โฟโตไดโอด (PHOTODIODE) ไดโอดทำงานด้วยแสง เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอีกชนิดหนึ่งที่ค่าความต้านทานภายในตัวไดโอดเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับแสงที่ส่องมากระทบกับสารกึ่งตัวนำในตัวไดโอด โฟโตไดโอด มีขาต่อออกมา ใช้งาน 2 ขา คือขาแอโนด (A) และ ขาแคโถด (K)
การต่อวงจรทำงานให้โฟโตไดโอด วงจรแสดงดังรูป
รูปร่างของโฟโตไดโอด
โฟโตทรานซีสเตอร์ (PHOTOTRANSISTOR) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำทางแสงอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกสร้างและพัฒนามาใช้งานแทนโฟโตไดโอด เพราะมีข้อดีกว่าโฟโตโอดตรงที่ในการใช้งานสามารถทำการขยายสัญญาณที่ส่งออกได้ แสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำงานได้ดี
ออพโต โอโซเลเตอร์ (OPTO ISOLATOR) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อทางแสง ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ล้วน ๆ การส่งผ่านแสง และการรับแสง จะอยู่ในตัวอุปกรณ์เดียวกันทั้งหมดโดยใช้หลักการเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าไปเป็นสัญญาณแสง และเปลี่ยนกลับจากสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเหมือนเดิม ส่วนมากจะสร้างขึ้นมาในรูปของตัว IC แสดงดังรูป
อุปกรณ์ตัวกำเนิดแสงจะเป็นพวก LED ส่วนมากจะเป็นชนิดอินฟราเรด อุปกรณ์รับแสงพวกโฟโตดีเทรเตอร์ (PHOTODETECTOR) จะนำมาใช้งานหลายชนิดด้วยกัน คือ โฟโตไดโอด โฟโตทรานซีสเตอร์ทั้งแบบธรรมดาและแบบดาร์ลิงตัน หรืออาจเป็นโฟโต SCR เป็นต้น
สัญลักษณ์ของออพโตไอโซเลเตอร์ในรูป IC
วงจรการเชื่อมต่อทางแสงโดยใช้ออพโตไอโซเลเตอร์