ตัวละคร.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
Advertisements

บทเรียนโปรแกรม Power Point
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
คดี มาจากคำว่า คติ แปลว่า การไป การเคลื่อน แบบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการแสดงและการวิจารณ์การแสดง
โดย นายสุนทร พุกสุข สพป ปทุมธานี เขต 1
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
สร้างสรรค์งานโดย ครูพงศ์ศักดิ์ อินปา
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ใช้สติอย่างสร้างสรรค์ ชีวิตทุกวันจะปลอดภัย
เรื่องไตรสิขาพัฒนาสุขภาพจิต
จิตวิทยาการบริหารทีมงาน
การอ่านจับใจความเรื่องสั้น
หัวใจของแผน HRD หัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การปรับตัวและการเลือกคู่ครอง
พฤติกรรม เบี่ยงเบนทางเพศ.
พัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่น
พัฒนาการด้านสังคมของเด็ก
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้
การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
วัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยกรณีศึกษา
แบบประเมินก่อนเรียน แบบประเมินก่อนเรียน Part 8.
1 3 - Part 7 แบบประเมินก่อนเรียน แบบประเมินหลังเรียน.
แนวคิดและทฤษฎีทางจริยธรรม
มนุษย์สัมพันธ์ ในการทำงานเป็นทีม
( Organization Behaviors )
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
คำทำนายธิเบต สำหรับคุณ
(Individual and Organizational)
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
ทัศนคติในเทพนิยาย.
แผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
วัยรุ่นกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก
( Human Relationships )
ความสำคัญของการคิด และการประเมินการคิด
จอห์น ซี แม็คเวล (John C Maxwell) กล่าวว่า
การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการทำงาน
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์
ความหมายของบุคลิกภาพ บรรยาย โดย อาจารย์วทัญญู มุ่งหมาย
ฉากและบรรยากาศ.
ประเภทของบุคลิกภาพ บรรยาย โดย อาจารย์วทัญญู มุ่งหมาย
ความหมายของการวิจารณ์
แก่นเรื่อง.
หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5
การเขียนรายงาน.
ดร. สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
หลักสตรูแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม
จรรยาบรรณ นางสาวสมลักษณ์ ลวดเงิน พนักงานพัฒนากองทุนหมู่บ้าน
การอ่านเชิงวิเคราะห์
วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สัปดาห์ที่ 1
องค์ประกอบของวรรณคดี
การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง
ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์
การสร้างสรรค์บทละคร.
องค์ประกอบของบทละคร.
จัดทำโดย เด็กหญิง นันท์นภัส ขะชาติ ชั้น ม.1/13 เลขที่ 24
ความหมายของการวิจารณ์
ธรรมชาติของเด็กวัยเรียน พัฒนาการเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)
เรื่อง การปฏิบัติตนในวัยรุ่น
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวสมดุลภาษา
ประโยคในการสื่อสาร จัดทำโดย ด.ช. อนันต์ ผลทับทิม เลขที่ ๔๓
เรื่อง ประโยค.
ความสำคัญ และ คุณค่า ของวรรณกรรม.
มนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ตัวละคร

ตัวละคร หรือ Character คือบุคคลที่ผู้แต่งสมมุติขึ้นมาเพื่อให้กระทำพฤติกรรมในเรื่องคือผู้มีบทบาทในเนื้อเรื่องหรือเป็นผู้ทำให้เรื่องเคลื่อนไหวดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางตัวละครตามนัยดังกล่าวนี้มิได้หมายถึงมนุษย์เท่านั้น หากแต่รวมถึงพวกพืช , สัตว์ และสิ่งของด้วย นักเขียนบางคนนิยมใช้สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ ภาชนะเป็นตัวละครมีความคิดและการกระทำอย่างคน

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช มนัส จรรยงค์ กำหนดให้ สุนัข เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ มอม ”  มนัส จรรยงค์ กำหนดให้ วัวชน เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ ซาเก๊าะ ” 

ไมตรี ลิมปชาติ ราม ราชพฤกษ์ กำหนดให้ ต้นไม้ เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ ฉันคือต้นไม้ ” ราม ราชพฤกษ์ กำหนดให้ ก้อนหิน เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ ฉันคือหินผา เขาหาว่าฉันศักดิ์สิทธิ์ ”  ตัวละครจึงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเรื่องบันเทิงคดีซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราถ้าปราศจากตัวละครหรือผู้กระทำพฤติกรรมแล้ว การดำเนินเรื่องก็คงจะไม่เกิดขึ้น

ประเภทของตัวละคร  แบ่งตามลักษณะของบทบาท การแบ่งประเภทของตัวละครไม่ควรแบ่งตามลักษณะที่ชอบเรียกกันว่า พระเอก , นางเอก หรือผู้ร้ายตัวโกง หากแต่ควรแบ่งตามลักษณะบทบาท และความสำคัญของตัวละครที่ปรากฏในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น

ตัวละครเอก ตัวละครเอก ( principal or main character ) คือ ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง หรือคือตัวละครที่เป็นศูนย์กลางของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นตัวละครที่มีข้อขัดแย้ง ข้อขัดแย้งดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นภายในใจของตัวละครเอง หรือจะขัดแย้งกับตัวละครอื่นหรือขัดแย้งกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น พลังธรรมชาติ หรือระบบสังคมก็ได้

ตัวละครประกอบ ตัวละครประกอบ ( subordinate or minor character ) คือตัวละครที่มีบทบาทรองลงไปจากตัวละครเอก เป็นตัวละครที่ทำให้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวละครเอกเคลื่อนไหวไปสู่จุดหมายปลายทาง ตัวละครประกอบบางตัวอาจมีบทบาทเด่นพอ ๆ กับตัวละครเอกก็ได้ แต่มักจะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับตัวละครเอก

ลักษณะนิสัยของตัวละคร การกำหนดลักษณะนิสัยของตัวละครนี้ นิยมทำกันอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ตัวละครที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน ( flat character ) คือตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นตัวแทนความคิด หรือคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น เป็นคนดุ ใจดี หรือซื่อสัตย์ เป็นต้น สำหรับตัวละครที่มีลักษณะไม่ซับซ้อนและยังมีลักษณะพิเศษประจำตัวจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เป็นแม่เลี้ยงใจยักษ์ , ตำรวจใจดี หรือเป็นตัวละครที่ให้อารมณ์ขันในเรื่อง พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต นั้นมีชื่อเฉพาะเรียกว่า Stock Character

วิธีที่ ๒ ตัวละครที่มีลักษณะซับซ้อน ( round character ) คือตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีนิสัยคล้ายกับปุถุชนทั่วไป ตัวละครแบบนี้ ผู้แต่งมักจะไม่แนะนำโดยตรงว่ามีลักษณะนิสัยใจคออย่างไร ผู้อ่านจะต้องศึกษาจากส่วนประกอบอื่น ๆ เอาเอง เช่น ศึกษาจากคำพูด การกระทำ การปฏิบัติตัวต่อตัวละครอื่นแล้วนำมาตัดสินว่า ตัวละครนั้นเป็นคนเช่นไร มีนิสัยเปลี่ยนไปอย่างไร และเพราะเหตุใดเป็นต้น ตัวละครแบบนี้จึงมีลักษณะคล้ายบุคคลในชีวิตจริง

บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร การกำหนดบทบาทของตัวละครมีอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ตัวละครที่มีบทบาทคงที่ ( Static Character ) คือตัวละครที่มีบุคลิกคงที่ตลอดเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ตอนเปิดเรื่องมีลักษณะนิสัย อย่างไร ตอนจบเรื่องก็ยังคงมีลักษณะนิสัยอย่างนั้น เช่น แม่ช้อยในเรื่องสี่แผ่นดิน จะมีลักษณะเป็นตัวละครที่สร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่านตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง

วิธีที่ ๒ ตัวละครที่มีบทบาทไม่คงที่ ( dynamic character ) คือตัวละครที่ปรับเปลี่ยนนิสัย และทัศนคติไปตามประสบการณ์หรือสภาพจิตใจได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บุคลิกภาพของตัวละครเปลี่ยนแปรไป ตัวละครประเภทนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องสั้นประเภทเน้นตัวละคร เพราะนิสัยใจคอของตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะช่วยสร้างโครงเรื่องไปด้วยในตัว เช่น บุคลิกของตัวละครเอกในเรื่องสั้นเรื่อง “ ความในใจของกระดูกจระเข้ ” ของ วัฒน์ วรรลยางกูร คือ “ ผม ”ที่เปลี่ยนความคิดและการกระทำจากคนที่เห็นแก่ตัวในตอนต้นเรื่องมาเป็นคนที่มีความคิดและการกระทำแบบคนที่เห็นแก่ส่วนรวม

ที่มา http://blog.eduzones.com/jybjub/11582