แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมา ตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้ พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทาง กฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่ สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็ เป็นการนำหลักกฏหมายระหว่างประเทศที่มี อยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการ ภายในของแต่ละรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฏบัตร สหประชาชาติอยู่แล้ว
อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการ จัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและ ร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บน พื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดย อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญา กรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ.2510
มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐาน การผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่าง เสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณา การการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุ วัตถุ ประสงค์ 4 ด้าน คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของอาเซียน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก