เรื่อง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผู้จัดทำ นางสาว ดารุณี พรนิคม เลขที่ 13 นางสาว ธนัชพร ภู่มาลา เลขที่ 14 นางสาว นุสรา ไชยโยธา เลขที่ 16 นางสาว พัชนี ยอดยิ่ง เลขที่ 17 นำเสนอ อาจารย์ ชนาธิป ประทะดวง
ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในสวนพระจิตรลดา โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา กำเนิดขึ้นมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งได้เสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วภูมิภาคของพระองค์ ทรงทอดพระเนตรและทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนทุกข์เข็ญให้กับพสกนิกรโดยเฉพาะด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์และอื่นๆ โครงการนี้จึงตั้งขึ้นบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อที่จะได้ทดลองหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้องและตรงจุดด้วยพระองค์เอง ทรงออกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เองในการดำเนินงาน ต่อมามีผู้ร่วมบริจาคและมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางส่วน
บรรยากาศในการเข้าร่วมโครงการ เจ้าหน้าที่บรรยายประวัติความเป็นมา
ขั้นตอนการทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ห้องเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นอาหารสังเคราะห์ ประกอบด้วยธาตุอาหารสำคัญที่พืชจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม และสารอาหารอื่นๆ เช่น วิตามิน น้ำตาล น้ำมะพร้าว กล้วยบดหรือวุ้น เพื่อช่วยให้พืชตั้งอยู่ได้ ห้องถ่ายเนื้อเยื่อเป็นห้องสำหรับการนำชิ้นส่วนของพืชมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่เตรียมไว้ในสภาพปลอดเชื้อ เครื่องมือที่สำคัญในห้องนี้ คือ ตู้สำหรับเลี้ยงหรือถ่ายเนื้อเยื่อเป็นตู้ที่มีอาการถ่ายเทผ่านแผ่นกรองที่สามารถกรองจุลินทรีย์ได้ตลอดเวลาทำให้อากาศภายในตู้บริสุทธิ์ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยให้ทำงานสะดวกและรวดเร็ว
ห้องเก็บเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ