สาระสำคัญของกฏหมายปกครอง 1. สาขาของกฎหมายมหาชน 2. วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครอง
3. วางระเบียบเกี่ยวกับบริการสาธารณะ และวิธีจัดทำบริการสาธารณะ 4. วางหลักความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน
หลักความเสมอภาค 1. เมื่อมีบทกฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครอง ที่จะออกกฎข้อบังคับวางระเบียบเป็นการทั่วไป ฝ่ายปกครองจะงดเว้นไม่ออกกฎข้อบังคับเช่นนั้น และพิจารณาออกคำสั่งเฉพาะกรณีเป็นรายๆ ไปไม่ได้
2. บทกฎหมายหรือข้อบังคับอย่างอื่น ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมายย่อมมีผลบังคับฝ่ายปกครองเช่นเดียวกับเอกชน 3. ฝ่ายปกครองจะต้องเคารพต่อหลักเสมอภาคแม้แต่ในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะใช้ดุลพินิจได้
การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มี 2 รูปแบบ 1. อำนาจผูกพัน คือ อำนาจหน้าที่ที่ฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติ เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใด เกิดขึ้นตามที่กฎหมายเรื่องนั้นได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้า
2. อำนาจดุลพินิจ คือเสรีภาพที่กฎหมายให้แก่ฝ่ายปกครองในอันที่จะตัดสินใจว่าในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่ง สมควรเลือกคำสั่งใดในบรรดาคำสั่งหลายๆอย่างที่แตกต่างกันออกไป ที่ตนเห็นว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด
ความหมายของฝ่ายปกครอง 1. หน่วยงานของรัฐฝ่ายบริหาร 2. องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง 3. องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ 4. หน่วยงานอิสระของรัฐ
หลักการพื้นฐานในกฎหมายปกครอง 1. หลักนิติรัฐ “รัฐที่ต้องยอมตนอยู่ใต้ระบบกฎหมายในความสัมพันธ์กับปัจเจกชน”
หลักนิติรัฐมีสาระในทางกฎหมายปกครอง ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย 2. กฎหมายต้องบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลอย่างเสมอภาค
3. หากมีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจ ฝ่ายปกครองต้องใช้ดุลพินิจในกรอบแห่งกฎหมาย 4. ศาลมีอำนาจที่จะควบคุมตรวจสอบว่าการกระทำทางปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2. หลักการว่าการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 3. หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองโดยองค์กร ตุลาการ
4. หลักความพอสมควรแก่เหตุ หรือ หลักความได้สัดส่วน ก. หลักสัมฤทธิผล หรือ หลักเหมาะสม ข. หลักความจำเป็น ค. หลักความพอสมควรแก่เหตุในความหมายอย่างแคบ
5. หลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมายได้จากการกระทำทางปกครอง 6. หลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอำเภอใจ หลักความคุ้มครองความเชื่อถือ และไว้วางใจ 8. หลักคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ