ภาษาโลโก เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่เหมาะสำหรับใช้ในการเรียนรู้ พัฒนาสติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักการการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนโปรแกรมจะสามารถลองผิดลองถูก เรียนรู้โดยการทดลองทำ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดการเรียนรู้ การค้นพบภาษาโลโกพัฒนาโดย Papert และคณะจาก MIT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมและสั่งการคอมพิวเตอร์ แทนการให้ผู้เรียนทำตามคำสั่งที่มีผู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ ตัวแปลภาษาโลโกที่น่าสนใจคือ MSW Logo
กรณีศึกษาการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยภาษาโลโก ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนในการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและปรับปรุง
มาทำความรู้จักกับส่วนประกอบบนหน้าต่างโปรแกรมโลโก โดยการเปรียบเทียบภาพบนหน้าจอ คอมพิวเตอร์กับภาพตัวอย่างข้างล่างนี้
ตัวอย่าง : ลักษณะการเคลื่อนที่และหันหัวของเต่า ตัวอย่าง : ลักษณะการเคลื่อนที่และหันหัวของเต่า เต่าจะไม่เคลื่อนที่ไปไหนเลย ถ้าไม่มี C.A.R. ซึ่งมีความหมายดังนี้ ตัวย่อ คำเต็ม ความหมาย C Command คำสั่งทำอะไร A Argument ทำเท่าไร R Return หรือ Enter คำสั่งลงมือทำ
คำสั่งเบื้องต้นง่าย ๆ สำหรับการเคลื่อนที่และหันหัวของเต่า คำสั่ง ความหมาย FORWARD a เดินหน้า a หน่วย RIGHT m หันขวา m องศา BACK b ถอยหลัง b หน่วย LEFT n หันซ้าย n องศา
รูปแบบการสั่งเต่าเคลื่อนที่และหันหัวเต่า 1) สั่งเต่าเดินหน้า 50 ก้าว
2) สั่งเต่าถอยหลัง 50 ก้าว
3) สั่งเต่าหันซ้าย 90 องศา
4) สั่งเต่าหันขวา 90 องศา
อ้างอิง http://www.toawittaya.ac.th/2012/E-Learning/IT-Class3/lesson8/lesson8.HTM http://www.mwit.ac.th/~jeab/sheet40102/intro.htm http://www.thaigoodview.com/node/90727?page=0%2C1 http://www.kpsw.ac.th/vichit/media/weblogo/unit2_3.html