ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดร. สุจิตรา ธนานันท์
ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM System ) ความหมายของระบบ ประเภทของระบบ ประเภทของระบบ HRM - ระบบอุปถัมภ์ - ระบบคุณธรรม - ระบบนักบริหารระดับสูง
ความหมายของระบบ ชุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประกอบขึ้นด้วย ขอบเขตที่ชัดเจนและประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ ซึ่ง ทำงานอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ร่วมกัน ชุดของความสัมพันธ์ที่ส่งผลซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวใดตัวหนึ่งจะส่งผลต่อ ตัวหนึ่งหรืออีกหลาย ๆ ตัว การรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสลับซับซ้อนให้เข้าลำดับ ประสานกันเป็นอันเดียวตามหลักเหตุผลทาง วิชาการ
สรุป ระบบ หมายถึง กระบวนการหรือ ขั้นตอนของการทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความหมายของระบบ สรุป ระบบ หมายถึง กระบวนการหรือ ขั้นตอนของการทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยส่วนย่อยหลายส่วนที่ไม่ สามารถแยกออกจากกันได้ จำต้องประสาน การทำงานร่วมกัน
ทฤษฎีระบบ (System Theory) ของ David Easton INPUT CONVERSIon PROCESS OUTPUT FEEDBACK ENVIRONMENT
Input ปัจจัยนำเข้า ตย. เช่น ความสามารถ เชาวน์ ปัญญา ลักษณะนิสัย ท่าทาง ทัศนคติ ค่านิยม Process กระบวนการ ในการแปลงปัจจัยนำเข้าให้ออกมา เป็นผลลัพธ์ต่าง ๆ เช่น การวางแผนกำลังคน การจูงใจ ผลตอบแทน การออกแบบงานและ การวิเคราะห์งาน Output ปัจจัยนำออก เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพชีวิตของพนักงาน คุณภาพงาน และ ความก้าวหน้าขององค์การ
Environment สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมหรือมี ผลกระทบต่อระบบ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมทางสังคม และ วัฒนธรรมองค์การ Feedback การย้อนกลับ ซึ่งเกิดจากปัจจัยนำออก ย้อนกลับไปเป็นปัจจัยนำเข้าไปในระบบ เป็นวัฎจักร อาจส่งเป็นผลกระทบได้ ทั้งเชิงบวกหรือลบ
ระบบ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง (self-contained) กล่าวคือ ระบบต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา และการดำรงอยู่ของระบบนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปัจจัยนำเข้าและปัจจัยนำออก เมื่อใดก็ตามที่ปัจจัยนำเข้าและปัจจัยนำออกขาดความสมดุล เสถียรภาพของระบบจะลดน้อยลง ซึ่งสภาพดังกล่าวจะเป็นพลังผลักกดดันให้ระบบเกิดการปรับตัวเพื่อเข้าความสมดุลใหม่ต่อไป
ประเภทของระบบ 1. ระบบทางกายภาพ (Physical System) เป็นระบบที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 กล่าวคือ สามารถมองเห็น จับต้อง สัมผัส ได้ยิน และพิสูจน์ได้ เช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ หรือระบบย่อยต่าง ๆ ในร่างกาย 2. ระบบแนวความคิด (Conceptual System) เป็นระบบนามธรรมที่ไม่สามารถรับรู้ จับต้องได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ระบบการบริหาร ระบบ การเมืองการปกครอง ระบบการทำงานของข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน เป็นต้น
ประเภทของระบบ HRM 1. ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) 2. ระบบคุณธรรม 1. ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) 2. ระบบคุณธรรม (Merit System) 3. ระบบนักบริหารระดับสูง (Senior Executive System)
1. ระบบอุปถัมภ์ และความเหมาะสมเป็นประการสำคัญ 1. ระบบอุปถัมภ์ ประเด็นที่ 1 ทุกประเทศ ในระยะเริ่มแรกใช้ระบบนี้ ประเด็นที่ 2 ระบบอุปถัมถ์เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน โดยใช้เหตุผลทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว เป็นหลักสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ และความเหมาะสมเป็นประการสำคัญ ประเด็นที่ 3 ชื่ออื่น ๆ เช่น ระบบชุบเลี้ยง ระบบเน่าหนอนชอนไช ระบบญาตินิยม ระบบเส้นสาย Patronage System, Nepotism, Spoiled System, Favoritism
ที่มาของระบบอุปถัมภ์ อังกฤษ ราชาธิปไตย ประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา ยุคอาณานิคมของอังกฤษ ยุคปกครองตนเอง
หลักการสำคัญของระบบอุปถัมภ์ 1. การสืบสายโลหิต บุตรชายคนโตจะได้ สืบทอดตำแหน่งของบิดา ต้นกำเนิดมา จากประเทศจีน 2. การชอบพอเป็นพิเศษ แต่งตั้งผู้ที่ ใกล้ชิดหรือคนโปรดปรานเป็นพิเศษให้ดำรง ตำแหน่งต่าง ๆ 3. การแลกเปลี่ยน ใช้สิ่งของหรือ ทรัพย์สินมีค่ามาแลกกับตำแหน่ง
ผลของการยึดระบบอุปถัมภ์เป็นแนวปฏิบัติใน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ... 1. การพิจารณาบรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อน ตำแหน่ง เป็นไปตามความพอใจส่วนบุคคลของ หัวหน้าเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงความรู้ 2. การคัดเลือกคนไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันแก่ผู้ มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ แต่จะให้โอกาส กับพวกพ้องของตนเองก่อน 3. ผู้ปฏิบัติงานมุ่งทำงานเพื่อเอาใจหัวหน้าหรือผู้ ครองอำนาจมากกว่าจะปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้ บรรลุถึงวัตถุประสงค์
4. ผู้ปฏิบัติงานขาดสมรรถภาพเพราะไม่มีความรู้ ผลของการยึดระบบอุปถัมภ์เป็นแนวปฏิบัติใน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ( ต่อ ) 4. ผู้ปฏิบัติงานขาดสมรรถภาพเพราะไม่มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน ทำให้งานไม่ก้าวหน้า ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ 5. อิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงการ ดำเนินงาน 6. ผู้ปฏิบัติงานไม่มีความมั่นคงในหน้าที่ที่กำลังทำอยู่
ระบบอุปถัมภ์ช่วยในการบริหาร ระบบอุปถัมภ์ทำให้การบรรจุคนเข้าหรือคัดคนออกทำได้รวดเร็วและกว้างขวาง
ระบบอุปถัมภ์บ่อนทำลายการบริหาร 1. การแทรกซึมของระบบอุปถัมภ์ ตัวอย่างเช่น การสอบเข้าเพื่อทำงานโดยใช้ระบบคุณธรรม ถูกครอบงำโดยจดหมาย โทรศัพท์ นามบัตร หรืออาจจะเป็นวาจา โดยขอให้กรรมการสอบ ให้ความอุปถัมภ์เป็นพิเศษแก่ผู้สมัครคนหนึ่งคน ใดโดยเฉพาะ 2. การใช้ระบบอุปถัมภ์ในทางที่ถูกต้องย่อม เอื้ออำนวยผลดีต่อการบริหาร ตรงกันข้ามถ้า ใช้เกินขอบเขตที่สมควร จะกระทบประสิทธิภาพ ของงาน
ข้อดีของระบบอุปถัมภ์... 1. สามารถบริหารงานได้รวดเร็ว เนื่องจากไม่มี หลักกฎเกณฑ์มาก ผู้บริหารที่มีอำนาจสามารถ สั่งการอย่างไรก็ได้ 2. สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้สะดวก เนื่องจาก กฎเกณฑ์ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่มี กฎระเบียบมาก ทำให้สามารถแก้ไขได้ถ้าเห็นว่า กฎระเบียบเดิมไม่สามารถใช้ได้ในปัจจุบัน
ข้อดีของระบบอุปถัมภ์... 3. เกิดความขัดแย้งในองค์การน้อย เนื่องจากส่วน ใหญ่จะเป็นพวกเดียวกันหมด เป็นเพื่อน ญาติพี่ น้องที่มาจากจังหวัดเดียวกัน จบการศึกษาจากที่ เดียวกัน เป็นต้น จึงมีความคิดความเห็นสอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกัน 4. เหมาะสมกับบางตำแหน่ง เนื่องจากบางตำแหน่ง ต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นหลัก เช่น ตำแหน่งทางด้านการเงิน ตำแหน่งที่ต้องรักษา ความลับขององค์การ เป็นต้น การใช้พรรคพวกที่ เชื่อใจและสนิทใจจะช่วยให้การทำงานมีความ สะดวก เร็วเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของระบบอุปถัมภ์ ( ต่อ ) 5. สอดคล้องกับการปกครองที่มีระบบพรรค การเมือง พรรคการเมืองใด ๆ ก็ตามหาก ไม่อาศัยระบบอุปถัมภ์ก็ยากที่จะไปถึง ตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง เพราะใน ทุกประเทศพรรคการเมืองต่างก็ต้องการ อำนาจรัฐเพื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแทบทั้งสิ้น
ข้อเสียของระบบอุปถัมภ์... 1. ไม่มีหลักประกันว่าจะได้คนมีความรู้ ความสามารถมาทำงาน เนื่องจากการ คัดเลือกคนยึดหลักความพึงพอใจมากกว่า การเลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถ 2. มุ่งรับใช้บุคคลมากกว่าหน่วยงาน มุ่ง ประจบประแจงผู้มีอำนาจมากกว่าคำนึง วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ ทำให้องค์การไม่พัฒนา
ข้อเสียของระบบอุปถัมภ์... 3. ผู้ปฏิบัติงานขาดความมั่นคงและไม่มี หลักประกันเรื่องความก้าวหน้าในตำแหน่ง เพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดในการรับคน หรือการให้ออกทุกอย่างทำตามความพอใจ วันใดที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้เป็นคนโปรดของผู้ มีอำนาจอีกต่อไป ตำแหน่งอาจถูกยกให้ คนโปรดคนใหม่
ข้อเสียของระบบอุปถัมภ์ ( ต่อ ) 4. การเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ง่าย เพราะ บุคคลจะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องอาศัยผู้ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือ การเป็นหัวคะแนนให้ 5. องค์การพัฒนายาก ระบบอุปถัมภ์ไม่ได้ คำนึงถึงพื้นฐานการทำงานและการศึกษา ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ช้าและยาก
2. ระบบคุณธรรม เกิดจากความพยายามในการขจัดข้อบกพร่องของระบบอุปถัมภ์ เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานโดยใช้การสอบรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถของบุคคล โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นสำคัญ วิจิตร ศรีสะอ้าน อวยชัย ชะบา
ที่มาของระบบคุณธรรม อังกฤษ ความกดดัน เปิดให้บุคคล อังกฤษ ความกดดัน เปิดให้บุคคล จากชนชั้นกลาง สอบแข่งขัน สหรัฐอเมริกา การตรารัฐบัญญัติ เปิดสอบเป็น ระเบียบข้าราชการ การทั่วไป
หลักการสำคัญของระบบคุณธรรม... 1. หลักความเสมอภาคในโอกาส (Equality of opportunity) เปิดโอกาสที่เท่า เทียมกันในการสมัครเข้าทำงานสำหรับผู้สมัครที่มี คุณสมบัติ ประสบการณ์และพื้นความรู้ตามที่ กำหนดไว้ โดยไม่มีข้อกีดกันอันเนื่องมาจาก ฐานะ เพศ สีผิวและศาสนา และไม่มีข้อกีดกัน ในการกำหนดค่าตอบแทน ยึดหลัก “งานเท่ากัน เงินเท่ากัน”
หลักการสำคัญของระบบคุณธรรม... 2. หลักความสามารถ (Competence) การยึดถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ใน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน โดยเลือกผู้ ที่มีความรู้ความสามารถให้เหมาะสมกับ ตำแหน่งมากที่สุด
หลักการสำคัญของระบบคุณธรรม... 3. หลักความมั่นคงในอาชีพการงาน (Security on tenure) บุคคลจะได้รับการ คุ้มครอง ไม่ถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกให้ออก จากงาน โดยปราศจากความผิด ไม่ว่า ด้วยเหตุผลส่วนตัวหรือเหตุผลทางการเมือง ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกมั่นคงใน หน้าที่
หลักการสำคัญของระบบคุณธรรม ( ต่อ ) 4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political neutrality) ไม่เปิดโอกาสให้มี การใช้อิทธิพลทางการเมืองเข้าแทรกแซงกิจการ งานหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมืองหรือ พรรคการเมืองใด ๆ เพื่อให้ข้าราชการประจำ ปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็ม ภาคภูมิ และความสามารถในระบบการเมือง การปกครองแบบประชาธิปไตย
ข้อดีของระบบคุณธรรม... 1. ด้านหน่วยงาน ได้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้า 1. ด้านหน่วยงาน ได้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้า ทำงาน หน่วยงานจะมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลตามเป้าหมาย 2. ด้านบุคลากร เมื่อมีความมั่นคงก้าวหน้าจาก ระบบคุณธรรม ย่อมมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ หน้าที่ ทำให้หน่วยงานเจริญก้าวหน้า 3. ส่งเสริมความเสมอภาค และความเป็นธรรม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
ข้อดีของระบบคุณธรรม ( ต่อ ) 4. เสริมสร้างเกียรติภูมิของข้าราชการ และก่อให้เกิดสัม พันธภาพที่ดีระหว่างการเมืองกับข้าราชการประจำ ส่วนในภาคเอกชนจะส่งเสริมการบริหารงานโดยมี ส่วนร่วมแล้วทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารสองทางใน องค์การ 5. ป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง ไม่ทำให้ ข้าราชการเกิดความโลภ สับสน และปฏิบัติงานเพื่อ ส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่ทำเพื่อนักการเมือง 6. ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ในเรื่องความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้บุคคลผู้มี คุณสมบัติเท่ากันทุกคนได้มีโอกาสเข้ารับราชการ ไม่ จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ข้อเสียของระบบคุณธรรม... 1. เกิดความล่าช้า กว่าจะรับคนเข้ามา ทำงานต้องมีกระบวนการขั้นตอน มากมาย จำเป็นต้องใช้เวลานานจึงจะ ได้คนดีเข้ามา 2. มีค่าใช้จ่ายมาก เนื่องจากมีระเบียบ กฎเกณฑ์จำนวนมาก ต้องมีผู้เข้ามา เกี่ยวข้องรับผิดชอบมาก และมีการ บริหารแบบเชิงรับเป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้องใช้วัสดุและบุคลากรเป็น จำนวนมาก
ข้อเสียของระบบคุณธรรม ( ต่อ ) 3. สร้างความสัมพันธ์แบบทางการมาก เกินไป ระบบนี้เต็มไปด้วยระเบียบ กฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติมากมาย ทุกอย่าง ต้องทำเป็นทางการหมด ในทางปฏิบัติ กระทำได้ลำบาก จำเป็นต้องติดต่อแบบไม่ เป็นทางการด้วย จะทำให้การทำงาน สำเร็จได้ด้วยดี 4. จะได้ผลต่อเมื่อทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ
ตารางเปรียบเทียบระหว่างระบบคุณธรรม กับ ระบบอุปถัมภ์ ระบบคุณธรรม ระบบอุปถัมภ์ 1. ยึดหลักความสามารถ 1. ยึดหลักความพึงพอใจส่วน ของบุคคล บุคคล 2. เปิดโอกาสให้ทุกคน 2. ให้โอกาสแก่พรรคพวก เท่าเทียมกัน หรือญาติพี่น้องก่อนผู้อื่น 3. มีความมั่นคงในการทำงาน 3. ขาดความมั่นคงใน ตำแหน่งหน้าที่ 4. ป้องกันการแทรกแซงของ 4. มีอิทธิพลการเมืองเข้า อิทธิพลทางการเมือง แทรกแซง
สรุป ระบบคุณธรรม และ ระบบอุปถัมภ์ ต่างมีวัตถุประสงค์ที่สรรหาบุคคลมาทำงาน เพื่อหวังผลในประสิทธิภาพของงานเช่นเดียวกัน แต่ ระบบคุณธรรม มีหลักเกณฑ์ในการทดสอบความรู้ความสามารถของคน และเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีคุณสมบัติได้แข่งขันกัน เหมาะสมกับการสรรหาคนเข้าทำงานในตำแหน่งราชการประจำ ส่วนระบบอุปถัมภ์ ใช้วิจารณญาณพิจารณาจาก บุคคลที่รู้จักสนิทสนมคุ้นเคย หรือผู้เป็นญาติพี่น้อง พรรคพวก เพื่อนฝูง ทางวิชาการจึงขาดเหตุผลที่จะเชื่อถือได้ว่าการเลือกสรร คนตามระบบอุปถัมภ์จะได้คนดี มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์พิทักษ์ระบบคุณธรรม การพิทักษ์คุณธรรมในระบบราชการ เป็นอีกหนึ่งยุทธ ศาสตร์ของสำนักงาน ก.พ. มีการวางมาตรการสำหรับ ภารกิจการพิทักษ์คุณธรรม เช่น การกำหนดโครงสร้าง กลไก วิธีดำเนินการทางวินัยและการร้องทุกข์ วางระบบ ป้องกันการกระทำผิดวินัย รวมทั้งการเป็นองค์กรกลางที่ พิทักษ์สิทธิประโยชน์อันชอบธรรมของข้าราชการและการ จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยวินัยกลางสำหรับข้าราชการทุก ประเภทให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ระบบนักบริหารระดับสูง (SES : SENIOR EXECUTIVE SERVICE) ระบบนี้เชื่อว่านักบริหารระดับสูงเป็นตัวขับเคลื่อนตัวหนึ่งในการปฏิรูประบบราชการ จำเป็นต้องมีการสร้างและพัฒนานักบริหารระดับสูงในภาครัฐ
วัตถุประสงค์ของระบบ SES : เพื่อสร้างและพัฒนาผู้นำยุคใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเจ้าหน้าที่เพียงพอสำหรับการปรับเปลี่ยนระบบราชการ รวมทั้งทำให้ระบบการแต่งตั้งมีความ โปร่งใสและเป็นธรรม โครงสร้าง : ผู้บริหารระดับ 9, 10 และ 11
สาระสำคัญและหลักเกณฑ์ 1. มีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบสมรรถนะหลักทางการบริหารที่ ก.พ. ขึ้นบัญชีไว้ 2. มีคณะกรรมการคัดเลือก โดยมีประธานซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ ก.พ. แต่งตั้งจากรายชื่อที่ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นผู้เสนอ 3. มีการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งเกี่ยวกับสมรรถนะ หลักทางการบริหาร สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับงาน ผลการ ปฏิบัติงานตามเป้าหมายในอดีต ด้านการบริหารจัดการ วิสัยทัศน์ รวมทั้งความประพฤติและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 4. มีการประกาศรับสมัคร โดยให้ผู้ที่สนใจและมีคุณสมบัติ ยื่นใบสมัคร
ผลลัพธ์ ทำให้ได้นักบริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีศักยภาพสูง คิดใหม่ ทำใหม่ ระบบการแต่งตั้งมีความโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อปรับเปลี่ยน ระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ
ให้ความเห็นชอบการจัดระบบนักบริหารระดับสูง (SES) ใน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ให้ความเห็นชอบการจัดระบบนักบริหารระดับสูง (SES) ใน ราชการพลเรือนและให้ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 : เริ่มการแต่งตั้งนักบริหารระดับ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2544 ระยะที่ 2 : เริ่มการแต่งตั้งนักบริหารระดับ 10 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2545 ระยะที่ 3 : เริ่มการแต่งตั้งนักบริหารระดับ 11 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2547 ซึ่งเป็นการดำเนินการเต็มรูปแบบ
ความรอบรู้ในการบริหาร การบริหารคน การปรับตัวและความยืดหยุ่น ทักษะในการสื่อสาร การประสานสัมพันธ์ ความรอบรู้ในการบริหาร การบริหารการเปลี่ยนแปลง การมีจิตมุ่งบริการ การวางแผนกลยุทธ์ สมรรถนะหลักของ นักบริหารระดับสูง การบริหารอย่างมืออาชีพ การตัดสินใจ การคิดเชิงกลยุทธ์ ความเป็นผู้นำ การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ รับผิดชอบตรวจสอบได้ การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ การบริหารทรัพยากร (เงิน, เครื่องมือ)