รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย รายงาน เรื่อง รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย (Topologies)
1.น.ส.อนุวรรณ เจริญเกียรติ 5.น.ส.อุษณีย์ เครือผังปัง สมาชิก 1.น.ส.อนุวรรณ เจริญเกียรติ 2.น.ส.ธิดารัตน์ เจริญโภค 3.น.ส.สาธินี ลือหาญ 4.น.ส.นัทฎา แก้วสีดา 5.น.ส.อุษณีย์ เครือผังปัง
โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็น ศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ
โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส
ข้อดี - ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา - สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย ข้อเสีย - ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้ - การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลายๆจุด แหล่งที่มา :
โครงสร้างแบบริง (Ring Topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง
ข้อดี -ใช้สายส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus -ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง -ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ ข้อเสีย -ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ -ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด
1. โครงสร้างแบบไร้สาย) รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย
ข้อดี 1. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย 2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย 3. ไม่ต้องใช้สาย cable 4.ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ข้อเสีย 1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า“ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ” 2. มีสัญญาณรบกวนสูง 3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน 4. ยังมีหลายมาตรฐานตามผู้ผลิตแต่ละรายทำให้ มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน 5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย 6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก