Cognitive of Depressive Disorder การรู้-การคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า วิชญา โมฬีชาติ นักจิตวิทยา 5
ความหมายของการรู้- การคิด การรู้การคิด (Cognition) หมายถึง กระบวนการทางจิตที่ทำการเปลี่ยนข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส(Transform Sensory Input) ไปในรูปแบบต่างๆ กระบวนการนี้ทำหน้าที่ตั้งแต่ลดจำนวนข้อมูล(Reduced) เปลี่ยนรหัส (Code) และส่งไปเก็บไว้ (Store) ในกล่องความจำ และรื้อฟื้นเรียกคืน (Retrieve) มาได้เมื่อต้องการ การรับรู้ จินตนาการ การแก้ปัญหา การจำได้ และการคิด ล้วนเป็นคำที่อธิบายถึงขั้นตอนต่างๆ เมื่อเกิดการรู้-การคิด
การรู้-การคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยปกติโรคซึมเศร้าจะแสดงอาการของการขาดประสิทธิภาพของการรู้ การคิด ซึ่งคล้ายคลึงกับโรคสมองเสื่อม แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่มีอาการ aphasia, apraxia, agnosia ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคสมองเสื่อม ความผิดปกติของการรู้การคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักแสดงออกมาในลักษณะของ การ หลงลืมง่าย ความคิดอ่านช้าลง ลังเล ตัดสินใจไม่แน่นอน ไม่มั่นใจในตนเอง ผู้ป่วยจะมองโลกภายนอก รวมถึงมองชีวิตตัวเองในแง่ลบ คิดว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมายต่อใคร ผู้ป่วยบางคนมีความรู้สึกผิดหรือกล่าวโทษ ตำหนิตนเองต่อสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป แม้เป็นการกระทำที่ผู้อื่นเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย ความคิดอยากตายพบได้ถึงร้อยละ 60 และพบว่ามีการฆ่าตัวตายร้อยละ 15 ในช่วงแรกผู้ป่วยอาจแค่รู้สึกเบื่อชีวิต ไม่ทราบจะมีชีวิตอยู่ต่อไปทำไม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย อยากวิ่งให้รถชน ต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการคิดถึง วิธีการ มีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุด
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) มีรากฐานมาจากแนวคิดเรื่องพฤติกรรมนิยม (Behavirism) และแนวคิดเรื่องจิตวิทยาการรู้-การคิด(Cognitive Psychology) มีความเชื่อหลักอยู่ 3 ประการคือ ความคิดมีผลต่อพฤติกรรม ความคิดเป็นสิ่งที่สามารถคบคุมและเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสมทำได้โดยการเปลี่ยนความคิด การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมพัฒนาขึ้นโดย Aron Beck โดยมีความเชื่อว่า อารมณ์ที่ผิดปกติของคนเรานั้นเป็นผลมาจากการบิดเบือนความคิดหรือการประเมินเหตุการณ์ในชีวิตด้วยความคิดที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) Beck กล่าวว่าอารมณ์ซึมเศร้าเกิดจากการคิดการเข้าใจ 3 สิ่ง (Cognitive triad) ผิดพลาด ของ 3 สิ่งในที่นี้หมายถึง ตนเอง โลกและอนาคต การคิดการเข้าใจที่ผิดพลาด (Cognitive Error) เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีแบบแผนการคิดไปในทางลบ (Negative Thought) ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Maladaptive Behavior)
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) Cognitive Pattern Thought Maladaptive Behavior มองตนเองด้านลบ มองโลกด้านลบ มองอนาคตด้านลบ ไร้ค่า ไม่ดีพอ ไม่มีใครช่วยเหลือ ล้มเหลว ปฏิเสธ แยกตัว สิ้นหวัง ฆ่าตัวตาย
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) แบบแผนความคิด (Schemas) Beck ให้ความหมายว่าเป็นแบบแผนการคิดที่ใช้ในการดำเนินชีวิตซึ่งพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็กและมีบทบาทในการช่วยในการปรับตัว การนำข้อมูลข่าวสารที่ได้มาเชื่อมโยงเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การเจ็บป่วยทางจิตส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของความคิดซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) ตัวอย่างของ Adaptive Schemas และ Maladaptive Schemas Adaptive Schemas Maladaptive Schemas ถ้ามีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น ฉันก็สามารถจัดการกับเหตุการณ์นั้นได้ ฉันจะต้องจัดการกับเหตุการณ์ใดๆก็ตามให้เรียบร้อยสมบูรณ์เท่านั้น
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) ตัวอย่างของ Adaptive Schemas และ Maladaptive Schemas Adaptive Schemas Maladaptive Schemas ถ้าฉันทำอะไรบางอย่างฉันสามารถควบคุมสิ่งที่ฉันทำได้ ถ้าฉันเลือกทำอะไรสิ่งนั้นต้องสำเร็จ
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) ตัวอย่างของ Adaptive Schemas และ Maladaptive Schemas Adaptive Schemas Maladaptive Schemas ฉันเป็นนักค้นหาจึงไม่กลัวความล้มเหลว ฉันไม่รู้จะทำอะไรเพราะไม่ว่าจะทำอะไรมันจะไม่ประสบความสำเร็จ
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) ตัวอย่างของ Adaptive Schemas และ Maladaptive Schemas Adaptive Schemas Maladaptive Schemas - คนอื่นไว้ใจ เชื่อใจฉัน ผู้คนเคารพ นับถือฉัน - คนอื่นไม่ควรเชื่อใจฉัน - ฉันไม่มีใคร