

คำถามที่ใช้ในการถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง ความรู้ฝังลึกในสมอง (Head) ความรู้ฝังลึกในตัวคน (Hand) ได้แนวคิดที่ดีนั้นมาจากไหน ได้วิธีการทำงานนี้มาจากไหน ทำไมจึงคิดเช่นนี้ ทำไมจึงใช้วิธีการนี้ มีวิธีการคิดกี่วิธี มีวิธีการทำงานกี่วิธี ทำไมจึงเลือกใช้วิธีคิดดังนี้ ทำไมจึงเลือกวิธีการนี้ มีวิธีคิดอย่างอื่นอีกหรือไม่ มีวิธีการทำงานแบบอื่นอีกหรือไม่ ทำไม ไม่เลือกใช้วิธีอื่น ทำไมไม่เลือกวิธีการทำงานแบบอื่น

คำถามที่ใช้ในการถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง ความรู้ฝังลึกในจิตใจ (Heart) มีอะไรเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน มีความเชื่ออย่างไรต่อสิ่งที่กำลังทำ เมื่อพบกับปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานให้กำลังใจกับตัวเองอย่างไร มีใครเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน ใช้ธรรมะข้อใด เป็นหลักสำคัญในการทำงาน มีความรู้สึกอย่างไรต่อการทำงานนี้ ถ้าต้องทำงานที่มีปัญหาและอุปสรรคเช่นนี้อีกจะทำหรือไม่ เพราะเหตุใด ถ้าให้เลือกได้ว่าจะทำงานนี้ต่อไป หรือจะยกเลิกการทำงานนี้ ท่านจะตัดสินใจอย่างไร เพราะเหตุใด

วิธีที่ ๓ การเรียนรู้จากบทเรียนที่ดีหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ความรู้นำไปปฏิบัติ ค้นหาโจทย์ถอดบทเรียนที่ดี/เป็นเลิศ กำหนดประเด็นถอดบทเรียน จัดเก็บข้อมูล เขียนผลเบื้องต้น วิเคราะห์/สังเคราะห์ สรุปผล การถอดบทเรียน

ความหมาย วิธีการใหม่ๆ ที่องค์กรเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการพัฒนาองค์กร นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ตอบสนองความคาดหวังของชุมชน / เกษตรกรและตอบสนองเป้าหมายขององค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมาย วิธีการหรือวิธีปฏิบัติที่ส่งผลต่อการดำเนินการที่ดีขึ้นขององค์กร มีนวัตกรรม มีกระบวนการที่เป็นระบบยอมรับได้ (เช่น จากการประเมิน หรือรางวัล เป็นต้น) และทดลองนำไปใช้จนประสบความสำเร็จ ทำให้องค์กรพัฒนาคุณภาพจนประสบความสำเร็จและก้าวสู่ความเป็นเลิศ

“ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ หรือวิธีการที่ดีกว่า” การเกิด Best Practice เป้าหมายของหน่วยงานที่คาดหวัง ความสำเร็จ การแก้ปัญหาในการทำงาน การได้รับคำแนะนำจากผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน วิทยากร และผู้รับบริการ ปัญหาอุปสรรค “ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ หรือวิธีการที่ดีกว่า”

ลักษณะสำคัญของ BP มีนวัตกรรม/ วิธีการใหม่สำคัญ สนับสนุนและส่งผลเป็นเลิศ บูรณาการและเชื่อมโยงกัน เป็นกระบวนการ

แนวคิดพื้นฐานเชื่อมโยง Best Practice มาใช้พัฒนางาน การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ข้อมูลหรือความรู้ในตัวบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการทำงานหรือการใช้ชีวิต หรือองค์กรที่ประสบความสำเร็จ (Knowledge Generation) พัฒนางานให้เกิดประโยชน์สูงสุด(Knowledge Application)

การจัดการความรู้เพื่อทำ Best Practice พัฒนาความรู้ วางแผน ดำเนินการ การทำงาน ลปรร. จัดเวทีลปรร. ชุมชนเรียนรู้ ใช้ความรู้ ปฏิบัติ ประเมิน วิเคราะห์ หลักฐาน บันทึก ปรับปรุง สะท้อนความคิด

หลักฐานและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ชนิดของหลักฐาน แหล่งที่มาของหลักฐาน -การค้นหาความจริง -การทบทวนในชุมชนนักปฏิบัติ -การสังเกตจากกรณีศึกษา -การทบทวนเชิงระบบ -การวิจัยเชิงคุณภาพ -รายงานวิจัย -ความรู้จากการปฏิบัติการ -รายงานการประเมินผล/คลังข้อมูลจากการปฏิบัติ -ความรู้แฝงจากการปฏิบัติการ -ประสบการณ์และปัญญาของ ผู้ปฏิบัติและผู้ใช้

แนวทางการตรวจสอบ Best Practice 1. วิธีการหรือ Best Practice นั้นส่งผล/สอดคล้องกับเป้าหมายงานอย่างน่าเชื่อถือ มีข้อมูลยืนยัน 2. Best Practice นั้นๆ สามารถตอบได้ว่า ทำอะไร (what) ทำอย่างไร (how) ทำทำไม (why) 3. ระบุปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน ก่อให้เกิดการปฏิบัติ ที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน 4. Best Practice นั้นๆ สามารถสรุปและนำไปเป็นบทเรียนหรือนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด หรือ ถอดเป็นบทเรียนได้

แนวทางการจัดทำและนำเสนอ Best Practice ขั้นที่ 1 เตรียมการ ขั้นที่ 2 การเลือก Best Practice ขั้นที่ 3 การจัดทำ กำหนดกรอบถอดบทเรียน การเตรียมทีมงาน ประกอบด้วย หัวหน้าทีม ผู้เขียน และ ผู้ถ่ายภาพ เป็นต้น เลือกหน่วยงานที่มีผลงานเป็นเลิศ หรือมีผลงานประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ผลงาน มีข้อมูลยืนยันความสำเร็จที่น่าเชื่อถือ เป็นผลงานที่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ วิธีการ/เครื่องมือเก็บข้อมูล ระยะเวลา การประสานงาน การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเอกสารการนำเสนอ รูปแบบที่หลากหลาย

ความเป็นเลิศของ SO อยู่ตรงไหน ตอบคำถามสำคัญ 5 ข้อ เมื่อดำเนินโครงการมาถึงปัจจุบัน องค์กรหรือเกษตรกรมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เราทำอะไรกันไปบ้างแล้ว และเราทำกันอย่างไร เรามีอะไรเป็นทุน เราได้เรียนรู้อะไรร่วมกันบ้าง “แสดงหลักฐาน พยาน และสติปัญญา ให้เป็นที่ประจักษ์”

2.ข้อมูลประกอบ/ข้อมูลที่ยืนยันความสำเร็จ 3.วิธีการ/กระบวนการ/ปัจจัย แนวทางสังเคราะห์ BP เป็นผลงานได้ ดังนี้ ชื่อผลงานหรือความสำเร็จ........................ 1.บรรยายภาพความสำเร็จ 2.ข้อมูลประกอบ/ข้อมูลที่ยืนยันความสำเร็จ 3.วิธีการ/กระบวนการ/ปัจจัย นักส่งเสริมฯ ระบบงาน MRCF, Thaismartfarmer.net อุปกรณ์ สถานที่ ข้อมูลในคอลัมน์ที่ 3 นำมาสังเคราะห์เป็น BP

ความสามารถในเชิงปัญญา คือ สามารถมองงานที่ทำออกว่า “ทำไมต้องทำ ทำแล้วจะเกิดอะไรกับตนเองและสังคม” ที่มา : อมร นนทสุต

แบบถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ แบบถอดบทเรียน Smart Office