แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคล Individualized Education Program (IEP)
ความหมาย แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของคนพิการ ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ลักษณะทั่วไป IEP เป็นแผนการจัดการศึกษาที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยคณะ IEP หรือที่ประชุมเฉพาะกรณีเกี่ยวกับเด็ก IEP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการตรวจสอบการสอนทั้งหมด
ประโยชน์ ผู้เกี่ยวข้องทุกคนตระหนักและรับผิดชอบ ต่อการจัดการศึกษาและผลของการจัดการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องทุกคนเกิดความเข้าใจว่าเด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการต้องการการศึกษาเฉพาะบุคคล พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับบริการทางการศึกษา
ประโยชน์ (ต่อ) IEP ช่วยให้ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางในการจัดหาหรือจัดบริการเสริมได้อย่างเหมาะสม IEP นับได้ว่าเป็นการประกันว่าการจัดการศึกษาที่จัดให้เป็นแนวทางที่มี ประสิทธิภาพ
การเตรียมจัดทำ IEP ๑. การรวบรวมข้อมูล · ข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลส่วนตัว · ข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ/ ความบกพร่อง ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์
การเตรียมจัดทำ IEP (ต่อ) ๒. การประเมินความสามารถ · ข้อมูลความสามารถปัจจุบัน (จุดเด่น จุดอ่อน)จากการประเมินผล โดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมินพัฒนาการ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ เกี่ยวกับ: พัฒนาการด้านต่างๆ ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียน
คณะผู้จัดทำ IEP* คณะกรรมการจัดทำ IEP มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน แต่ไม่เกิน ๗ คน โดยบุคคล (หลัก) ๓ คน คือ - ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย - บิดา มารดา / ผู้ปกครอง - ครูประจำชั้น / อาจารย์ที่ปรึกษา (เลขาฯ) และ กรรมการอื่น ได้แก่ ครูการศึกษาพิเศษ นักวิชาการ / นักวิชาชีพ ผู้เรียน
ขั้นตอนการทำงานของ คณะกรรมการจัดทำ IEP ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ ดังต่อไปนี้ - ประเมินระดับความสามารถในปัจจุบัน และความต้องการจำเป็นพิเศษ - วางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล - ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมินการดำเนินการ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ๒. ประชุมเพื่อจัดทำ IEP ๓. คณะกรรมการลงนามใน IEP ๔. บิดามารดา/ผู้ปกครองหรือผู้เรียนลงนาม
ส่วนประกอบของ IEP ก่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๑)ข้อมูลทั่วไป (๒) ข้อมูลด้านการศึกษา (๓) การวางแผนการจัดการศึกษา · ระดับความสามารถในปัจจุบัน · เป้าหมายระยะยาว ๑ ปี · จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม · การประเมินผล · ผู้รับผิดชอบ
ส่วนประกอบของ BOs สถานการณ์ (Condition): เหตุการณ์ที่ระบุสภาพแวดล้อม สื่อวัสดุอุปกรณ์ เงื่อนไขความช่วยเหลือ (เมื่อ/ขณะ/หลังจาก.........) พฤติกรรม (Behavior): ระบุตัวบุคคลและพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจน (นักเรียน(ชื่อ)จะ.............) เกณฑ์การประเมินผล (Criteria): ระดับความสามารถที่กำหนดว่าผู้เรียนเกิดทักษะ โดยระบุความถี่และปริมาณที่แสดงความถูกต้อง เมื่อ/หลังจาก........น.ร.(ชื่อ)จะ........ได้.......
ลักษณะของ BOs ที่ดี มีความชัดเจน (Specific: S) สามารถวัดได้ (Measurable: M) มีเกณฑ์ที่ผู้เรียนสามารถทำได้จริง (Achievable: A) มีความเหมาะสมกับผู้เรียน (Relevant: R) มีกำหนดเวลาที่แน่นอน (Time bound: T)
ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง ด.ช.น่านน้ำจะบอกชื่อจังเหวัดที่อยู่ชายแดนของแต่ละภาคได้ ถูกต้องทั้งหมดทุกครั้งภายในเวลา ๑ เดือน หลังจากจบบทเรียนเรื่องสัญญาณไฟจราจร ด.ญ.น่านน้ำจะบอกความหมายของสีแต่ละสีของสัญญาณไฟจราจรได้ ถูกต้องอย่างน้อย ๔ ใน ๕ ครั้ง ในเวลา ๓ นาที ภายใน ๑ สัปดาห์ หลังจากครูอธิบายลำดับขั้นตอนในการกรอกลูกอมใส่ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ด.ญ.ฟ้าครามจะปฏิบัติตามทุกขั้นตอนในเวลา ๒ นาที ได้ถูกต้องทุกครั้งภายใน ๒ วัน
ส่วนประกอบของ IEP สพฐ. (ต่อ) (๔) ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา รายการและรหัส ผู้จัดหา (ผู้ปกครอง สถานศึกษา สถานพยาบาล) วิธีการ ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อจัดซื้อ (ข) (ค) ขอยืมสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อทางการศึกษา (ก) ขอยืมเงินเพื่อจัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และบริการทางการศึกษา (ก) (ค) จำนวนเงินที่ขออุดหนุน เหตุผลและความจำเป็น ผู้ประเมิน
ส่วนประกอบของ IEP สพฐ. (ต่อ) (๕) คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (๖) ความเห็นของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ เครื่องมือ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร อาคารสถานที่ เช่น แว่นขยาย เครื่องช่วยฟัง ทางลาด
สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เกิดความเข้าใจดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น เช่น เครื่องพิมพ์ดีดเบรลล์ หนังสือแถบเสียง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บริการ/ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา บริการ: บริการเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ บริการบำบัดฟื้นฟู บริการฝึกอบรม เช่น กายภาพบำบัด การแก้ไขการพูด ล่ามภาษามือ การอบรมทักษะพื้นฐาน ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา: การปรับเนื้อหา/สื่อการสอน/เทคนิคการสอน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ IEP เป็นรายละเอียดการจัดแผนการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงานของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ระบุบริการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้เรียนตลอดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผน ระบุช่วงเวลาและความถี่ที่ผู้เรียนอยู่ในชั้นเรียนปกติและชั้นเรียนพิเศษ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ IEP (ต่อ) ระบุวันเริ่มต้น วันสิ้นสุด และวันที่จะทบทวนการดำเนินงานตามแผน ระบุสิ่งที่ผู้จัดทำแผนคาดหวังว่าผู้เรียนจะได้รับการพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบุบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามแผน ระบุความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน
แผนการสอนเฉพาะบุคคล Individual Implementation Plan [IIP] ความหมาย แผนการสอนที่จัดขึ้นเป็นเฉพาะบุคคลสำหรับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์แลเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IIP)
กระบวนการจัดทำ IIP กำหนดทักษะที่จะสอนโดยการตรวจสอบ : สอนอะไร กำหนดองค์ประกอบและสถานการณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ : สอนอย่างไร วางแผนการสอน : จัดทำ IIP เริ่มต้นการสอน : สอน – ทดสอบ – สอน
ส่วนประกอบของ IIP ชื่อผู้เรียน เนื้อหา/ทักษะที่สอน สาระที่จะสอนผู้เรียน เพียง ๑ เรื่อง/ทักษะ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ลำดับขั้นของทักษะหรือจุดประสงค์ย่อย ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้ที่นำไปสู่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและเป้าหมายระยะยาวที่ระบุไว้ใน IEP
ส่วนประกอบของ IIP (ต่อ) วิธีสอน/สื่อ วิธีการดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสื่อประกอบการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้ใน IIP สิ่งเสริมแรงที่ใช้ สิ่งเสริมแรงและเงื่อนไขการเสริมแรงที่เหมาะกับผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล การประเมินผล สิ่งที่กำหนดว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามศักยภาพ และเป็นวิธีการที่สามารถวัดได้
ขั้นตอนและวิธีการสอน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนคาดเดากิจกรรมที่จะทำ ขั้นสอน อธิบาย แสดง สาธิต สอบถามความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติโดยลงมือปฏิบัติพร้อมกัน และ ปฏิบัติด้วยตนเอง
ขั้นตอนและวิธีการสอน (ต่อ) ขั้นสรุปและประเมินผล ตรวจผลงาน/การปฏิบัติงาน ทบทวนบทเรียนร่วมกัน สอบถามความเข้าใจ
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังจากการสอน บันทึกผลหลังการจัดการเรียนการสอน / กิจกรรม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตาม IEP นำผลมาประกอบการพิจารณากำหนด จุดมุ่งหมายใหม่ ปรับวิธีสอน และกิจกรรม การเรียนการสอน