วันอาสาฬหบูชา.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เรื่อง การบริหารจิตเพื่อสุขภาพ
Advertisements

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธี.
พุทธธรรม นำบุคลิกภาพ อ.วิยะดา วรธนานันท์ สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
2 ข้อนี้จัดเข้าในปัญญา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
บุญ ๑๐ วิธี ๑ . ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญสิ่งของที่เราแบ่งปันจะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม.
ศาสนพิธี และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สื่อประกอบการเรียนรู้
เครื่อข่ายเชื่อมโยงการเรียนรู้
พระวาจาทรงชีวิต มิถุนายน 2011.
โฆษณาปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ โดย เสถียรธรรมสถาน
บุญ.
หลักธรรมสำคัญจากวันมาฆบูชา
บทที่๑ กำเนิดพระพุทธศาสนา
เศรษฐกิจพอเพียง.
ชื่อเรื่อง ไตรสิกขาพัฒนาสุขภาพจิต จัดทำโดย ด. ช
ความเชื่อในพระพุทธศาสนาในท้องถิ่นที่มีต่อสุขภาพกาย
เรื่องไตรสิขาพัฒนาสุขภาพจิต
ลักษณะของพุทธศาสนานิกายเถรวาท
อธิบายสัจธรรมสูงสุด สัจธรรมสูงสุดในพุทธศาสนา คือ ธรรม ความหมายของ ธรรม ดังที่ปรากฏในหลักธรรม เรื่อง นิยาม 5 และธรรม ก็คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน สิ่งเคารพสูงสุด.
พระพุทธศาสนา (Buddhism) Lord Buddha.
พระพุทธเจ้าและกำเนิดพระพุทธศาสนา
สอนโดย อาจารย์ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร
พลเมืองดีตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย
เราเป็น หนึ่งเดียว.
สถาบันการศึกษา.
พระพุทธศาสนา ฝึกคนไม่ให้ประมาท.
วันมาฆบูชา.
กระบวนการอริยสัจ 4 เพื่อการแก้ไขปัญหา
ด.ช.ณัฐนันท์ขาววิเศษ เลขที่1ป4/6
คุณธรรม ***** สภาพคุณงามความดี
๒.๒.๒ ลักษณะและคำสอนสำคัญ ๑) ลักษณะสำคัญของพระพุทธศาสนา ปัญญา
วิธีการแสวงหาโมกขธรรม ของพระพุทธเจ้า
มาตรฐานชีวิตชาวพุทธ วางรากฐานชีวิต ทำชีวิตให้ถึงจุดหมาย.
นักเรียนช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒
รู้และเข้าใจเรื่องของชีวิต
ชีวิตที่พอเพียงสู่ความสุขที่ยั่งยืน
ดร.สมโภชน์ นพคุณ รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.
ทบทวน หน่วยที่ 1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา 1
Download ใน หรือ
เกร็ดความรู้ที่เยาวชนไทยควรทราบ
Download ใน หรือ
นายกษิดิ์เดช วันโทน เสนอ เรื่อง วันสำคัญในพระพุทธศาสนา วิชา
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ปี 2552 ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2552.
ศาสนพิธี สำหรับชาวพุทธ.
เรื่อง การบริหารจิตเพื่อสุขภาพ จัดทำโดย นาย ภัทรพงศ์ สินเติม
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
คัดย่อจากจากผลงานธรรมนิพนธ์เรื่องต่างๆ
เนื้อหาพิเศษ : การตั้งเป้าหมาย
มรรค : ธรรมที่ควรเจริญ
ศาสนาพุทธ เรื่อง ฆราวาสธรรม ๔ จัดทำโดย
บทที่ 2 พุทธธรรมกับสังคม.
จัดทำโดย นายธีรภัทร บัวเนียม เสนอต่อ อาจาร์ยสมคิด มีมะจำ
                                                                                       
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
“การเสริมสร้างชีวิตให้เป็นสุข”
จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา
บทที่ 2 ทฤษฏีจริยธรรม.
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
อริยสัจ 4.
ครูธีระพล เข่งวา 1 ครูผู้สอน …… นายธีระ พล เข่งวา โรงเรียนวังไกล กังวล ครูธีระพล เข่งวา.
แนวความคิด/หลักคำสอนที่สำคัญ
รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
จัดทำโดย ด.ช. ดิเรกรัตน์ ด่านลัมจาก เลขที่3
อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
พุทธปรัชญา ความเป็นมา พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์

วันอาสาฬหบูชา อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่า อาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

ความสำคัญ วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศ พระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก จึงถือได้ว่า พระองค์ได้ทรงกลาย เป็นสมเด็จ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสมบูรณ์

ความสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนา เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรด พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ

ความสำคัญ ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้

ความสำคัญ เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ ประกาศสัจจธรรม อันเป็นองค์แห่ง พระสัมมาสัมโพธิญาณ

ความสำคัญ เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะสมบูรณ์ เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท (บัว 4 เหล่า) คือ

อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที 2) วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็น สัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว พิจารณาตามและได้รับการอบรม ฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจ ได้ในเวลาอันไม่ช้า

3) เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า 4) ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็น มิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจ ความหมายหรือรู้ตามได้ ไร้ซึ่งความเพียร ไม่มีโอกาสที่จะเบ่งบานขึ้นมา

พระธรรมที่สำคัญ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" คือพระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม

ในพระสูตรนี้ มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

1) การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค เ 2) การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

 ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 2 1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม 3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต 4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต 5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต 6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด 8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

 1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด   .            2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ 

 3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา   .           4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8

หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ ได้เจริญแล้ว

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา ในวันอาสาฬหบูชานี้ ชาวพุทธควรถือเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่จะพึงประกอบการบูชาทั้งส่วนอามิส บูชา และปฏิบัติบูชา โดยเฉพาะการปฏิบัติบูชานั้น ควรปฏิบัติตนตามหลักธรรม ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา คือ อริยมรรค 8 กล่าวโดยสรุปก็คือ ควรปฏิบัติตน ให้มีศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธองค์ ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา ทำบุญตักบาตร

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา เข้าวัด-ฟังธรรม

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา ปล่อยนก-ปล่อยปลา

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา การเวียนเทียน