Processor Quality Control (การควบคุมคุณภาพการล้างฟิล์ม) โดยใช้ step wedge
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การล้างฟิล์มเอกซเรย์ในแต่ละวันจะให้ผลฟิล์มที่มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณฟิล์มเสียที่มีสาเหตุเนื่องจากขบวนการล้างฟิล์ม เพื่อลด ภาระ เวลา และปริมาณรังสีดูดกลืนในผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ในห้องเอกซเรย์เนื่องจากการถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ เพื่อเป็นตรวจสอบขบวนการล้างฟิล์มโดยใช้อุปกรณ์อย่างง่ายที่มีอยู่ในแผนก X-RAY
อุปกรณ์ที่ใช้ คาสเซ็ทพร้อมฟิล์มที่บรรจุแล้ว
step wedge เครื่องx-ray
เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ
การเตรียมเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ 1 การเตรียมเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ 1. ทำการเตรียมเครื่องล้างฟิล์มโดยการล้างเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติที่ใช้ในแผนก(โคนิก้า)รุ่นSRX-101A 2. ผสมน้ำยาล้างฟิล์ม developer และfixer โหลดน้ำยาเข้าเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ 3. ทำการวอร์มเครื่องและโหลดฟิล์มเปล่าเข้าเครื่อง1-3แผ่นเพื่อทดสอบว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมหรือคราบน้ำน้ำยาติดอยู่ในเครื่องล้างฟิล์ม
ขั้นตอนการทดสอบ 1. นำคาสเซ็ทขนาด 8 x10 นิ้วบรรจุฟิล์มแล้ว1 แผ่นวางบนเตียงเอกซเรย์หันด้านหน้าขึ้น 2. นำstep wedge วางบนด้านหน้าของคาสเซ็ท
3. ใช้ตลับเมตรวัดระยะFFD (SID) 100 เซนติเมตรให้จุดกึ่งกลางลำแสงตรงกับ step wedge และปรับลำแสงให้คลุมเฉพาะstep wedge และคาสเซ็ทที่ถูกแบ่งออกโดยใช้ตะกั่วในกรณีที่ต้องการสร้างภาพมากกว่าหนึ่งภาพบนฟิล์ม
4. ตั้งค่าปริมาณรังสีที่เห็นภาพความดำของทุกขั้นของstep wedge และฉายรังสีในครั้งแรกนั้นอาจจะต้องทดลองเพื่อหาช่วงปริมาณรังสีที่เหมาะสมกับฟิล์ม/ และสกรีนที่ใช้(ประมาณรังสีที่ใช้คือ 62 kvp 160 mA 4.0 mAs)12ms
5. ล้างฟิล์มภายใต้แสงเซฟไลท์ในเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติที่เตรียมไว้ 6 5. ล้างฟิล์มภายใต้แสงเซฟไลท์ในเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติที่เตรียมไว้ 6. ป้อนฟิล์มในตำแหน่งเดิมของถาดทุกครั้งและให้ภาพขนานกับลูกกลิ้ง 7. การสร้างด้วย step wedge จะต้องทำในสภาวะมาตรฐานและเหมือนกันทุกครั้ง
8. ใช้แผ่นแผ่นฟิล์มที่ล้างแล้วและมีความขาว-ดำที่แตกต่างกันทุกระดับของ step wedge ไว้เป็นค่ามาตรฐาน 1 แผ่น 9. ทำการฉายเอกซเรย์แผ่นฟิล์มแผ่นเดิมและตั้งค่าปริมาณรังสีที่กำหนดไว้ทุกวันและบันทึกผล (แผ่นมาตรฐาน)
การบันทึกผล 1. เลือกแถบของภาพ step wedge ที่มีความคมชัดที่สุดเป็นค่ากลางของการแปลผล นับ1 ช่องเท่ากับ 1 step 2. เก็บบันทึกการถ่ายภาพทุกวันสังเกต การเปลี่ยนแปลงของฟิล์มในแต่ละวัน 3. สร้างกราฟการบันทึกผลในแต่ละวันเพื่อสะดวกพิจารณาในการปฏิบัติงานและการแก้ไขน้ำยาล้างฟิล์ม
ความคมชัดของภาพจะอยู่ช่องกึ่งกลางของ step wedge
กราฟของการบันทึกผลของการประเมินผล เริ่มทำการควบคุมคุณภาพ 10เม.ย.54
ครั้งที่2ของการเปลี่ยนน้ำยา21เม.ย.54
ครั้งที่3เปลี่ยนน้ำยา30เม.ย.54
ครั้งที่4เปลี่ยนน้ำยา15พ.ค.54
ครั้งที่5เปลี่ยนน้ำยา15มิ.ย.54
การประเมินการบันทึกผล การประเมินการบันทึกผล จากบันทึกการควบคุมคุณภาพของขบวนการล้างฟิล์มสังเกตว่าจากระยะของการเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์มในแต่ละครั้งจะมีระยะห่างกันไม่เกิน10วันหลังจากนั้นน้ำยาล้างฟิล์มมีการเปลี่ยนแปลงคือระดับของกราฟจะต่ำลงถึงระดับ ที่ไม่สามารถยอม รับได้คือ3step
และจะกลับมาอยู่ในระดับเสมอกราฟและคงที่อยู่อีกระยะหนึ่งหลังจากการเปลี่ยนน้ำยา และในการลดระดับลงของกราฟไม่เท่ากันนั้นประเมินได้ว่า - อายุของน้ำยาล้างฟิล์มหลังจากการผสมแล้วในอุณหภูมิปกติอยู่ได้ไม่เกิน10วัน - ในกรณีที่มีจำนวนผู้มาใช้บริการมากในช่วงไม่เกิน10วันจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำยามากนักเพราะน้ำยาล้างฟิล์มหมดถังก่อนที่น้ำยาจะหมดอายุ
ซึ่งในการควบคุมคุณภาพของการภาพถ่ายเอ็กซเรย์ให้ได้ภาพที่มีความคมชัดในระดับที่ยอมรับได้ในขบวนการล้างฟิล์มจึงสามารถทำได้เอง - โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงระดับของกราฟแล้วเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์ม - หรือเปลี่ยนเปลี่ยนน้ำยาเลยหลังจากผสมน้ำยาเกิน10วัน(ในกรณีนี้ยังไม่ได้ทำ)
โอกาสในการพัฒนา ในครั้งต่อไปคือการควบคุมคุณภาพของเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ ซึ่งอาจมีผลให้น้ำยาเปลี่ยนแปลงส่งผลให้คุณภาพของภาพที่ได้ไม่คงที่ จัดการทดลองคุณภาพโดย เสาวลักษณ์ เกิดพืชน์ จพง.รังสีการแพทย์ ขอบคุณทุกท่าน