การเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
เลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสม
ทำไมต้องเลือกคอมพิวเตอร์? เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถ ประมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่า จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานด้านใด
การเลือกคอมพิวเตอร์ การเลือกชื้อคอมพิวเตอร์ ก่อนอื่นผู้ซื้อควรคำนึงวัตถุประสงค์หลัก หรือความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ ในด้านต่าง ๆ ของตนเองไม่ว่าจะเป็นสำหรับการทำงาน หรือเพื่อความบันเทิง เนื่องจากงานต่างๆ จะมีส่วน สำคัญในการพิจารณาเลือกชื้ออุปการณ์ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ผู้ใช้ทั่วไปนิยมกำหนด รายละเอียดและเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงตามความต้องการ มากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการควบคุมงบประมาณในการซื้อได้อีกทางหนึ่งด้วย เราอาจจำแนกคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์สำหรับงานเอกสาร สำนักงาน ออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 3 ประเภทได้ดังนี้ 1.คอมพิวเตอร์สำหรับงานเอกสาร สำนักงาน คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะงานทั่วๆไป เช่นการพิมพ์งาน การดูหนัง ฟังเพลง และการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งงานเหล่านี้ สามารถเลือกส่วนประกอบในระดับราคาประหยัด จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามต้องการในระดับราคาที่ประหยัด
งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับจัดการด้านเอกสารรายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ดูภาพยนตร์ หรือสื่อทางการศึกษา ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ซอฟแวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟแวร์ประมวลคำ และซอฟแวร์ตารางทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูงคือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB อาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ประมาณ17-19 นิ้วเพื่อถนอมสายตา เนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา
เช่น CPU : ใช้ Sempron, Athlon XP หรือ Celeron II ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป ( ในปัจจุบันต่ำกว่า 1 GHz หาซื้อตามร้านทั่วไปแทบไม่ได้แล้ว ) RAM : DDR-SDRAM ขนาด 128 MB ขึ้นไป หรือ 256 MB ถ้าเป็น Windows XP Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย เพื้อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้นไป ( ปัจจุบันถ้าต่ำกว่า 40 GB หาซื้อยากแล้ว ) จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว แต่ให้เน้นการรับประกัน Printer : ใช้แบบ Inkjet ยี่ห้ออะไรก็ได้ แต่ให้เน้นการรับประกันและราคาหมึกพิมพ์ที่ถูก อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ
2.คอมพิวเตอร์สำหรับความบันเทิง 2.คอมพิวเตอร์สำหรับความบันเทิง คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ในระดับคุณภาพเสียงแบบดิจิตอลหรือเล่นเกมส์แบบ 3 มิติโดยเฉพาะ ซึ่งจะนิยมเลือกส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง รวมทั้งปัจจุบันเกมส์ใหม่ ๆ ที่ออกมา ล้วนแล้วแต่มีความต้องการทรัพยากรของเครื่องสูง ๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่ CPU, RAM และที่สำคัญที่สุดคือ การ์ดจอ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงทุนสูง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรองรับเกมส์ใหม่ ๆ ได้
งานความบันเทิง ตั้งแต่ CPU, RAM และที่สำคัญที่สุดคือ การ์ดจอ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงทุนสูง เพื่อให้ได้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรองรับเกมส์ใหม่ ๆ ได้
เช่น CPU : ใช้ Athlon 64, Athlon XP หรือ Pentium 4 ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 2 GHz ขึ้นไป RAM : DDR-SDRAM ขนาด 256 MB ขึ้นไป Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย ถ้าไม่มีอาจหาซื้อมาได้ตามความต้องการ Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้น VGA Card : หรือการ์ดจอ ที่ใช้ เช่น Geforce 4 Ti4200 ขึ้นไป Geforce FX5200 ขึ้นไป และ ATi Radeon 9000 ขึ้นไป เป็นต้น ที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ดตั้งแต่ 128 ขึ้นไป Sound Card : หรือการ์ดเสียง ใช้เป็น SoundBlaster Live DE5.1 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ลำโพง : ใช้เป็นำโพงแบบ 2.1 หรือ 5.1 Channel ก็ได้ จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว
3.คอมพิวเตอร์สำหรับงาน กราฟฟิกการออกแบบ 3.คอมพิวเตอร์สำหรับงาน กราฟฟิกการออกแบบ คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในระดับมืออาชีพ เช่น วิศวกร สถาปนิกออกแบบอาคาร Graphic Designer หรือต้องการตัดต่อภาพยนตร์ซึ่งผู้ซื้อที่มีความต้องการในระดับนี้มักจะมีงบประมาณในการเลือกซื้อที่มากเพียงพอในการเลือกซื้ออุปกรณ์รวมถึงอุปกรณ์เฉพาะด้าน ตามที่ต้องการจึงทำให้ราคานั้นอาจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น ตัดต่อวีดิทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีภาพกราฟิกสูง งานทางด้านนี้ โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเครื่องมักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการทรัพยากรของเครื่องสูง เช่น โปรแกรม Photoshop, Illustrator, CoreIDRAW, AutoCAD และ 3Dmax Studio เป็นต้น ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรต้องมีคุณสมบัติที่สูงตามนั้นด้วย และงานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณ และแสดงภาพและควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์จะต้องใช้เวลาในการประมวณผลนานถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มต้นงานใหม่
เช่น CPU : ใช้ Athlon 64, Athlon XP หรือ Pentium 4 ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 1.5 GHz ขึ้นไป RAM : DDR-SDRAM ขนาด 256 MB ขึ้นไป Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย เพื้อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้น VGA Card : หรือการ์ดจอ ที่ใช้ เช่น Geforce 2 MX400 ขึ้นไป Geforce 4 MX440 ขึ้นไป และ Matrox G450 ขึ้นไป เป็นต้น ที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ดตั้งแต่ 64 ขึ้นไป จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว แต่ให้เน้นการรับประกัน ตามที่ต้องการ DVD-ROM : ความเร็ว 16x ขึ้นไป CD-RW : มีคุณสมบัติ เขียน / เขียนซ้ำ / อ่าน ที่ความเร็ว 24x10x40x ขึ้นไป อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ
การรับประกันสินค้า
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง คือ Seagate และ Quantum ซึ่งนำเข้าโดยบริษัทอินแก รมและดีคอมพิวเตอร์ ซึ่งฮาร์ดดิสก์ของทั้งสองบริษัทดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้กัน มาก เนื่องจากมีราคาถูกและแข็งแรงทนทานประกอบกับการรับประกันนานถึง 3 ปี ถ้าเสียหายใน 1 เดือนแรก บริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ให้ทันที การ รับประกันโดยทั่วไปไม่ครอบคลุมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้ เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือเสียบเพราะทำหล่นหรือกระแทกอย่างแรง
- เมนบอร์ด (Main board) ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันขั้นต่ำ 1 ปี แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงจะมี การรับประกันถึง 3 ปี ซึ่งมีราคาสูงกว่าเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาในการ รับประกัน ซึ่งจะรับประกันในกรณีที่เสียจากการใช้งานตามปกติเท่านั้น ไม่รวมถึง ความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของเราเอง เช่น ไหม้ เนื่องจากเสียบ แหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดลงไปอย่างแรงทำให้เมนบอร์ดหักหรือลายวงจร ขาด เป็นต้น โดยทั่วไปถ้าเมนบอร์ดเสียภายในเวลา 1 เดือนร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ (Clamed) ถ้าเสียหายหลังจากนั้นทางร้านจะส่งซ่อมโรงงาน และให้เรามารับกลับ เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว
- ซีพียู (CPU) ซึ่งซีพียูที่มีชื่อเสียง คือ Intel , AMD , VIA ซึ่งซีพียูของทั้งสามบริษัทนี้ มีการรับประกันสินค้า 3 ปี ส่วนซีพียูที่นำเข้าโดยผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ มีการ รับประกันเพียง 1 ปี ดังนั้นก่อนซื้อควรพิจารณาดูให้ดี แต่ตามปกติแล้วซีพียู มักจะเสียหายยากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ นอกจากเราจะทำการโอเวอร์ล็อกมาก เกินไปจนทำให้เกิดความร้อนสูง หรือในกรณีที่เราเสียบขาซีพียูลงใน Slot หรือ Socket ผิดด้าน จะทำให้ซีพียูไหม้ ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันเช่นเดียวกับ เมนบอร์ด โดยทั่วไปถ้าซีพียูเสียหายภายใน 1 เดือน ทางร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ แต่ ถ้าเสียหายหลังจากนั้นทางร้านจะส่งคืนโรงงานรอการเคลมประกันต่อไป
- หน่วยความจำหรือแรม (RAM) จะแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ เกรดดีจะมีการรับประกันตลอดอายุการใช้ งาน (Livetime Warranty)ประเภทนี้จะมีราคาแพงกว่าแรมชนิดอื่น ซึ่งมักจะ เป็นแรมเกรดทั่วไปที่รับประกันเพียง 1 ปี แต่แรมชนิดทั่วไปนี้จะมีราคาถูกกว่า แรมเกรดดีมาก
- ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ส่วนใหญ่มีการรับประกัน 1 ปี บางยี่ห้อซึ่งมีราคาถูกมากจะรับประกัน เพียง 1 เดือนเท่านั้น
ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกัน 1 ปี แต่ถ้าหากเสียหาย หรือมีปัญหาก็ให้รีบส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าใหม่ ถ้าหลังจากนั้นคงต้องส่งเคลมประกันที่ โรงงานและมารับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ
การ์ดจอ และการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภทนี้มักไม่เสียง่าย แต่จะมีปัญหาใน เรื่องของการเสียบการ์ดไม่แน่น ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอเท่านั้น
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ซึ่งแหล่งจ่ายไฟบางครั้งมีผลต่อการทำงานของเครื่อง เช่นกัน
สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์มักใช้สติ๊กเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) เพื่อยืนยันว่าสินค้านี้มาจากร้านของตนจริง โดยมีการกำหนดวันที่ จำหน่าย และระยะเวลาในการรับประกันไว้ โดยทั่วไปสติ๊กเกอร์รับประกันจะมี 2 รูปแบบ คือ สติ๊กเกอร์ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นการรับประกัน 2.สติ๊กเกอร์กำหนดเวลาสิ้นสุดการรับประกัน
สติ๊กเกอร์ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นการรับประกัน ซึ่งเป็นแบบที่นิยมกันมากกว่าเพราะง่ายต่อการบันทึกวันเริ่มต้นรับประกัน ไป เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีระยะเวลาในการรับประกันไม่เท่ากัน เช่น ซื้อสินค้า ไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2002 เป็นต้น
สติ๊กเกอร์กำหนดเวลาสิ้นสุดการรับประกัน รับเป็นรูปแบบสติ๊กเกอร์ที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ซื้อ เนื่องจาก จะทราบเวลาสิ้นสุดการรับประกันสินค้าได้ อย่างชัดเจนจากการเขียนลงบน สติ๊กเกอร์นั้นแต่ทางร้านไม่นิยมใช้แบบนี้ เนื่องจากต้องระบุวันที่สิ้นสุดการ รับประกันลงไป ซึ่งมีโอกาสที่จะเขียนผิดพลาดได้ง่าย วันสิ้นสุดการรับประกันใน สินค้ามักมีตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนไว้ว่า EXPIRE อยู่ด้วยเสมอ
วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการดูแลรักษาแป้นพิมพ์(keyboard) วิธีการดูแลรักษาจอภาพ (Monitor) วิธีการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ (Printer) วิธีการดูแลรักษาเมาส์ (Mouse) วิธีการดูแลรักษาตัวเครื่อง (case)
วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการดูแลรักษาแป้นพิมพ์(keyboard) 1.ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ 2.อย่าทำน้ำหกถูกแผงแป้นพิมพ์ 3.คลุมผ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน วิธีการดูแลรักษาจอภาพ (Monitor) 1.ทำความสะอาดหน้าจอ 2.อย่านำแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ
วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ (Printer) 1.ปิดเครื่องพิมพ์ทุกครั้งหลังใช้งาน 2.เมื่อกระดาษติดอย่ากระชากให้ค่อยๆดึงออก วิธีการดูแลรักษาเมาส์ (Mouse) 1.ควรวางเมาส์ไว้ที่แผ่นรองเมาส์ทุกครั้ง 2.อย่ากระแทกเมาส์กับพื้น 3.ทำความสะอาดเมาส์บริเวณลูกกลิ้ง
วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการดูแลรักษาตัวเครื่อง (case) 1.ไม่ควรให้เครื่องอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง 2.ไม่ควรทำน้ำหรืออาหารหกใส่เครื่อง
วิธีการดูแลอุปกรณ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette) 1.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงหรือเปียก 2.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปเข้าใกล้กับวัตถุที่มีสนามแม่เหล็ก 3.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปวางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือที่ที่มีแสงแดดส่องถึง 4.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นดิสก์ถ้าจะต้องเขียนให้เขียนลงบนป้ายที่มีชื่อไว้สำหรับติดบนแผ่นดิสก์ 5.ไม่ควรงอแผ่นดิสก์ เพราะอาจจะทำให้แผ่นชำรุดและอาจจะทำให้ไม่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ 6.ห้ามนำแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูล
วิธีการดูแลอุปกรณ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ การดูแลรักษาแผ่นซีดี (CD) 1.ควรเก็บแผ่นซีดีไว้ในกล่อง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ 2.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะทำให้แผ่นซีดีเกิดรอยขีดข่วนและเสียหาย ใช้งานไม่ได้ 3.การจัดแผ่นซีดีที่ถูกต้อง ควรใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางใส่ลงไปที่ช่องตรงกลางของแผ่นแล้วใช้นิ้วอื่นจับตรงส่วนขอบของแผ่น ไม่ควรใช้มือจับบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังของแผ่นซีดี เนื่องจากคราบน้ำมันหรือสิ่งสรกปรกบนมืออาจทำให้แผ่นซีดีใช้งานไม่ดีเท่าที่ควร 4.ไม่ควรงอแผ่นซีดี เนื่องจากแผ่นซีดีเป็นพลาสติกแข็งไม่มีความยืดหยุ่นซึ่งอาจจะทำให้แผ่นซีดีมีโอกาสแตกหักได้ง่าย
การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การเลือกหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CPU เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผล ยูทำ หน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูล input device ตามคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรมที่เตรียมไว้และส่งต่อไปยัง อุปกรณ์แสดงผล output device เพื่อให้สามารถเก็บหรืออ่านผลลัพธ์ได้ถ้า ซีพียูยิ่งมีความเร็วมากจะยิ่งประมวลผลได้เร็วขึ้น ความเร็วของซีพียูจะถูก ควบคุมโดยสัญญาณนาฬิกา system clock ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะการทำงาน เหมือนกับจังหวะของการเล่นดนตรีหน่วยวัดความเร็วของสัญญาณนาฬิกา ดังกล่าวเรียกว่า เฮิร์ตซ์ Hertz: He
การเลือกซื้อหน่วยประมวลผลกลาง ๑.ควรเลือกความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ ดังนี้ พิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ความเร็ว 700-1300 MHz กราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง ความเร็ว 1.3 -2.0 GHz สร้างมัลติมิเดีย ตัดต่อเสียง และวิดีโอ ความเร็ว 2.0 GHz ขึ้นไป ๒.ควรเลือกซีพียูที่มีการรับประกัน การดูแลรักษาหน่วยประมวลผลกลาง ๑. ไม่ควรให้ซีพียูอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ๒. ไม่ควรวางอาหารและเครื่องดื่มไว้ใกล้ซีพียู
การเลือกเมนบอร์ด เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็น แผงวงจรที่เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในทั้งหมด ที่สำคัญจะมีอุปกรณ์ที่ สำคัญหลายอย่างที่ติดมาพร้อมกับเมนบอร์ด โดยจะมีขั้นตอนการเลือกซื้อดังนี้
1. ซ็อกเก็ต : มีตำแหน่งที่ติดตั้งซีพียู ซึ่งจะเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับที่เลือก ซีพียูด้วย 2. ซิปเซ็ต : เป็นสิ่งที่รองรับเทคโนโลยีต่างๆรวมถึงรองรับอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย โดยมีซิปเซ็ต 2 แบบ - North Bridge ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์หลักได้แก่ ซีพียู แรม สล็อกของ การ์ดจอ - South Bridge ควบคุมอุปกรณ์ที่นอกเหนือจาก North Bridge จะเป็น อุปกรณ์พ่วงต่างๆ
3. สล็อกต่างๆ : เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะว่าจะเลือกแบบที่ใส่แรม หรือสล็อก PCI มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะมีอุปกรณ์ใดมา เสริม 4. หน่วยความจำรอมไบออส : ประกอบด้วยชิพไบออส ทำหน้าที่เก็บข้อมูล พื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้เทคโนโลยีของรอม และชิพซีมอส ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ใช้เทคโนโลยีของแรม 5. ยี่ห้อ : เราควรคำนึงถึงประสิทธิภาพ และการรับประกัน
การเลือกหน่วยความจำแรม ควรเลือกแรมที่มีมาตรฐานการผลิตมีแรม3ชนิด คือ SDRAM, DDR- SDRAM และ RDRAM ควรเลือกขนาดของแรมที่เหมาะสม ควรเลือกแรมที่มีความเร็ว ควรเลือกแรมที่มีการรับประกัน
การเลือกฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ มีข้อแนะนำในการ เลือกดังนี้ 1.ประเภทของฮาร์ดดิสก์ : มี2ประเภทคือ - IDE : เป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาจะแพงกว่า SATA - SATA : เป็นเทคโนโลยีใหม่ และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะในเมนบอร์ด รุ่นใหม่รองรับได้หมด และมีราคาถูกกว่า IDE 2. ขนาดความจุ : ถ้าใช้สำหรับงานมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันมี ความจุถึง 2 GB
3. ความเร็วรอบ : ความเร็วย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์ ใน ปัจจุบันความเร็วรอบนั้นอยู่ที่ 5,400-7,200 rpm แล้ว และยังพัฒนาได้ถึง 10,000 rpm 4. บัฟเฟอร์ของฮาร์ดดิสก์ : หน่วยความจำแคชเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและ ประสิทธิภาพขิงฮาร์ดดิสก์ โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม แรมจะนำ ข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง ในปัจจุบันบัฟเฟอร์มีจำนวน 8-32 MB แล้ว 5. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล : ช่วงเวลาที่ตำแหน่งบนจานของฮาร์ดดิสก์หมุนมา ตรงกันหัวอ่าน ความเร็วนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์ ยิ่งมีความเร็วมาก ยิ่งอ่านและเขียนได้เร็วขึ้น
การเลือกราฟิกการ์ด กราฟิกการ์ดเป็นส่วนประกอบที่ใช้การส่งสัญญาณข้อมูลให้กับมอนิเตอร์ เพื่อทำให้เกิดภาพ มีข้อแนะนำในการเลือกดังนี้ ประเภท : การ์ดแสดงผลที่นิยมมี 2 ประเภท คือ - AGP มีความเร็วที่ 266 MB/s ซึ่งในปัจจุบันได้มีการลดความสำคัญลงเพราะ มีสล็อกที่เร็วกว่ามาแทน - PCL Express เป็นมาตรฐาน
2. ซิปการฟิก : มี 2 ประเภท คือ - nVidia เป็นผู้ผลิตตั้งแต่เริ่มต้น ที่โด่งดังคือTNT2เป็นกราฟิก3มิติและมีการพัฒนา มาเรื่อยๆ -Ati ได้พัฒนาเรื่อยๆเป็นRadeon มีประสิทธิภาพสูง 3. หน่วยความจำ : ในปัจจุบันมีหลายประเภทคือ - GDDR2 รองรับการทำงานด้วยความเร็ว 500 MHz - GDDR3 พัฒนาจาก GDDR2 ให้มีความเร็วที่สูงกว่า 2 เท่า คือ 1 GHz - GDDR4 พัฒนาจาก GDDR3 ให้มีความเร็วที่สูงกว่าGDDR2ถึง3เท่า คือ 1.5 GHz - GDDR5 พัฒนาจาก GDDR4 โดยมีความเร็วสูงที่สุด เพราะทำงานได้ถึง 2 GHz 4. การรับประกัน : มีระยะตามแต่ละยี่ห้อของผู้รับประกัน
การเลือกจอภาพ จอภาพชนิด CRT(Cathode ray tube) เป็นจอภาพขนาดใหญ่ที่มีหลอดสูญญากาศภายใน จอภาพประเภทนี้ไม่นิยมใช้งาน ในปัจจุบัน เหตุผลง่ายๆ ขนาดใหญ่ เกะกะ และมีความร้อนสูง เปลืองไฟ จอภาพชนิด LCD (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพรุ่นใหม่กว่า CRT มีขนาดบาง เล็ก ให้ความคมชัดและสีสันสวยงาม จอภาพ LCD ยังแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ Passive Matrix (ให้ความคมชัดและความ สว่างน้อยกว่า) และ Active Matrix (ให้ความคมชัดกว่า) จอภาพชนิด LED (Light Emitting Diod) เป็นจอภาพรุ่นใหม่กว่า LCD ใช้หลักการในการแสดงภาพคือใช้หลอดแอลอีดีมา เรียงรายกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด?ดับของหลอดแอลซีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตา เรามองเห็นออกนั่นเอง
จัดทำโดย 1.นายนรินทร์ กันภัย ม.6/6 เลขที่ 2 2.น.ส.เฌอวารี เจตวรัญญู ม.6/6 เลขที่ 20 3.น.ส.กานต์พิชชา โรจน์ศิริพรชัย ม.6/6 เลขที่ 34 4.น.ส.เบญญาภา พวงบุปผา ม.6/6 เลขที่ 35 5.น.ส.อนุธิดา โสภัย ม.6/6 เลขที่ 43