เทคนิคการจัดการความรู้ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียบเรียงโดย...นริศ ปานศรีแก้ว
การจัดการความรู้ หมายถึง การเข้าไปดูแลและบริหารจัดการความรู้ทั้งแบบ Tacit และ Explicit Knowledge ขององค์กรอย่างเป็นระบบ และให้ความสำคัญกับความรู้ทั้ง 2 แบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทุกระดับ
Tacit Knowledge คือ ความรู้ซ่อนเร้น เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ใน ตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา
Explicit Knowledge คือ ความรู้เด่นชัด เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตารา คู่มือปฏิบัติงาน
การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งได้แก่ การวิจัย การเก็บรวบรวมความรู้ การสื่อสารความรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการนำเอาความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
หลักการพื้นฐานของการจัดการความรู้สำหรับองค์กร แหล่งกำเนิดเริ่มต้นของความรู้อยู่ภายในสมองและจิตใจของบุคลากรในองค์กร การแบ่งบันและการใช้ประโยชน์จากความรู้ในองค์กรเป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์ให้แก่องค์กร การจะทำให้เกิดการแบ่งปันและใช้ความรู้ร่วมกันได้ดีต้องมีการสร้างแรงจูงใจและการให้รางวัลหรือผลตอบแทน
หลักการพื้นฐานของการจัดการความรู้สำหรับองค์กร(ต่อ) การบริหารจัดการความรู้เป็นเรื่องจำเป็นขององค์กร จะต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร และต้องให้ฝ่ายบริหารเห็นความสำคัญ การแข่งขันในยุคใหม่จะต้องแข่งขันกันด้วยการสร้างนวัตกรรม และคุณค่าจากความรู้
หลักการพื้นฐานของการจัดการความรู้สำหรับองค์กร(ต่อ) ความรู้จะเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาองค์กรในทุกๆด้าน และจะทำให้องค์กรมีความก้าวหน้า เทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านไอซีที มีบทบาทและความสำคัญมากในการช่วยจัดการความรอบรู้
แหล่งสะสมรวบรวมความรู้ ได้แก่ งานเอกสาร หรือสิ่งที่พิมพ์ งาน E-book และ E-Library ระบบฐานข้อมูล เว็บ อีเมล์ บุคลากร
Website ที่นิยมใช้กันมากที่สุด Youtube (ยูทูบ) Wikipedia (วิกิพีเดีย) Google (กูเกิ้ล)
Web 2.0 แต่เดิมเราสร้างเว็บเป็นที่สำหรับการนำเสนอผู้ดู เหมือนอ่านป้ายประกาศ แต่เว็บ 2.0 นั้นยอมให้ผู้ดูมีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหา มีกิจกรรมต่างๆ ร่วมด้วย
เครือข่ายสังคม (Social Network)
เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการความรู้ Wordpress : บล็อก Wikipedia : วิกิพีเดีย
บล็อก (Blog) คืออะไร ย่อมาจากคำว่า Web log เป็นเว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึกนึกคิดและข่าวสารต่างๆ ที่ผู้เขียน (Blogger) สนใจ สะท้อนความเป็นตัวตนของผู้เขียน
จุดเด่นของบล็อก เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่งที่สามารถ สื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทาง ระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
เขียนบล็อกเกี่ยวกับเรื่องอะไรดี เมื่อคุณเริ่มมีความคิดที่จะเขียนบล็อก แต่ยังไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีลองนึกถึง เรื่องราวใกล้ตัว ที่คุณชอบและคุณถนัดที่สุด อาจจะเป็นเรื่องที่คุณมีความรู้ลึกซึ้ง หรือ ที่คุณสนใจจะเรียนรู้มัน นั่นจะเป็นหัวเรื่องให้คุณเขียนถึงได้เป็นอย่างดี
เขียนบล็อกเกี่ยวกับเรื่องอะไรดี เช่น หากคุณเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิสุอยู่ คุณอาจจะ ทำบล็อกเกี่ยวกับชิสุโดยเนื้อหาในบล็อกของคุณ อาจเขียนถึงวิธีการดูแลสุนัขชิสุ หรือพูดถึงข่าวสารวงการสุนัขชิสุ โดยคุณจะสนุกกับการหา ข้อมูลมาเขียนและจะได้มีความรู้มากขึ้นในเรื่องสุนัขชิสุด้วย
การใช้งาน Blog การจัดการความรู้ของคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ เข้าไปที่ http://www.vettech.ku.ac.th/wordpress