การวัดผล (Measurement) กระบวนการในการกำหนดคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัดในเชิงปริมาณ โดยผลการวัดจะแสดงออกในรูปจำนวนหรือตัวเลข
สิ่งที่ ต้องการวัด ผล การวัด เครื่องมือ/วิธีการ ที่ยอมรับร่วมกัน สิ่งที่ ต้องการวัด ผล การวัด
ประเภทของการวัดผล การวัดผลด้านกายภาพ (Physical Measurement) การวัดผลด้านจิตวิทยา (psychological Measurement)
การประเมินผล (Evaluation) การตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจพิจารณาจากผล ที่ได้จากการวัดเท่านั้น แต่ส่วนมากจะตัดสินคุณค่าของสิ่ง ต่างๆ ประกอบกับหลักฐานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวมถึง การใช้วิจารณญาณและความรู้สึกนึกคิดของผู้ประเมิน ประกอบในการตัดสินใจด้วย
ตัดสิน ข้อมูลจากการวัด เกณฑ์/มาตรฐาน ผลการประเมิน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ปรับปรุง
ประเภทของการประเมินผล การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion - Referenced Evaluation) การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm -Referenced Evaluation) การประเมินผลแบบอิงตนเอง (Self - Referenced Evaluation)
จุดมุ่งหมายของการประเมินผลการศึกษา 1. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน 2. เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน 3. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน 4. เพื่อวินิจฉัย 5. เพื่อตัดสินผลการเรียน
จุดมุ่งหมายของการประเมินผลการศึกษา 6. เพื่อจัดตำแหน่ง 7. เพื่อตรวจสอบพัฒนาการผู้เรียน 8. เพื่อพยากรณ์
ปรัชญาของการวัดและประเมินผลการศึกษา “Evaluation is not to prove, but to improve”
หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา 1. การวัดและประเมินผลต้องตรงกับจุดมุ่งหมาย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลต้องมีคุณภาพ 3. การวัดและประเมินผลต้องคำนึงถึงความยุติธรรม 4. การแปลผลของการวัดและประเมินผลต้องถูกต้อง 5. ต้องใช้ผลการวัดและประเมินผลให้คุ้มค่า
ธรรมชาติของการวัดและประเมินผลการศึกษา การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดเชิงสัมพัทธ์ การวัดและประเมินผลการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีความคลาดเคลื่อน
ขั้นตอนการวัดและประเมินผล การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนรู้ ในด้านที่จะมุ่งวัด การกำหนดวิธีการวัดผล การเลือก/สร้างเครื่องมือการวัดผล การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การบริหารการวัดผล การตัดสินค่าจากผลการวัด การให้ผลป้อนกลับจากการวัดและประเมินผล
ประโยชน์ของการวัดและประเมินผลการศึกษา ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง งานแนะแนว การบริหารการศึกษา การวิจัยการศึกษา
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 : การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียน ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ และ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 28 : หลักสูตรการศึกษาต้องมีลักษณะหลากหลาย สาระของหลักสูตรต้องมุ่งพัฒนาคน ให้มีความสามารถ มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรา 24 : จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติ ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลา ทุกสถานที่โดยประสานความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 26 : สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจาก พัฒนาการ ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน
หลักสูตร เป้าหมาย / วัตถุประสงค์ (O) การเรียนการสอน (L) การประเมินผล (E)
ความหมายของคำในกระบวนการจัดการศึกษา - หลักสูตร - วัตถุประสงค์ - การจัดการเรียนการสอน - การประเมินผล