หลักการเขียนโครงการ
ความหมายของโครงการ โครงการ หมายถึง การวางแผนดำเนินงานหรือกิจกรรมล่วงหน้า โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงานอย่างชัดเจน กำหนดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โครงการ คือ การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
ความสำคัญของโครงการ เป็นการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน สามารถตอบสนองนโยบายของหน่วยงานได้ เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน และใช้ในการติดตามผลงาน ทำให้ทราบวัตถุประสงค์ของงานที่ชัดเจน และตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ประหยัดทรัพยากร เพราะมีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
ลักษณะของโครงการที่ดี สามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาหน่วยงานได้ มีรายละเอียด วัตถุประสงค์ และเป้าหมายชัดเจน สามารถดำเนินงานได้จริง มีระยะเวลาดำเนินงานที่แน่นอน ระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดโครงการ มีรายละเอียดของโครงการเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน มีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างชัดเจน สามารถติดตามประเมินผลได้
องค์ประกอบของโครงการ สามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาหน่วยงานได้ มีรายละเอียด วัตถุประสงค์ และเป้าหมายชัดเจน สามารถดำเนินงานได้จริง มีระยะเวลาดำเนินงานที่แน่นอน ระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดโครงการ มีรายละเอียดของโครงการเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน มีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างชัดเจน สามารถติดตามประเมินผลได้
การวางแผนเขียนโครงการ โครงการอะไร ชื่อโครงการ ใครทำ ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ระยะเวลาดำเนินงาน ทำไมจึงทำโครงการนี้ หลักการและเหตุผล หรือความเป็นมา ทำเพื่ออะไร วัตถุประสงค์ ทำแล้วได้อะไร มีคุณภาพและปริมาณเท่าใด เป้าหมาย ทำที่ไหน สถานที่
การวางแผนเขียนโครงการ ทำอย่างไร วิธีดำเนินงาน ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด ได้จากไหน งบประมาณ เมื่อโครงการสำเร็จ ได้อะไรบ้าง ผลที่คาดว่าจะได้รับ ขณะทำมีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรค ทำอย่างไรจะรู้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ การประเมินผล
การจัดทำโครงการ โครงการ (Project) = แผนงาน ที่ประกอบไปด้วยกิจกรรม เพื่อ ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โครงการ (Project) = ต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด โครงการ (Project) = ต้องสามารถวัดผลและประเมินผล ได้อย่างเป็นรูปธรรม
โครงสร้างของการเขียนโครงการ 1.ชื่อโครงการ 2.หลักการและเหตุผล – พรรณนาหาเหตุผล ว่าทำไมจึง ต้องจัดโครงการนี้ 3.วัตถุประสงค์ –บอกว่า จัดโครงการนี้ไปเพื่ออะไร 4.เป้าหมาย 5.วิธีการดำเนินงาน – เขียนเป็นขั้นตอน อาจเขียนลงเป็น ตารางก็ได้
โครงสร้างของการเขียนโครงการ 6.ผู้รับผิดชอบ 7.งบประมาณ 8.สถานที่ดำเนินการ 9.ระยะเวลาในการดำเนินการ – เริ่มวันไหน สิ้นสุดวัน ไหน
โครงสร้างของการเขียนโครงการ 10.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ – จะสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ 11.วิธีการประเมินผลโครงการ – จะสอดคล้องกับ เป้าหมาย
ขั้นที่ 2 หลักการและเหตุผล เขียนเหตุผลว่าทำไมต้องจัดโครงการนี้ (15 นาที) พูดถึงสภาพโดยรวมกว้างๆ เช่น นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ นโยบายมหาวิทยาลัย นโยบายคณะ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เราจะทำ ย่อหน้าแรก เจาะประเด็นมาที่เหตุผลของเราว่า เราจัดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อตอบสนองนโยบาย / แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากย่อหน้า ข้างบน ย่อหน้าสอง
มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ...” เช่น เพื่อแก้ปัญหา........ ขั้นที่ 3 วัตถุประสงค์ เขียนวัตถุประสงค์ว่าจัดโครงการนี้ไปเพื่อ..... (10 นาที) นิยมให้มีประมาณ 3-5 ข้อ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ...” เช่น เพื่อแก้ปัญหา........ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่อง..... ควรเขียนให้เป็นรูปธรรม อย่าเขียนเป็นนามธรรม (เช่น เพื่อให้มีความสุข ความเจริญ เป็นต้น)
ขั้นที่ 4 เป้าหมาย เป้าหมายที่วัดได้ของโครงการนี้..... (5 นาที) มี 2 ด้าน คือ 1. เชิงปริมาณ = เป็นการนับ เช่น มีการจัดเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า...เรื่อง 2. เชิงคุณภาพ = เป็นการวัด การเปรียบเทียบหรือการสอบ เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูล อยู่ในระดับดี ควรตั้งเป้าหมายให้ครบทั้ง 2 ด้าน
ขั้นที่ 5 วิธีการดำเนินการ ขั้นตอนและกำหนดเวลาที่จะดำเนินการ (5 นาที) กำหนดขั้นตอนจะดำเนินการ เช่น ลำดับ กิจกรรม มิถุนายน กรกฎาคม 1 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ 2 วิเคราะห์ปัญหาของระบบ
ขั้นที่ 6 ผู้รับผิดชอบโครงการ ระบุผู้รับผิดชอบโครงการ (1 นาที) ขั้นที่ 7 งบประมาณ ระบุจำนวนเงินที่ต้องใช้ (3 นาที) ขั้นที่ 8 สถานที่ดำเนินการ ระบุสถานที่ที่จะจัดกิจกรรม (1 นาที) ขั้นที่ 9 ระยะเวลาดำเนินการ ระบุช่วงเวลาที่จะจัด (1 นาที)
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จะไม่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ...” ขั้นที่ 10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ คาดหวังว่า จัดแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไร..... (10 นาที) สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จะไม่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ...” จะไปสอดคล้องกับขั้นตอนถัดไปด้วย
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ ขั้นที่ 11 การประเมินผล วัดผลอย่างไร ว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ..... (15 นาที) สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ ถ้าวัตถุประสงค์ระบุว่า “มี........เพิ่มขึ้น” << ต้องทำการทดสอบประสิทธิภาพ ก่อนและหลังใช้งาน >> ถ้าวัดความรู้สึก เช่น ความพึงพอใจ, ทัศนคติที่ดี << ทำแบบสอบถาม >> แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ แบบสอบถามเพื่อวัดทัศนคติ ควรมีเอกสารในการประเมินผลให้เห็นเชิงประจักษ์