ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Mobile Information Services: User.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
School of Business Administration BANGKOK UNIVERSITY
Advertisements

แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ด้านการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
Education Research Complete
การพัฒนาระบบฐานข้อมูล
วารสารออนไลน์ เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคผิวหนัง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา
เทคนิคการอ่านรายงานการวิจัย
การเตรียมความพร้อมข้อมูลก่อนการวิเคราะห์
Graduate School Khon Kaen University
KM Learning Power ครั้งที่ 1
*เนื้อหาส่วนที่2 เครื่องมือช่วยการสืบค้น CMUL OPAC One Search
บทที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ประสบการณ์จากงานบริการสารสนเทศ: ประโยชน์
การจัดเก็บข้อมูลตามตัวบ่งชี้ สกอ. และ สมศ.
หลักการพัฒนา หลักสูตร
ของวิชา การรู้สารสนเทศInformation Literacy
ตัวชี้วัดโครงการ บรรณารักษ์พบนักวิจัย
แนะนำบริการสนับสนุนการวิจัย (Researcher Service Support)
การจัดการศูนย์สารสนเทศ
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อเชื่อมโยง
สมพงษ์ เจริญศิริ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
“ลูกค้าสัมพันธ์” ก้าวใหม่ในการบริการห้องสมุด
คนึงนิตย์ หีบแก้ว ธันยกานต์ สินปรุ พุทธชาติ เรืองศิริ
การสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 4 23 มกราคม 2557
นางพัชราภรณ์ หงษ์สิบสอง และผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทา เติมสมบัติถาวร
ขวัญตระกูล กลิ่นสุคนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายนวัตกรรม และกระบวนการทางนวัตกรรม
โปรแกรมการทดสอบวัดความสามารถพื้นฐาน ทางการเรียนของนักศึกษา
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
คอมพิวเตอร์สำหรับ นักศึกษาบัณฑิต (Computer for Graduate Students)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริศนา มัชฌิมา
ICT สู่ห้องเรียนคุณภาพ
โมดูล 5 ผู้ใช้และความต้องการสารสนเทศ
การศึกษาเปรียบเทียบระบบการแจ้งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาปี 2553 A Comparative.
“ทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย R to R”
การวิจัยในชั้นเรียนด้านอาชีวศึกษา
ในห้องเรียนออนไลน์ (Web-Based Instruction) บนระบบบริการ Moodle LMS
ในห้องเรียนออนไลน์ (Web-Based Instruction) บนระบบบริการ Moodle LMS
นางสาวธันยกานต์ สินปรุ
ใบความรู้ เรื่อง สื่อสารสนเทศในแบบต่างๆ
สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ มกราคม 2555 ณ ห้อง 107 วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
การออกแบบตัวชี้วัดที่ประสบความสำเร็จในการทำ E-Learning โดย เบคิม เฟทาจิ , เมย์ลินดา เฟทาจิ มหาวิทยาลัยยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมสมัย.
การเขียนรายงานการวิจัย
เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุม หน้าห้องฝ่ายปราบปราม.
*เนื้อหาส่วนที่2 เครื่องมือช่วยการสืบค้น CMUL OPAC
การทำผลงานวิชาการ สงวนลิขสิทธิ์.....โดย ดร.สุรชาติ สังข์รุ่ง.
ผลการสำรวจความต้องการ ความ คาดหวัง และความพึงพอใจ ของภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริม สุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รับผิดชอบ ต่อศูนย์อนามัยที่
การออกแบบและการประยุกต์ใช้ หลักสูตรเว็บออนไลน์ เพื่อการเรียนรู้ทางไกล On the Design and Application of an Online Web Course for Distance Learning.
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
ADDIE Model.
การดำเนินงานห้องสมุดเฉพาะ และศูนย์สารสนเทศ
นางสาววราภรณ์ จันปัญญา สาธารณสุขชุมชน 1 รหัส
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น.
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์
การดำเนินงานห้องสมุดเฉพาะ และศูนย์สารสนเทศ
การพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย e-Learning
ด้านคุณภาพมาตรฐาน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโดยใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคม ออนไลน์ (Health Information System Development With Participation By Social Networking)
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) กรุงเทพมหานคร
พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ นายเสกสรรค์ ปัญญาฐานะ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ.
นางดวงพร อินทจักร วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ จ.ลำพูน
ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลข เช่น น้ำหนัก ความสูง ระยะทาง อายุ หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ
ความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการห้องสมุด
วิชา เครื่องวัดไฟฟ้า รหัส
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Mobile Information Services: User Needs of the Center for Library Resources and Educational Media, Suranaree University of Technology อินทิรา นนทชัย1 1นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และกันยารัตน์ เควียเซ่น2 2กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความเป็นมา ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของการเรียนออนไลน์ (Electronic Learning) หรือการเรียนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (M-Learning: Mobile Learning) ห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ในฐานะที่เป็นหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา จึงควรจัดเตรียมบริการและทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียนในรูปแบบต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด

บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามแนวคิดของ Murray (2010) เว็บไซต์ของห้องสมุด (Library web sites) บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าผ่านข้อความสั้น (SMS reference) ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (MOPACS: Mobile OPACS) บริการแจ้งรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (Mobile Collections) บริการ eBooks และ mobile reading บริการ Mobile instruction บริการแนะนำการให้บริการของห้องสมุด (Mobile audio/video tours) Source: Murray, L. (2010). Libraries “like to move it, move it”. Reference Services Review, 38(2), 233-249.

ตัวอย่างบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ Library web site Duke University Library Library web site มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตัวอย่างบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ต่อ) MOPACS: Mobile OPACS New York Public Library

ตัวอย่างบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ต่อ) SMS notification services University of South Africa (UNISA) - แจ้งการค้างชำระค่าปรับ รายการที่ต้องนำส่ง หนี้คงค้าง - การเรียกคืนสารสนเทศ - การเปลี่ยนแปลงเวลาในการให้บริการของห้องสมุด - การงดบริการ หรือตารางการฝึกอบรม - ข้อความแจ้งสารสนเทศที่สูญหายของห้องสมุด - ข้อความแจ้งผลการสืบค้นสารสนเทศตามคำขอ - แจ้งเตือนการเข้าร่วมฝึกอบรม / การต่ออายุประจำปี - แจ้งยืนยันสารสนเทศตามคำขอ

ปัญหาการวิจัย จากความสำคัญดังกล่าว นำมาสู่ปัญหาของงานวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1. การเพิ่มช่องทางการให้บริการสารสนเทศให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศหรือรับบริการที่ห้องสมุดจัดให้ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วได้ทุกที่ทุกเวลา 2. การขยายการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุด จากเดิมที่ให้ผู้ใช้เดินเข้ามาใช้บริการที่ ห้องสมุดและการให้บริการออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยพัฒนาวิธีการในการนำเสนอบริการ สารสนเทศ ในลักษณะการบริการห้องสมุดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3. การจัดเตรียมและพัฒนาบริการที่ตรงกับความต้องการ บรรณารักษ์งานบริการต้องการจะ พัฒนาบริการห้องสมุดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่ยังไม่ทราบว่าจะนำเสนอบริการ ในลักษณะใดก่อน

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หมายถึง บริการต่าง ๆ ของห้องสมุด ที่จัดส่งบริการไปยังผู้ใช้บริการ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็ก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการห้องสมุดของผู้ใช้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยอาศัยแนวคิดของบริการห้องสมุดบนมือถือของ Murray (2010) อุปกรณ์เคลื่อนที่ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงสารสนเทศ หรือเพื่อความบันเทิง เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ PDA เป็นต้น

วิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ สภาพการใช้บริการและปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ตลอดจนความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2555 ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน แจกแบบสอบถามให้กับนักศึกษาทั้งที่เข้าใช้บริการและไม่เข้าใช้บริการของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้แบบสอบถามกลับคืน จำนวน 370 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100.00

พื้นที่วิจัย e-Learning มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี m-Learning SUT-Library

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาผู้ใช้ การบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1. ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องคือ 0.82 2. ทดลองใช้ถามกับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.80

ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ

ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ (ต่อ)

ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ (ต่อ)

ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ (ต่อ)

ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ต่อ) เหตุผลในการเข้าใช้บริการสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

ปัญหาด้านช่องทางการเข้าถึงบริการสารสนเทศของผู้ใช้บริการ ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ต่อ) ปัญหาด้านช่องทางการเข้าถึงบริการสารสนเทศของผู้ใช้บริการ มีปัญหาอะไรเยอะที่สุด เจอมากที่ สุด แต่เป็นปัญหาในระดับน้อย

ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ต่อ) ปัญหาการเข้าถึงบริการสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์ของผู้ใช้บริการ

ผลการวิจัย: ความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผลการวิจัย: ความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ไว้ในครอบครอง โดยผู้ใช้บริการร้อยละ 64.0 ใช้สมาร์ทโฟน ดังนั้น ห้องสมุดสามารถพัฒนาระบบบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์ เคลื่อนที่ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการของ ห้องสมุดเพิ่มเติม เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมการศึกษาเรียนรู้ของ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้และปริมาณการใช้ บริการของห้องสมุดได้อีกทางหนึ่ง

การนำผลการวิจัยไปพัฒนา ผลการวิจัยที่กล่าวมาเป็นเพียงการวิจัยระยะแรก ขณะนี้ได้นำผลไปทดลองในระยะที่ 2 แล้ว และจะทำการประเมินความพอใจผู้ใช้ต่อไป

ขอขอบคุณค่ะ