ยูเรนัส (Uranus)
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดาวอาทิตย์เป็นดวงที่เจ็ด และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สาม (วัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง)
ตามตำนานกรีก Uranus เป็นลูกชายของ Gaia ซึ่งเป็นพ่อของ Cronun (Saturn), Cyclopes และ Titan
ดาวยูเรนัสถูกค้นพบขึ้นในช่วงระยะหลังของการศึกษาดวงดาวและท้องฟ้า โดย William Herschel ใช้กล้องโทรทรรศน์ของเขาค้นหาดวงดาวอย่างมีระบบเมื่อ 13 มีนาคม 1781 Herschel เรียกดาวดวงนี้ว่า “Georgium Sidus” เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ทีสนับสนุนเขาคือ King George III แต่คนอื่นๆเรียกดาวดวงนี้ว่า “Herschel”
ชื่อดาวยูเนรัสถูกเรียกเป็นครั้งแรกโดย Bode เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับชื่อของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆที่มีชื่อมาจากตำนานโบราณ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในขณะนั้นมาจนกระทั่งในปี 1850
ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีการหมุนรอบแกนที่ตั้งฉากกับระนาบของวงโคจร แต่ดาวยูเรนัสมีแกนที่ขนานกับระนาบของวงโคจร ทำให้ขั้วของดาวรับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณศูนย์สูตร ดังนั้นอุณหภูมิที่ขั้วจึงสูงกว่าอุณหภูมิที่ศูนย์สูตรเสมอ
ดาวยูเรนัสประกอบด้วย หินและน้ำแข็งชนิดต่างๆ มีไฮโดรเจน 15% และฮีเลียมอีกเล็กน้อย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแกนของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ที่ไม่มีชั้น liquid metallic hydrogen ดาวยูเรนัสไม่มีแกนกลางเหมือนดาวพฤหัสหรือดาวเสาร์ แต่เป็นวัตถุเนื้อเดียว
บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วย ไฮโดรเจน 83% ฮีเลียม 15% มีเทน 2% และร่องรอยของ อะเซทิลีน และสารไฮโดรคาร์บอน
ดาวยูเรนัสมีแถบสีเหมือนกับดาวก๊าซทั่วไป แต่มีการเคลื่อนที่ของแถบสีที่รวดเร็วและสีค่อนข้างเลือนลาง
สีน้ำเงินของดาวยูเรนัส เป็นผลมาจากการดูดกลืนแสงสีแดงของมีเทนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศตอนบนของดาว แถบสีทั้งหลายสังเกตได้ยากเนื่องจากชั้นมีเทนในบรรยากาศ
วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกค้นพบในปี 1977 แต่ไม่สว่างเหมือนกับวงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยวัตถุขนาดเล็กซึ่งมีวัตถุขนาดใหญ่ที่มีขนาดมากกว่า 10 เมตรประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย วงแหวน 11 วง มีลักษณะเลือนลาง วงที่มีความสว่างมากที่สุกเรียกว่า Epsilon
วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกค้นพบภายหลังจากการค้นพบวงแหวนของดาวเสาร์ ทำให้เป็นที่เข้าใจกันดีขึ้นว่า วงแหวนเป็นลักษณะที่สามารถพบได้ในดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ไม่เฉพาะเจาะจงกับดาวเสาร์อย่างที่เคยเข้าใจ
ดาวยูเรนัสมีดาวบริวารขนาดเล็ก 10 ดวงและขนาดใหญ่อีก 5 ดวง ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดดี ดาวบริวารขนาดใหญ่ 2 ดวง ชื่อ Titania และ Oberon และอาจมีดาวบริวารเล็กๆ อีกมากมายในวงแหวนเหล่านี้
Titania และ Oberon
สนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัสมีความแปลกประหลาด ศูนย์กลางของสนามแม่เหล็กไม่ได้อยู่บริเวณศูนย์กลางของดาวแต่วางตัวเอียงทำมุม 60 องศากับแกนของการหนุน แหล่งกำเนิดของสนามแม่เหล็กยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการหมุนที่เกิดขึ้นที่ระดับความลึกไม่มากนักภายในดาวยูเรนัส
ในค่ำคืนที่ท้องฟ้าโปร่งอาจเป็นดาวยูเรนัสด้วยตาเปล่า หรือกล้องส่องทางไกลสองตา กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กอาจเห็นดาวยูเรนัสเป็นแผ่นกลมๆ