หน่วยที่ 3 เรื่องอาหารการกิน ดวงรัตน์ เจษฎาพิพัฒน์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

กลุ่มงานการบริการผู้ป่วยนอก งานบริการสุขภาพปฐมภูมิ
  * คนที่มีเลือดกรุ๊ป A ซึ่งมีแอนติเจน A และมีแอนติบอดี B สามารถรับ
แนวทางการจัดทำบัญชีสมดุลยางพารา
ประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทาน ประเทศที่นิยมรับประทาน
พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร.
การจัดการความรู้ KM.
โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
เครื่องเบญจรงค์.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
วิชาโครงการ รหัส & ระดับ ปวช. และ ปวส.
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
อาหาร พื้นเมือง (ภาคเหนือ)
เด็กหญิงรุ่งฟ้า ชูรุ่ง
ผัก.
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในไทย
中国是美食大国,中华饮 食文化博大精深、源远流 长,在世界上享有很高的 声誉。中国人讲吃,不仅 是一日三餐,解渴充饥, 还讲求精、美、情、礼。 在缤纷的中华美食中,哪 些是最受外国朋友喜爱的 “ 中华名小吃 ” 呢? รู้จักเมืองจีน 认识 中国.
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร
องุ่น สตอ เบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล แดง แอปเปิ้ล ชมพู แอปเปิ้ล เขียว แอปเปิ้ล เหลือง โกโก้ บลูเบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน ส้มมะปิด ( ส้มจิ๊ด ) สับปะรด แตงโม.
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ
งานนำเสนอ เรือง อาหารจีน
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ศาสนาคริสต์111
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
การปลูกผักอินทรีย์ดีต่อสุขภาพ กินผัก 5 สี ดีต่อสุขภาพ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
ปลาฉลามและนกชนิดต่างๆ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
การสัมมนาแนวทางการดำเนินงาน
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
10 ขนมหวานยอดฮิตจากทั่วโลก
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
การออกแบบและนำเสนอบทเรียน
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
ประเทศบรูไน จัดทำโดย ด.ญ.ธัชพรรณ วรรณภิละ ม.2/8 เลขที่ 11
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
บ้านหนองขาว ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยที่ 3 เรื่องอาหารการกิน ดวงรัตน์ เจษฎาพิพัฒน์ หน่วยที่ 3 เรื่องอาหารการกิน ดวงรัตน์ เจษฎาพิพัฒน์

อาหาร เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สะท้อนภาพชีวิตของคนในสังคม - กินเพื่อความอร่อย - กินเพื่อสุขภาพ - เพื่อเหตุผลทางสังคม

อาหารไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะ *มีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะ *มีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ *มีรสชาติกลมกล่อม *มีเครื่องปรุงและเครื่องเทศมากมาย

เครื่องเทศที่ใช้ในการปรุงอาหาร ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด ขมิ้น กระชาย หอม กระเทียม ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย มีหลายวิธี ได้แก่ มีหลายวิธี ได้แก่ 1.การตำ เป็นการนำอาหารหลายอย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกันเพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น กุ้งป่น พริกป่น ฯลฯ บางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ส้มตำ น้ำพริก ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 2.การยำ เป็นการนำผักต่าง ๆ เนื้อสัตว์และน้ำปรุงรสมาเคล้าเข้าด้วยกันจนรสผสมกลมกลืนเสมอกัน ยำของไทยมีรสหลัก 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลา รับประทานเล็กน้อย เพื่อให้ยำมี รสชาติดี ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 3.การแกง เป็นอาหารน้ำซึ่งใช้เครื่องแกงโขลกละเอียดนำมาละลายกับน้ำหรือน้ำกะทิให้เป็นน้ำแกง ใส่เนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผัก เช่น แกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 4.การหลน เป็นการทำอาหารให้สุกโดยใช้น้ำกะทิข้น ๆ มี 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน มีลักษณะน้ำน้อยรับประทานกับผักสดเพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลน ปลาร้า หลนปลาเค็ม หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 5.การปิ้ง เป็นการทำอาหารให้สุกโดยวางสิ่งของนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งข้าวเหนียว ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 6.การย่าง เป็นการทำอาหารให้สุกโดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อน ๆ หมั่นกลับไปกลับมาจนข้างในสุกและข้างนอกอ่อนนุ่ม/แห้งกรอบ ต้องใช้เวลานานอาหารจึงจะมีรสชาติดี เช่น หมูย่าง ปลาย่าง ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 7.การต้ม เป็นการนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุกใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้น ๆ เช่น ไก่ต้ม ไข่ต้ม ผักต้ม ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 8.การกวน เป็นการนำอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวมารวมกัน ตั้งไฟแรงปานกลางใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคนให้เร็วและแรงจนทั่วกัน จนกระทั่งข้นและเหนียว ใช้มือแตะไม่ติดมือ เช่น กาละแม เปียกปูน ตะโก้ ถั่ว ทุเรียน ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 9.จี่ เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยการทาน้ำมันน้อย ๆ พอให้ทั่วกระทะ แล้วตักอาหารใส่ กลับไปกลับมาจนสุกตามต้องการ เช่น ขนมแป้งจี่ ขนมบ้าบิ่น ฯลฯ

วิธีการปรุงอาหารไทย 10.หลาม เป็นการทำอาหารให้สุกในกระบอกไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่สด ๆ ตัดให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วบรรจุอาหารที่ต้องการในกระบอกไม้ไผ่นั้น ก่อนหลามต้องใช้กาบมะพร้าวห่อใบตองอุดปากกระบอกเสียก่อนแล้วนำไปเผาจนสุก เช่น การหลามข้าวหลาม ฯลฯ

อาหารไทยแท้กับอาหารไทยแปลง อาหารไทยแท้ คือ อาหารที่คนไทยทำมาแต่โบราณส่วนใหญ่เป็นแบบง่าย ๆ เช่น ข้าวแช่ ต้นโคล้ง แกงป่า น้ำพริก ฯลฯ ส่วนขนมไทย ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ เช่น ตะโก้ ลอดช่อง ขนมเปียกอ่อน

อาหารไทยแปลง คือ อาหารที่แต่งแปลงมาจากเทศ/ต่างประเทศ เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น แกงจืด (ต้มจืด) ฯลฯ ส่วนขนม มักจะมีส่วนผสมของไข่ เช่น ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองโปร่ง สังขยา เป็นต้น

อาหารตามเทศกาล/พิธีต่าง ๆ พิธีแต่งงาน อาหารคาวหวานที่มีความหมายเป็นมงคล ดังนี้ อาหารคาว เช่น ขนมจีน วุ้นเส้น อาหารหวาน เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองเอก ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ฯลฯ

ขนมหวานของไทย มีทั้งชนิดแห้งและน้ำ *ชนิดแห้ง เก็บไว้ได้นาน เช่น ขนมกลีบลำดวน ขนมโสมนัส ขนมหน้านวล ขนมทองม้วน ขนมผิง *ชนิดน้ำ นิยมรับประทานวันต่อวัน เช่น กล้วยบวชชี ลอดช่อง ข้าวเหนียวเปียกต่าง ๆ ฯลฯ

การอบขนมหวานของไทย มี 2 วิธี คือ มี 2 วิธี คือ 1.การอบแห้ง นำดอกไม้สด เช่น มะลิ กุหลาบ ใส่ ใส่ลงในภาชนะที่บรรจุขนมที่ทำสุกแล้ว ปิดฝาให้สนิท หรืออบควันเทียน ขนมที่นิยมอบดอกไม้สดหรือควันเทียน ได้แก่ ขนมกลีบลำดวน ข้าวตู ฯลฯ

การอบขนมหวานของไทย 2.การอบน้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ลงในภาชนะ นำดอกไม้สด เช่น มะลิ กุหลาบ ใส่ลงไปให้มีที่ว่างพอสมควร แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้าจึงหยิบดอกไม้ออก นำน้ำที่อบกลิ่นดอกไม้ไปทำขนมต่าง ๆ หรือทำ น้ำเชื่อม เพื่อให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน

เครื่องเทศสมุนไพรในอาหารประจำวัน เครื่องเทศ/สมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารของคนไทยมีหลายชนิด เช่น พริก พริกไท ตะไคร้ ข่า ขมิ้น มะกรูด มะนาว หัวหอม หัวกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า โหระพา ใบแมงลัก ฯลฯ

ผลไม้ไทย คนไทยนิยมรับประทานขนมหวานหรือผลไม้หลังอาหาร ผลไม้ไทย ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน ส้ม มะละกอ ละมุด ลำไย ขนุน แตงโม มะพร้าวอ่อน ส้มโอ ชมพู่ สละ ลองกอง ลางสาด ลิ้นจี่ ระกำ สับปะรด ฝรั่ง กล้วย มะม่วง มะปราง มะปริง ฯลฯ

อาหารไทยภาคเหนือ อาหารหลัก คือ ข้าวเหนียวและน้ำพริกชนิดต่าง ๆ อาหารหลัก คือ ข้าวเหนียวและน้ำพริกชนิดต่าง ๆ และเนื้อหมู หนังหมู ผักลวก/ผักต้ม *น้ำพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง *แกง เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค น้ำเงี้ยว *อื่น ๆ เช่น แหนม ไส้อั่ว แคบหมู ข้าวซอย รสชาติอาหาร รสกลาง ๆ มีเค็มเล็กน้อย

อาหารไทยภาคเหนือ * น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล แกงโฮะ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค แหนม ไส้อั่ว แคบหมู ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว

อาหารไทยภาคกลาง อาหารหลัก คือ ข้าวจ้าว รสชาติอาหาร : รสหวาน อาหารหลัก คือ ข้าวจ้าว รสชาติอาหาร : รสหวาน ลักษณะอาหาร คือ 1.ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ 2.เป็นอาหารที่มีการประดิษฐ์ 3.เป็นอาหารมีมักจะมีเครื่องเคียงของแนม 4. เป็นภาคที่มีอาหารว่างและ ขนมหวานมากมาย

อาหารไทยภาคกลาง *อาหารที่จัดเป็นชุดและเป็นที่นิยม เช่น ข้าวแช่ *อาหารที่จัดเป็นชุดและเป็นที่นิยม เช่น ข้าวแช่ ข้าวมันส้มตำ ข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนซาวน้ำ ขนมจีนน้ำพริก *เครื่องแนมที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม ปลาสลิดเค็ม ไข่เค็ม ผักดองสามรส ขิงดอง หอมแดงดอง หัวไชเท้าดองสามรส

อาหารไทยภาคกลาง ข้าวแช่ ข้าวมันส้มตำ ข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนซาวน้ำ ข้าวแช่ ข้าวมันส้มตำ ข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนซาวน้ำ ขนมจีนน้ำพริก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม ปลาสลิดเค็ม ไข่เค็ม ผักดองสามรส ขิงดอง หัวไชเท้า

อาหารไทยภาคกลาง *ผักที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ผักกระเฉดน้ำ ผักตับเต่า ดอกแค แตงกวา มะเขือยาว มะเขือม่วง ถั่วพู ชะอม ถั่วฝักยาว บวบ ฟักทอง ฟักเขียว ใบเล็บครุฑ ใบทองหลาง ใบบัวบก

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) *อาหารหลัก : ข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า นิยมปิ้งมากกว่าทอด *รสชาติ : เค็ม เผ็ด (จากพริกแห้ง) *รับประทาน : กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง อึ่งอ่าง ฯลฯ *อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น ไม่ใส่กะทิ

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) *เครื่องปรุงรสอาหารอีสาน ได้แก่ 1.ปลาร้า 2.ข้าวเบือ 3.ข้าวคั่ว 4.พริกป่น

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) *ผักที่คนอีสานนิยมรับประทาน ได้แก่ ผักติ้ว/ผักแต้ว ยอดจิก ผักแว่น ผักแขยง ผักเม็ก สายบัวเล็ก ผักชีน้ำ ผักแพว หน่อไม้รวก เห็ดป่า ฯลฯ

อาหารไทยภาคใต้ *อาหารหลัก : ข้าว อาหารทะเล *เครื่องเทศ : ขมิ้น (ดับกลิ่นคาว) *รสชาติ : เปรี้ยว เค็ม เผ็ด *รสเปรี้ยว : ส้มแขก น้ำส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก มะขามสด

อาหารไทยภาคใต้ *การถนอมอาหาร ได้แก่ กุ้งส้ม ปลาขี้เสียดแห้ง ปลาแป้งแดง ปลาเค็ม กุ้งแห้ง น้ำบูดู พุงปลา เนื้อหนาง ฯลฯ

อาหารไทยภาคใต้ *ผักเหนาะ/ผักเกร็ด ได้แก่ สะตอ สะตอเบา ลูกเนียง หน่อเหรียง ยอดยาร่วง ยอดมะกอก หยวกกล้วยเถื่อน ยอดหมุย เห็ดแครง อ้อดิบ ยอดมวง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต *อาหารภูเก็ตมีเอกลักษณ์โดดเด่น ที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ ดังนี้ ของคาว ได้แก่ หมูฮ้อง ยี่หูเอ่งฉ่าย โลบะ หมี่หุ้นปาฉ่าง หมี่ฮกเกี้ยน หมี่สั่ว หมี่ไทย น้ำชุบคั่ว น้ำชุบหยำ ข้าวยำภูเก็ต จับฉ่ายภูเก็ต ปอเปี๊ยะสด ของหวาน ได้แก่ ปาวหล้าง อาโป๊ง โอ๊ะเอ๋ว เกี่ยมโก๊ย ไส้ไก่ บ๊ะจ่าง กี่จ่าง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นหมี่หุ้นผัดซีอิ๊วโรยหน้าด้วยหอมเจียวกับกุยช่ายรับประทานกับน้ำซุปกระดูกหมู ที่ได้ชื่อว่าหมี่หุ้นป้าฉ่างเพราะ คนคิดสูตรอาหารนี้ขึ้นมาคือ ป้าฉ่าง ที่โรงหนังเฉลิมตัน(เดิม) ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกถนนเยาวราชตัดกับถนนดีบุก คนภูเก็ตจึงเรียกติดปากว่า หมี่หุ้นปาฉ่าง หมี่หุ้นป้าฉ่าง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นเส้นหมี่เหลืองกลม ใหญ่กว่าเส้นหมี่ธรรมดาลักษณะและขนาดใกล้เคียงเส้นโซบะของญี่ปุ่นนำมาผัดซีอิ้ว โดยมากมักผัดรวมกับหมู ไก่ และผักกวางตุ้ง ให้มีน้ำพอขลุกขลิก เสิร์ฟพร้อมกับผักกาดหอม หัวหอมแดง ผักกุ้ยช่าย อาจจะใส่ไข่ไปด้วยก็ได้ หากเป็นหมี่ฮกเกี้ยนแบบน้ำ ความอร่อยจะอยู่ที่น้ำซุป ซึ่งจะมีความหวานของกุ้งผสมอยู่ หมี่ฮกเกี้ยน

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นอาหารว่างยามบ่ายของคนภูเก็ต เป็นอาหารประเภทที่เน้นเครื่องในหมู เพิ่มเติมด้วย เต้าหู้ทอด และเกี้ยนทอด ซึ่งเป็นหมูบะช่อใส่เครื่องเทศจีนปรุงรสแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้ กินพร้อมน้ำจิ้ม โลบะ

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต ขนมจีนเป็นอาหารที่คนภูเก็ตส่วนใหญ่นิยมทานเป็นอาหารเช้า ทานกับน้ำแกง ชนิดต่างๆ อาทิ น้ำยาปักษ์ใต้ น้ำพริก แกงไตปลา แกงไก่ แกงเนื้อ แกงปู น้ำชุป(น้ำพริกกุ้งสด) เป็นต้น และต้องทานพร้อมกับผักเหนาะหลากหลายชนิด ทั้งผักสด ผักดอง แตงกวา สับปะรด มะเขือพวง มะเขือ ถั่วพลู ถั่วฝักยาว ใบแมงลัก และผักพื้นเมืองอื่นๆ นอกจากนี้ ยังนิยมทานกับไข่ต้ม ห่อหมก ปลาท่องโก๋ และทอดมันปลา (ชาวภูเก็ตนิยม เรียกว่าลูกชิ้น) ขนมจีนภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต อาหารพื้นเมืองอีกอย่างที่มีที่เดียวในประเทศไทย เป็นปลาหมึกฝานบาง ๆ ผัดกับหมูแดงในน้ำมัน โรยด้วยผักบุ้งหั่นฝอยราดด้วยน้ำซอส และโรยด้วยหมี่กรอบวางกุ้งชุบแป้งทอดอีกชั้นหนึ่ง ยี่หูเอ่งฉ่าย

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต หมี่สั่วเป็นเส้นหมี่ชนิดหนึ่งทำจากแป้งสาสี นิยมนำมาทำแกงจืดเรียกว่า ต้มจืดหมี่สั่ว โดยเส้นหมี่สั่ว เมื่อยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหาร จะมีลักษณะสีขาวเส้นเล็ก ๆ หักง่าย รสชาติออกเค็มเล็กน้อย เมื่อโดนน้ำแล้วจะมีลักษณะนิ่ม วิธีการรับประทาน มักจะใช้การลวกหรือต้ม ใส่หมูสับ เครื่องในหมู ไข่ไก่ ทานในลักษณะเดียวกับต้มจืด ในอดีตมักจะปรุงหมี่สั่วให้หญิงคลอดบุตรใหม่ ๆ รับประทาน เพื่อเป็นอาหารบำรุงร่างกาย มักจะขายพร้อมกับข้าวต้มหรือโจ๊ก หมี่สั่ว

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นอาหารว่างสายฮกเกี้ยนปีนัง มีลักษณะคล้ายหอยทอด แต่แป้งจะมีลักษณะนุ่มกว่า ใช้หอยติบหรือ หอยนางรมตัวเล็กและเผือกต้มสุกหั่นเป็นชิ้นขนาดลูกเต๋า เป็นเครื่องปรุงหลัก ผัดกับแป้งและไข่ บางคน เรียกว่า หอยทอดฮกเกี้ยน โอวต้าว

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นอาหารจานหลัก เนื้อหมูต้องนิ่ม แต่ไม่เหนียว ไม่เปื่อย รสหวานและเค็มนำเข้าถึงเนื้อหมู ทานเข้าปากแล้วจะหอมกระเทียมพริกไทย สำหรับเคล็ดลับความอร่อย คือ ต้องทำเยอะ ๆ ต้องเคี่ยวนาน ๆ ให้น้ำจากหมูออกมาผสมกับเครื่องหมักทั้งต่าวอิ๋ว ฉิ้วเฉ้ง หัวเทียม พริกไทย พอเค็ม ๆ และหวานบาง ๆ จากน้ำตาลกรวด หมูฮ้อง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เมนูสัญชาติจีน แต่ชื่อไทย นี้ เป็นอาหารที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ตทำกินกันมานานตั้งแต่สมัยอากงยังหนุ่ม อาม่ายังสาว โดยคน (จีน) ภูเก็ต เขานิยมทำหมี่ไทยนี้กินกันเป็นอาหารมื้อหนักตอนเที่ยง หรือตอนบ่าย ๆ หมี่ไทย

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต นึกถึงอาหารยอดนิยมของคนไทย ที่กินได้กินดี ทั้งเหนือ อีสาน กลาง ใต้ เลยไกลไปจนถึงต่างประเทศ คงจะไม่มีอะไรเกินหน้า “ส้มตำ” ไปได้ ยิ่งมีไก่ย่างกับข้าวเหนียว ร้อน ๆ เสริมด้วย ลาบ กับ ยำวุ้นเส้น อย่างละจาน ด้วยแล้ว… รู้สึกว่าทั้งคนอ่านกับคนเขียนจะพลอยน้ำลายสอ ไปตาม ๆ กัน ส้มตำภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต รสชาติแตกต่างไปจากข้าวยำปักษ์ใต้ คือ ข้าวยำภูเก็ต จะไม่ใส่น้ำบูดู และมีรสเผ็ดของพริกไทยอยู่ด้วย เครื่องปรุงที่จะใช้คลุกกับข้าวสวย ได้แก่ พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กะปิ พริกไทยเม็ด ปลาฉิ้งฉ้าง และกุ้งแห้ง เมื่อนำเครื่องปรุงมาโขลกให้เข้ากันแล้ว นำมาคลุกกับข้าวสวย ใบมะกรูด และใบกระพังโหมหั่นเป็นเส้นบางๆ ปรุงรสด้วย น้ำตาล น้ำปลา ให้มีรสเผ็ดนำเล็กน้อย และรับประทานกับถั่วงอก แตงกวา และถั่วฝักยาว ข้าวยำภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นอาหารพื้นเมืองของภูเก็ต มีลักษณะคล้ายสลัดผักหรือสลัดแขก นิยมทานเป็นอาหารว่างยามบ่าย ประกอบไปด้วย ผักกาดหอม ไข่ต้ม มะเขือเทศ เต้าหู้เหลืองทอด แตงกวา มันแกว แครอท หมี่กรอบ เวลาทานจะมีน้ำจิ้มราดแล้วคลุกรวมกัน ฮูแช้

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต หรือชาวภูเก็ตเรียกว่า น้ำชุบหยำ เป็นน้ำพริกที่มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด และหวานเล็กน้อย มีลักษณะเป็นน้ำ ประกอบด้วยน้ำมะนาว และเนื้อมะนาว ที่ปลอกเปลือกออกแล้ว ผสมกับน้ำกุ้งและเนื้อกุ้งลวก ใส่กะปิเล็กน้อย เติมพริกขี้หนูซอย และ หอมแดงแล้วขยำให้เข้ากัน น้ำพริกภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต ใช้ส่วนผสมเดียวกันกับน้ำพริกธรรมดา มีส่วนผสมคือ กุ้งเสียบ พริกขี้หนู กระเทียม หอมแดง น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย น้ำปลา น้ำมะนาว กะปิใช้วิธีตำหยาบ ๆ และใส่กุ้งเสียบ ลงไปคลุกเคล้าจนได้ที่ โรยกุ้งเสียบ 2-3 ตัว กินกับผักสดคลุกข้าวสวยร้อน ๆ มีผักสดแกล้มด้วยอร่อยแบบชาวภูเก็ต น้ำพริกกุ้งเสียบ

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต ส่วนประกอบหลักของเบือทอดคือ กุ้งและหญ้าช้อง(สันตะวาใบข้าว) ใบชะพลู หรือใบเล็บครุฑ โดยจะนำใบไม้ มาชุบแป้งที่ผสมเครื่องเทศ นำกุ้งโรยหน้าแล้วนำไปทอด กินกับน้ำจิ้มรสหวานและเผ็ดเล็กน้อย หรืออาจประยุกต์ใช้ผักพื้นบ้านชนิดอื่นๆ มาทอดแทนก็ได้ เช่น ผักเหมียง ผักหวาน มันปู เป็นต้น เบือทอด

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต อาจาดมีลักษณะเหมือนยำใหญ่แต่ทำเป็นแกง เป็นการนำเอาเครื่องแกง ละลายในน้ำกะทิ ผสมกับน้ำมะขามเปียก ตั้งไฟให้เดือด ใส่แตงกวา หั่นยาว(นำไปขยำ กับเกลือแล้วผึ่งแดดให้แห้งก่อน) ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง เมื่อเดือดได้ที่ดีแล้วก็ใส่ถั่วลิสงคั่วและงาลงไป รสชาติหวาน เปรี้ยว เค็ม อาจาดภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต บ๊ะจ่าง : บ๊ะจ่างเป็นข้าวเหนียว ที่นำไปผัดกับซีอิ้ว แล้วนำมาห่อ ด้วยใบจ่าง(ใบจากตากแห้ง) โดยยัดไส้หมู กุ้งแห้ง และไข่ ไว้ข้างใน กี่จ่าง : กี่จ่าง หรือขนมจ้าง ทำจากข้าวเหนียวแช่น้ำด่างห่อใบไผ่นึ่ง รสชาติหวานนิด ๆ รับประทานกับน้ำตาลทราย อาจาดภูเก็ต กี่จ่าง บ๊ะจ่าง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต ปอเปี้ยะสดที่ภูเก็ต จะเป็นปอเปี้ยะสดแบบจีนฮกเกี้ยน ปอเปี้ยะสดฮกเกี้ยนนี้ มีอยู่ตั้งแต่ ภูเก็ต ปีนัง กัวกาลัมเปอร์ และ สิงห์โปร์ เพราะย่านนี้มีชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนอพยพมาอยู่ภูเก็ต มีปอเปี้ยะสดดังอยู่ 2 แห่ง ที่ ปอเปี้ยะสดลกเที้ยนและปอเปี้ยะสดหล่อโรงทั้ง 2 ร้านนี้ เป็นพี่น้องกันเดิมรุ่นพ่อจะมีแผงขายอยู่ที่โรงหนังเฉลิมตันย่านลกเที้ยน  กิจการก็ได้สืบทอดมาสู่รุ่นลูก เลยแยกออกมาเปิดอีกแห่งที่ ตลาดหล่อโรง เป๊าะเปี๊ยะสดภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต อิ่วปึ่ง คือ ข้าวเหนียวผัดกับกุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาวและดำ แบบจีนฮกเกี้ยน โรยหน้าด้วยหมูแดงและหอมเจียว มีไข่ต้มเป็นเครื่องเคียง อิ่วปึ่งภูเก็ต

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เป็นชื่อของหอยทะเลชนิดฝาเดียวเปลือกบางชนิดหนึ่ง โดยมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ขนาดเล็ก บางทีจึงเรียกว่า หอยสังข์ตีนเดียว หอยชักตีนเป็นหอยที่ขูดกินสาหร่ายและซากอินทรียสารต่างๆ เป็นอาหาร การสืบพันธุ์เป็นแบบผสมภายใน โดยมีเพศผู้ เพศเมียแยกกัน จับคู่ผสมพันธุ์กัน หอยชักตีนมักจะชอบอาศัยอยู่ตรงบริเวณชายหาดโคลนผสมกับทราย สามารถนำมารับประทานได้ เป็นหอยขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่ หอยชักตีน

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต โอ้เอ๋ว : โอ้เอ๋ว เป็นขนมหวานทำมาจากกล้วยน้ำว้า ขยำกับเมล็ด โอ้เอ๋ว (เมล็ดสีขาวนำมาจากเมืองจีน) ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งใส กินแก้ร้อน และ ลดการกระหายน้ำ โอ้เอ๋ว

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เกี่ยมโก้ย : เกี่ยมโก้ย เป็นขนมรูปถ้วย สีขาว ขนาดประมาณถ้วยน้ำพริก รสชาติเค็ม ทำจากแป้งข้าวเจ้า โรยหน้าด้วยหอมเจียว ต้นหอม และกุ้งแห้งทอด กินกับน้ำจิ้มรสชาติเปรี้ยว-หวาน เกี่ยมโก้ย

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต ตู่โบ้ : ตู่โบ้ หรือรวมมิตร กะทิ เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยมันต้ม เผือก ฟักทอง และถั่วแดง เม็ดเล็กๆ (คนภูเก็ตเรียกว่า ถั่วย้อแย้) ตู่โบ้

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต เปาล้าง : เปาล้างคือข้าวเหนียวปิ้งไส้มะพร้าว ผสมกับกุ้ง พริกไทยและหัวเปราะ คาดว่าเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพล มาจากมาเลย์ เพราะที่มาเลเซีย ก็มีขนม ชนิดนี้เหมือนกัน เปาล้าง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต โกสุ้ย : โกสุ้ย หรือโก่ซุ้ย เป็นขนมถ้วย ทำจากน้ำตาลแดง ตัวขนมมีสีน้ำตาล รสหวาน ลักษณะเหนียวหนึบหนับ กินกับมะพร้าวขูด โกสุ้ย

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต ฉ้ายถาวโก้ย : ฉ้ายถาวโก้ย เป็นขนมชนิดหนึ่ง มักทำกินกันในงานแต่งงาน ทำจากหัวไชท้าว ผสมกับแป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว ใส่หมู ไข่ น้ำตาล หัวเปราะ พริกไทย ผสมเข้าด้วยกันแล้วนำไปนึ่ง สุกแล้วโรยถั่วลิสง ต้นหอมหั่นฝอย มีกลิ่นของหอมและหัวเปราะ ฉ้ายถาวโก้ย

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต    “อาโป๊ง” หรือ บางคนจะออกเสียง "อาโป้ง" เป็นขนมพื้นเมืองที่ขึ้นชื่ออีกอย่างของภูเก็ต นิยมรับประทานเป็นอาหารว่างคู่กับชา กาแฟ ในภูเก็ตมีร้านขายขนมอาโป๊งที่อร่อยๆ อยู่หลายร้านด้วยกัน ซึ่งแต่ละร้านมีเคล็ดลับความอร่อยเฉพาะตัว แต่ที่คอลัมน์ “เมนูเด็ดแดนใต้” จะขอแนะนำนั้น เป็นร้านที่ผู้เขียนได้ชิม และแวะไปอุดหนุนหลายครั้งหลายคราแล้วติดอกติดใจในความกรอบ หอมกะทิ และหวานนิดๆ ของขนมอาโป๊งร้านนี้ เป็นอีกร้านที่เก่าแก่เปิดขายมานาน และเป็นที่รู้จักของชาวภูเก็ตเป็นอย่างดี อาโป๊ง

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต    ขนมพริก : ขนมพริกเป็นขนมคล้ายคุกกี้ แต่มีส่วนผสมของพริกไทย รสชาติหวาน และมีรสเผ็ดร้อนของพริกไทยเล็กน้อย ขนมพริก

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต    ยังมีอาหารอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ เช่น เคยเค็มอึก หมูผัดต่าวหยู้ แกงตู้มี้ ฯลฯ ขนมหวาน เช่น บี้ถ่ายบาก ขนมเต่า ขนมสี่ขา กีโก้ย บั้นเจียนโก้ย ฉายถาวโก้ย ฮวดโก้ย ฯลฯ

ขอให้นักเรียนทุกคนโชคดี