ทรูวิชั่นส์ VS เคเบิลทีวี
สภาพตลาดการแข่งขันปัจจุบัน Antenna (เสาแบบก้างปลา) 5,683,000 ครัวเรือน True Visions 2,000,000 ครัวเรือน Local Cable 4,500,000 ครัวเรือน Sattellite 9,200,000 ครัวเรือน
จำนวนผู้ชมเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม 44% ของครัวเรือนติดตั้งเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียม 31 ล้านคนดูเคเบิลทีวี
ทรูวิชั่นขยับตัว คาดว่าขณะนี้มีอย่างน้อย 5 ล้านครัวเรือนที่เปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์ใหม่เป็นระบบ HD แล้ว เพราะมีราคาต่ำลง ความเร็วของอินเทอร์เน็ตเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจการรับชมในระบบ HD มากขึ้น เพราะทีวีอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์บางส่วนออกอากาศในระบบ HD ด้วย ทรูวิชั่นลงทุน 2,000 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนระบบมาเป็น HD และประเมินว่าใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ สัญญาณโทรทัศน์บ้านเราจะเป็น HD ทั้งหมด ซึ่งทรูก็ได้ปรับเปลี่ยนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ผลพลอยได้คือ สามารถแก้ปัญหาเรื่องกล่องเถื่อนที่ลักลอบดึงสัญญาณของทรูวิชั่นไปดูได้อีกทางหนึ่งด้วย
โดยแบ่งกลุ่มที่ใช้ระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง สามารถรับชมช่อง HD ได้ 11 ช่อง ส่วนระบบจานแดง รับชมได้ 3 ช่อง และภายใน 1 ปี จะรับชมได้ครบ 11 ช่อง ทรูหวังว่าการเปลี่ยนกล่องให้มาเป็น HD จะทำให้ยอดสมาชิกเพิ่มขึ้นปีละ 20%
เหตุผลหลักของการปรับเปลี่ยนระบบใหม่ของทรูวิชั่นส์ นอกจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การขยายฐานลูกค้า ต้องมองถึงโมเดลการสร้างรายได้เสริมจากฐานสมาชิก 500,000 รายที่มีอยู่ด้วย เพราะนั่นคือกลุ่มผู้บริโภคที่ชัดเจน มีตัวตน และเข้าถึงได้ อินเทอร์เน็ตกับทีวีผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้เข้าสู่ยุคของทีวี อีคอมเมิร์ซ การขายสินค้าหลายๆ ชนิดไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเดิมอีก ต่อไปการขายสินค้าบนทีวีสามารถใช้รีโมตเลือกซื้อได้ ทีวี อีคอมเมิร์ซจะขยายตัวกว่าโฮมช้อปปิ้งด้วย
ตัวอย่างทีวีอินเทอร์เน็ต
RS ลงทุน 100 ล้าน เปิดตัวช่อง 8 อินฟีนิตี้ จับกลุ่มผู้ชมทั่วไป จัดผังเหมือนฟรีทีวีทั่วไป ขยายช่อง “ย๊าค” เป็นช่องวัยรุ่น จะเปิดช่องกีฬาอีก 1 ช่องในปี 2555 ผู้บริหารอาร์เอสมองว่า หาคอนเซ็ปต์ให้ตรงกับตลาด ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน การมีช่องมากไม่ใช่เป้าหมาย ยังคงเป็น content provider ช่องที่เหลือเป็น free to air
อนาคต RS อาร์เอสจะเดินเข้าสู่เพย์ทีวี มีคอนเทนต์ดีๆ โดยเฉพาะลิขสิทธิ์กีฬา เช่นบอลโลก 2014 ธุรกิจทีวีดาวเทียมจะเป็นรายได้หลักแทนธุรกิจเพลง
GMM รุกสู่ธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม โดยการเป็นเจ้าของขึ้นมาใช้เองในชื่อ 1 sky ด้วยงบประมาณ 3,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี ปรับตัวจากการเป็น Content Provider สู่การเป็น Platform Operator
จุดแข็งของ GMM มีคอนเทนต์เองอยู่แล้ว 10 ช่องและมีสื่อกับศิลปินระดับ mass สำหรับใช้โปรโมท 1 sky เครือข่ายพันธมิตรทั้งกลุ่มผู้ประกอบการจานดาวเทียมและผู้ผลิตคอนเทนต์ งบประมาณ 3 พันล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปี
แนวโน้มเคเบิลทีวี เป็น Platform DTH สาเหตุที่ทำให้เคเบิลทีวีไทยไม่สามารถขยายลูกค้าได้มาก เพราะมีปัญหาเรื่องการลากสายเคเบิลเข้าไปในพื้นที่ให้บริการที่ยังไม่ครอบคลุม จึงเปลี่ยนมาทำตลาดแบบ Direct to home ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมระบบ C-Band เพื่อเปิดตลาดในพื้นที่ต่างจังหวัดห่างไกลด้วย
ในสนามของคอนเทนต์โพรวายเดอร์นั้น แม้ปัจจุบันจะมีจำนวนช่องมากมายกว่า 200 ช่อง แต่ในความเป็นจริงแล้วจากการวิจัยพบว่า ผู้ชมจะรับชมและติดตามรายการได้จริงๆ แค่ 3-4 ช่องเท่านั้น แนวโน้มเหลือเพียงไม่กี่รายที่เข้มแข็งและผลิตรายการได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสร้างความแตกต่างในแต่ละรายการได้อย่างชัดเจน ส่วนการที่ค่ายเพลงเข้ามารุกธุรกิจดาวเทียมนั้น เป้าหมายก็คือการสร้างเอาต์เลต เพื่อโชว์สินค้าใหม่ให้กลุ่มเป้าหมายมากกว่า เพราะรายได้ที่แท้จริงอยู่ที่การบริหารคอนเทนต์ต่อยอด ทั้งจากการโหลดเพลง อีเวนต์ โชว์บิสต่างๆ