ผลตอบแทน ผลตอบแทน
ผลตอบแทน ผลตอบแทน
ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ) ผู้บริโภค ผู้ผลิต สินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ
ประเภทของระบบเศรษฐกิจ เสรีนิยม Free Enterprise Economics System Economics System สังคมนิยม Socialist Economics System ประเภทของระบบเศรษฐกิจ ผสม Mixed Economics System
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) เอกชนมีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐไม่เข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปโดยผ่าน กลไกราคา (Price mechanism) หรือ ระบบตลาด
กลไกราคา (Price mechanism) ผลิตอะไร ? ราคาสินค้าเป็นตัวจูงใจผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ? เลือกวิธีการผลิตที่ต้นทุนต่ำสุด ผลิตเพื่อใคร ? รายได้ของบุคคลเป็นตัวกำหนด
ข้อดี ให้เสรีภาพในแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ และให้สิทธิเอกชนในการสะสมทรัพย์สิน กลไกราคาทำให้การตัดสินใจผลิตสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของสังคม การแข่งขันโดยเสรีช่วยป้องกันมิให้ผู้ผลิตหากำไรเกินควร การแข่งขันทำให้เกิดการปรับปรุงวิธีการผลิตอยู่เสมอ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย กิจกรรมบางอย่างใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจไม่ได้ เช่น สินค้าสาธารณะ นายทุน หรือผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสามารถเอาเปรียบผู้บริโภคและแรงงาน ทำให้การกระจายรายได้และการจัดสรรทรัพยากร ไม่ทั่วถึง การแข่งขันทำให้รายย่อยไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ เกิดการผูกขาดจากผู้ผลิตรายใหญ่มีทุนมากและอำนาจต่อรองสูง ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น รายได้แรงงานลดลง สวัสดิการสังคมโดยรวมลดลง
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หรือระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planned Economy) ทรัพยากรของประเทศเป็นของรัฐ รัฐเป็นผู้วางแผนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อตอบปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ ไม่ใช้กลไกราคา ราคาถูกกำหนดตามนโยบายของรัฐ ไม่เกิดการแข่งขันเสรีเนื่องจากราคาไม่ใช่สิ่งจูงใจ
ข้อดี ถ้ารัฐดำเนินการได้มีประสิทธิภาพ จะทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการเป็นประโยชน์แก่คนส่วนรวมมากที่สุด ทำให้การจัดสรรทรัพยากรและการกระจายรายได้เป็นธรรม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างช้า ๆ และมี เสถียรภาพ การผูกขาดโดยผู้ผลิตแต่ละรายไม่เกิดขึ้น และไม่มีการแข่งขันเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน
ข้อเสีย ขาดแรงจูงใจให้ผลิตเต็มความสามารถ เพราะเอกชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ไม่เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพราะขาดการแข่งขัน ผู้บริโภคไม่มีเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากอยู่ภายใต้ขอบเขตที่รัฐผลิต อาจก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ หากผลิตสินค้าที่สังคมไม่ต้องการ ไม่ก่อให้เกิดความพอใจสูงสุดแก่สังคม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เอกชนมีสิทธิในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ รัฐเข้าไปควบคุมกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญ ที่เอกชนไม่ลงทุนเพราะต้องลงทุนมากและกำไรน้อย เช่น ประปา ไฟฟ้า และผลิตสินค้าสาธารณะ รัฐดูแลควบคุมให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปโดยราบรื่น
ข้อดี ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ตามความพอใจ ธุรกิจมีเสรีภาพในการผลิต และกลไกราคาทำงานได้ ทำให้เกิดการพัฒนา ลดบทบาททุนนิยม โดยรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวม และออกกฎหมายคุ้มครองการเอารัดเอาเปรียบในสังคม
ข้อเสีย การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและอำนาจต่างๆ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ทำให้ธุรกิจขาดความมั่นในการลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบาย
คำถาม 1.ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง จงบอกผลตอบแทนกับการเป็น เจ้าของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด 2.จงอธิบายคำว่า “ ระบบเศรษฐกิจ” และความสำคัญของระบบเศรษฐกิจ อย่างละเอียด 3.ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบและข้อดี ข้อเสีย 4.ในแต่ละระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจอะไรบ้าง แต่ละหน่วยเศรษฐกิจมีหน้าที่อะไร 5.จงแสดงความเห็นว่าทำไมระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จึงล่มสลาย 6.เหตุใดรัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทและควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม 7.ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบใด เหมาะสมหรือไม่ อธิบาย 8.จากความรู้เรื่องระบบเศรษฐกิจ ท่านคิดว่าระบบใดดีที่สุด 9.จงบอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ 10.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค