การใช้อำนาจและอิทธิพล ผู้นำ การใช้อำนาจและอิทธิพล ยุทธนา พรหมณี
ความหมายของอำนาจและอิทธิพล อำนาจ (Power) คือ "การที่บุคคลมีความสามารถในการมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่นให้มีพฤติกรรม ตลอดจนทัศนคติไปในทิศทางที่ต้องการ“ อิทธิพล(Influence) คือ "ความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งคนหนึ่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของอีกคนหนึ่งให้ กระทำการไปในทางที่ก่อให้เกิดผลตามที่ตั้งใจไว้"
อำนาจวิถี ทางขึ้นสู่อำนาจ ๑. วิธีสืบทอด ๒. วิธีแต่งตั้ง ๓. วิธีเลือกตั้ง ๔. วิธีครอบงำ ๕. วิธียึดครอง
แหล่งของอำนาจในองค์การ 1. อำนาจจากตำแหน่ง (Position Power) 2. อำนาจส่วนบุคคล (Personal Power) 3. อำนาจจากการเมือง (Political Power)
1. อำนาจจากตำแหน่ง (Position Power) อำนาจจากอำนาจหน้าที่ กฎหมาย (Legitimate Power) หรือ(Authority) อำนาจจากการควบคุมทรัพยากรและการให้คุณ (Reward Power) อำนาจจากการให้โทษ (Coersive Power) อำนาจจากการควบคุมข่าวสารข้อมูล (informational power)
2. อำนาจส่วนบุคคล (Personal Power) อำนาจจากความเชี่ยวชาญ (expert power) อำนาจจากความเป็นเพื่อนและความจงรักภักดี (Referent Power) อำนาจจากความสามารถพิเศษ (Charisma Power)
3. อำนาจจากการเมือง (Political Power) อำนาจการควบคุมกระบวนการตัดสินใจ อำนาจจากการรวมกลุ่ม
รูปแบบการใช้อำนาจของผู้นำ การใช้อำนาจเด็ดขาด การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม
การใช้อำนาจของนักปกครอง ผู้นำ นักปกครองต้องมีอำนาจ แต่มีเอาไว้เพื่อทำอะไร อำนาจของผู้นำเป็นอำนาจเพื่อหมู่คณะ ไม่ใช่อำนาจเพื่อตัวผู้นำ เพราะถ้าผู้นำใช้อำนาจเพื่อตัวเองแล้ว คนใต้การปกครองก็จะหาทางโค่นผู้นำคนนั้นไปเอง ดังนั้นผู้นำต้องคิดอยู่เสมอว่า เป็นผู้นำเพื่อหมู่คณะไม่ใช่ผู้นำเพื่อตัวเอง
แนวทางปฏิบัติการใช้อำนาจ ของนักปกครอง บำบัดทุกข์ ความทุกข์หลักๆ ที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตก็คือ ทุกข์เพราะขาดปัจจัยสี่ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
แนวทางปฏิบัติการใช้อำนาจ ของนักปกครอง บำรุงสุข บำรุงสุขมุ่งไปที่เรื่องของจิตใจ ปัญญา การพักผ่อน ทำสิ่งดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่และดียิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จัดสวนสาธารณะ ลานกีฬา ลานดนตรี หอศิลป์ ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ทันสมัย (เช่น TK park) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ข้อระวังในการใช้อำนาจ หลงอำนาจ ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน พวกตน เหลิงอำนาจ ใช้อำนาจเกินความจำเป็น ใช้ไม่ถูกกาลเทศะ หวงอำนาจ ไม่มอบอำนาจผู้อื่นบ้าง กลัวถูกแย่งชิงอำนาจ
กลยุทธ์บริหารอำนาจ คุณธรรมแห่งการละเลิก เป็นคุณธรรมประเภทแรกที่ต้องฝึกฝน เพื่อให้เกิดความสามารถในการใช้อำนาจอย่างแยบคาย ละเลิกจากความโกรธ ความโลภ และความหลงลืม หรือเรียกอีกอย่างว่าการปล่อยวาง คุณธรรมแห่งการละเลิกนำมาซึ่งความเป็นอิสระและเบาสบายต่อร่ากายและจิตใจ
กลยุทธ์บริหารอำนาจ คุณธรรมแห่งความรัก ต้องบ่มเพาะความสามารถที่จะให้ความรัก ให้การยอมรับ ให้อภัย และโอบกอดผู้อื่นด้วยเมตตากรุณา เมื่อมีอำนาจดังกล่าว ย่อมมีความสุข ผู้คนย่อมให้ความเคารพ
กลยุทธ์บริหารอำนาจ คุณธรรมแห่งปัญญา ความรู้ต่างจากปัญญาเห็นแจ้ง คนมีปริญญาหลายๆใบแต่อาจไร้ซึ่งปัญญาเห็นแจ้งๆ เกิดจากการมองที่ลึกซึ้ง ผู้นำที่แท้จริงมีปัญญาเห็นแจ้ง เพื่อชี้ทางให้เราพ้นทุกข์ เมื่อเรามีปัญญาเห็นแจ้ง เราจะสามารถจัดการกับเรื่องยากๆ ความตึงเครียดและความขัดแย้งต่างๆได้โดยง่าย
ข้อคิดสำหรับการใช้อำนาจของผู้นำ อำนาจเป็นเหมือนดาบสองคม “มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย” อำนาจเป็นสิ่งไม่ยั่งยืนไม่นานก็เสื่อมหมดไป อำนาจที่คงอยู่กับตัวตลอดไปคือ “บารมี” การใช้อำนาจจะอยู่ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลไม่ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล