สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations ) หรือ ASEAN เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า วัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มสมาชิก และธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
One Vision, One Identity, One Community คำขวัญ One Vision, One Identity, One Community (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม )
ประชากร ปี พ.ศ 2550 ประมาณ 575.5 ล้านคน
จีดีพี (ราคาปัจจุบัน) ปี 2551 ทั้งหมด $1,486,500 ล้าน ต่อคน $3,871
การเพิ่มขึ้นของประชากรอยู่ที่ 1.6 % ต่อปี
ASEAN มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ ASEAN มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia เพื่อร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เมื่อดำเนินการได้ 2 ปี ก็หยุดชะงัก เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง อินโดนีเซียและมาเลเซีย
ต่อมามีการฟื้นฟูความสัมพันธภาพระหว่างประเทศ มีการแสวงหาลู่ทางการจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีต รมว.กต. ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ลงนาม “ปฏิญญากรุงเทพ” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ต่อมามีการลงนามใน”ปฏิญญาอาเซียน” โดยประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้
สนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปแนวทาง 6 ประการ ดังนี้ 1. ให้ความเคารพเอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด 2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ 3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น
4. ยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ 5 4. ยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ 5. ประนามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง 6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป