วิชาปรัชญา-วิชากฎหมาย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
Advertisements

การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี อนันต์ สิทธิวัฒนานนท์
1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุพบ บริเวณใดของโลก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนับเป็นแหล่งอารยธรรม เริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
คนเป็นทรัพย์สินที่มี ค่ายิ่งของหน่วย อ้างอิง : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คน เก่ง คน ดี คน มี ความ สุข เป้าหมายการ พัฒนากำลังพล เพื่อให้ทำงานอย่าง.
การจัดกิจกรรม ชุมนุม Science Club. การจัดกิจกรรมชุมนุมสนองตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตามมาตรา ๒๔ ได้อย่างครบถ้วน.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
หน่วยที่ 2 สัญญาประกันภัย
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
GALILEO GALILEI กาลิเลโอ กาลิเลอี
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
โอวาท๓ / ไตรสิกขา.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
เรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
ทดสอบหลังเรียนพระพุทธหน่วย8
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ประวัติศาสตร์กฎหมาย Legal History
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
ศาสนาเชน Jainism.
ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กฎหมายกับเพศภาวะ Law & gender
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
ลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศ อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชาปรัชญา-วิชากฎหมาย กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ *เอกสารนี้ใช้เพียงเพื่อประกอบการบรรยาย เนื้อหาวิชาควรทบทวนจากเอกสารที่แนะนำตามเค้าโครงรายวิชา

เค้าโครงการบรรยาย ความหมายของ “ปรัชญา” เจตจำนงแห่งการศึกษาวิชาปรัชญา การแบ่งแขนงในวิชาปรัชญา ตำแหน่งแห่งที่ของนิติปรัชญาในวิชาปรัชญา

1. ความหมายของ “ปรัชญา” ชื่อวิชาโดยปกติมักสัมพันธ์กับเนื้อหาของวิชา รัฐศาสตร์ = รัฐ (การเมือง) + ศาสตร์ (Politics + Science) เศรษฐศาสตร์ = เศรษฐ์ + ศาสตร์ (Economic) สังคมศาสตร์ = สังคม + ศาสตร์ (Society + Science) รัฐศาสตร์ย่อมเกี่ยวกับ “รัฐ” หรือ “การเมือง” ถึงแม้รัฐจะสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ แต่วิชารัฐศาสตร์ก็จะไม่เน้นเศรษฐกิจ เท่ากับการเมือง แล้ว “ปรัชญา” คืออะไร “Philosophy” คืออะไร

Le Penseur Rodin (The Thinker) ภาพที่มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของวิชา Philosophy

โสกราตีสเป็นตัวอย่างที่ดีของชายชรายุคโบราณที่ไม่ค่อยดูแลตัวเอง แต่เป็นไอคอนของ “นักปรัชญา"

"ปรัชญา" ในฐานะที่เป็นถ้อยคำอันคมคาย แต่ไม่แน่ชัดในความหมาย

“ปรัชญา” ในแง่อักษรศาสตร์ “ปรัชญา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า “วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง” “ปรัชญา” เป็นคำที่บัญญัติมาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับคำว่า “ปัญญา” ในภาษาบาลี ซึ่งเดิมแปลว่า ความรู้อันประเสริฐ “ปรัชญา” ตามพจนานุกรมนี้เป็นศัพท์บัญญัติที่แปลมาจากคำว่า “Philosophy” ในภาษาอังกฤษ มาจาก Philos (ความรู้) และ Sophia (ความรัก) แปลว่า ความรักในความรู้ หรือการแสวงหาความรู้

“ปรัชญา” กับ “Philosophy” “ปรัชญา” ในภาษาไทยมีความหมายสองนัย การเป็นความรู้อันประเสริฐ หรือ การเป็นความรักไล่ล่าหาความรู้ การเป็นความรู้อันประเสริฐ หรือ “สัจธรรม” คือ เป็นความรู้ที่ดีงามความรู้ที่เหนือกว่าความรู้อื่น (ที่ไม่เป็นประเสริฐ) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความรู้อันประเสริฐและความรู้ที่ไม่ประเสริฐ ระหว่างผู้บรรยายผู้ครอบครอง “ความรู้อันประเสริฐ” กับนักศึกษาผู้พยายามเรียนรู้สิ่งประเสริฐ “ปรัชญา” ย่อมกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันล่วงละเมิดไม่ได้?

ความคิดทางปรัชญาของอินเดียนั้นสัมพันธ์กับความคิดทางศาสนาอย่างใกล้ชิด เช่น ไตรลักษณ์ พระเวท ธรรมศาสตร์ ฯลฯ การถือคติว่าปรัชญาคือความรู้อันประเสริฐ จึงเหนี่ยวรั้นผู้ศึกษาไม่ให้ตั้งคำถามต่อจากความรู้อันประเสริฐนั้น แต่ “Philosophy” ไม่จำเป็นต้องประเสริฐ อาจมีข้อผิดพลาด อาจมีความไร้สาระ อาจมีอุบายอันทุจริต ฯลฯ

ธรรมสาตร กระลาการต้องปราศจากอคติสี่ประการ ฉันทคติ = ลำเอียงเพราะรัก โทสาคติ = ลำเอียงเพราะเกลียด โมหาคติ = ลำเอียงเพราะเขลา ภยาคติ = ลำเอียงเพราะกลัว

ถ้าไม่ทำตามธรรมสตร “อธิบายว่าเมื่อคู่ความทังสองค่างมาถึงแล้วอย่าให้พิจารณาบังคับบัญชาข้อคดีโดยริศยาอาสัจ ให้มีเมดตาแก่คู่ความทังสองค่างด้วยจิตรอันเสมอ ให้เอาคดีนั้นเปนกิจทุระกังวนแก่ตน ถ้ากระลาการผู้ใดให้กำลังแก่คู่ความผู้เทจ์กินสีนจ้างมิได้บังคับบัญชาโดยพระธรรมสาตร อันว่ากระลาการผู้นั้นครั้นกระทำกาลกิริยาตายแล้ว ก็จะไปไหม้อยู่ในอบายภูมทนทุกขเวทนาอยู่จีรังกาลเปนเปรตมีเล็บมือใหญ่เท่าใบจอบมีเปลวไฟลุกรุ่งเรือง ควักเอารุธิระมังสะแห่งตนบริโภคเปนภักษาหาร ครั้นพ้นจากอบายภูมแล้วมาบังเกีดเปนมนุษปาปะกาวะเศศนั้นจะตามสนอง มีองคไวยวะวิกลทุพลภาพมีปากเหมนเปนต้นนับด้วยชาติเปนอันมาก”

ปรัชญาย่อมสามารถถกเถียงและเปลี่ยนแปลงได้ เกิด, โต้ตอบ และก้าวข้ามกันอย่างไร เพื่อเกิดจินตนาการและความกล้าหาญในการคิดสร้างความรู้ทางกฎหมาย (ซึ่งวันหนึ่งอาจกลายเป็นกฎหมาย) ดังนั้น ปรัชญาในที่นี้จึงต้องเป็น “Philosophy” ไม่ใช่ “ปรัชญา” หรือ “ปัญญา” ตามคติอินเดีย

2. เจตจำนงของวิชาปรัชญา กล่าวกันว่า “ผู้ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประวัติศาสตร์สามพันปีได้จะต้องหาเช้ากินค่ำตลอดไป” เพราะปราศจากความสามารถในการหยั่งถึงเป้าหมายของชีวิตอื่นๆ นอกจากการแสวงหาปัจจัยสี่ ก้าวแรกของการศึกษาปรัชญาคือพยายามเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ โดยตั้งคำถามและหาคำตอบแก่คำถามร่วมกันของมนุษย์ คือ “เราเป็นใคร?” และ “โลกคืออะไร?”

คำถามต่อตัวตนและสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นข้อสงสัยที่มนุษย์ในทุกวัฒนธรรมตลอดช่วงประวัติศาสตร์ เพื่อจัดความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับโลก ซึ่งรวมถึงมนุษย์คนอื่น สัตว์อื่น ดวงดาว ท้องฟ้า มหาสมุทร เช่น คติเรื่องจักรพรรดิ, สิทธิมนุษยชน, ชนเผ่าอารยันอันสูงส่ง? ฯลฯ “ธรรมชาติ” มีอย่างน้อยสามความหมายในสามช่วงเวลา เห็นได้ว่าความหมายและการจัดความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อ “โลก” นั้นแตกต่างไปตามความรู้และคำตอบในแต่ละช่วงเวลา

การตั้งคำถามต่อตัวตนและโลกไม่ง่าย เพราะมนุษย์เมื่อพอรู้ความแล้วย่อมเกิดความเคยชินต่อตัวตนและโลก ชาติไทยมีมาแต่ยาวนาน? มนุษย์เท่านั้นที่มีสิทธิ? ต้องใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม? ผู้พิพากษาดี ตำรวจเลว? นักปรัชญาจะต้องละทิ้งความเคยชินต่อตนเองและโลกเสียก่อน และมองโลกด้วยสายตาแบบทารก

อย่างไรก็ตาม เมื่อบุคคลละทิ้งความหมายของตัวตนและโลกที่เคยรับรู้ระหว่างนั้นย่อมชีวิตของบุคคลย่อมปราศจากความมั่นคง ปรัชญาทำหน้าที่สำคัญในระบบความคิดของมนุษย์ คือนิยามตนเอง และนิยามโลก โดยที่คำตอบในแต่ละวัฒนธรรม ในแต่ละยุคสมัยจะนำไปสู่การจัดความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ ความเป็นญาติ เชื้อชาติ (รัฐชาติ) ระบบการปกครอง (ศาล) ระเบียบสังคม ศาสนา (ยุติธรรม) ชีวิต สิทธิ ความตาย มรดก ฯลฯ

3. การแบ่งแขนงในวิชาปรัชญา การตั้งคำถามต่อตัวตนและโลก เช่น มนุษย์คืออะไรอยู่บนโลกไปทำไม ทีแท้เป็นการถามถึงความมีอยู่ของสรรพสิ่ง (Being) เริ่มจากคำถามพื้นฐานดังกล่าว มนุษย์คิดต่อจากคำตอบ (ชั่วคราว) ของเรื่องพื้นฐานนั้นไปสู่เรื่องอื่น เช่น มนุษย์จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคำตอบพื้นฐานนั้นเชื่อถือได้ บนฐานของคำตอบที่มนุษย์เชื่อ มนุษย์ควรสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นอย่างไร มนุษย์ควรอยู่เป็นคณะหรือไม่ มนุษย์ควรสัมพันธ์กับคณะอย่างไร

เครือข่ายของคำถามดังกล่าวเป็นพื้นฐานของการแบ่งขอบเขตความสนใจของปรัชญา ถามถึงการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง เนื้อแท้ ความหมาย เป้าหมาย  อภิปรัชญา ซึ่งบ่อยครั้งเป็นเรื่องเหนือโลก (Metaphysic) ถามถึงความจริงแท้/น่าเชื่อถือของคำตอบต่อคำถามต่างๆ  ญาณวิทยา เพราะเป็นการศึกษาเนื้อแท้ของ “ความรู้” เมื่อเชื่อถือความรู้บางอย่างแล้ว นำมาใช้จัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสังคม ว่าเรื่องใดทำได้ไม่ได้ เพราอะไร  จริยศาสตร์ ถามถึงคุณค่า และกฎเกณฑ์

บางครั้ง ในวิชาปรัชญามีการพูดถึงแขนงย่อยกลุ่มอื่น เช่น ตรรกะศาสตร์ คือวิชาว่าด้วยการใช้เหตุผล สามารถอยู่ในกลุ่มญาณวิทยาได้ เพราะเป็นเครื่องมือ/วิธีการตรวจสอบ “ความรู้” บางกรณีการเรียนรู้ไม่สามารถเกิดจากเหตุผลได้ เช่น การตรัสรู้ของพุทธแบบเถรวาทต้องมีการปฏิบัติรักษาศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น สุนทรียศาสตร์ บางครั้งอยู่ในกลุ่มจริยศาสตร์ได้ เพราะเป็นการศึกษาคุณค่าเหมือนกัน เช่นบางครั้งก็มีการประเมินความงามจากการใช้ประโยชน์ ความสมจริง ฯลฯ

ประติมากรรมแนว National Socialist โดย Josep Thorak

The Starry Night ของ Van Goah

รูปปั้นผู้หญิงไทยในอุดมคติใหม่ แต่งกายตามรัฐนิยม รูปร่างค่อนข้างใหญ่

ขลุ่ยทิพย์ ของ เขียน แย้มศิริ

4. นิติปรัชญาในวิชาปรัชญา การศึกษาปรัชญาอาจแบ่งตามขอบเขตของเนื้อหาและการประยุกต์ใช้ “ปรัชญา” โดยปกติศึกษาโลกทั้งใบ และมนุษย์ในทุกมิติ คำถามและคำตอบที่ได้จึงเป็น “ปฐมธาตุ” บ้าง “โลกของแบบ” บ้าง “ธรรมชาติของมนุษย์” บ้าง เรียกว่า “ปรัชญาบริสุทธิ์” บางกรณีก็มีปรัชญาเพื่อหาคำตอบอันเฉพาะเจาะจงหรือคาดหวังประโยชน์จากการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งเรียกกันว่า “ปรัชญาประยุกษ์” (applied philosophy)

ปรัชญาประยุกต์ เช่น เช่น ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการแพทย์ ฯลฯ แน่นอนว่ารวมถึงปรัชญากฎหมายด้วย อย่างไรก็ตาม ปรัชญาเหล่านี้มีท่าทีต่อปัญหาและลักษณะของคำถามอย่างเดียวกัน เช่น “คืออะไร” “เกิดขึ้นได้อย่างไร” “ทำไมต้องเกิดขึ้น” “แน่ใจได้อย่างไร” และ “สมควรหรือไม่” ฯลฯ คือภายในปรัชญาประยุกต์ก็มี อภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์เหมือนกับปรัชญาบริสุทธิ์ แต่จำกัดขอบเขตลงเท่านั้น

ขอบเขตที่ลดลง คือจากที่ปรัชญาศึกษาโลกทั้งใบ ปรัชญาประยุกต์จะศึกษาโลกของนักกฎหมาย โลกของวิศวกร ฯลฯ เช่น กฎหมายคืออะไร นักกฎหมายสัมพันธ์กับกฎหมายอย่างไร อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของนิติปรัชญา เพื่อจัดตำแหน่งแห่งที่ของกฎหมายกับนักกฎหมาย ไม่ได้เป็นผลประโยชน์ที่ผูกขาดเฉพาะวิชานิติปรัชญาเท่านั้น การรักในความรู้ (the love of wisdom) เกิดขึ้นได้ในทุกปริมณฑลของวิชาการ

เช่น วิชาประวัติศาสตร์ก็เป็นจัดตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์จากการผลิตเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต วิชาเศรษฐศาสตร์ก็เป็นการจัดตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์ในสังคมจากข้อจำกัดของทรัพยากร เป็นต้น นิติปรัชญาจึงไม่ต้องการให้นักเรียนกฎหมายยึดมั่นถือมั่น ศรัทธา งมงาย ในสัจธรรมหรือ “ความรู้อันประเสริฐ” แห่งกฎหมาย แต่เป็นกิจกรรมทางความคิด และแบบฝึกหัดในการคิดเพื่อเห็นความเป็นไปได้ที่กว้างขวางในการจัดความสัมพันธ์ในสังคมด้วยกฎหมาย

การบ้าน “ปรัชญา” และ “ประวัติศาสตร์ความคิด” เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ และเพราะอะไร “กฎหมายคือคำสั่งและคำบัญชาของรัฐ” เป็นคำอธิบายเชิงปรัชญาแขนงใด หรือเป็นความเชื่อมโยงกันระหว่างปรัชญาแขนงต่างๆ และเพราเหตุใด ส่งคำตอบมาที่ kitpatchara.s@cmu.ac.th ไม่มีคะแนนใดๆ ทั้งสิ้นสำหรับผู้ที่ส่งงาน