การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม การประเมินแบบดั้งเดิมที่สอบวัดด้วยข้อสอบมาตรฐาน โดยมากมักจะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ถูกผิด และ เติมคำสั้น ๆ ที่ใช้ในการตอบคำถาม เหล่านี้ไม่สามารถวัดความก้าวหน้าและผลผลิตที่ซับซ้อน ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลาย ๆ ด้านได้ เพราะส่วนใหญ่จะเน้นความจำมากกว่า ความคิดในขั้นสูงและการนำไปใช้จริง
การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) สอดคล้องกับการจัดกระบวน การเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (พรบ.การศึกษา 2542)
วัตถุประสงค์ เพื่อลดบทบาทการประเมินด้วยข้อสอบมาตรฐาน และการทดสอบอย่างเป็นทางการ ด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบ
เป้าหมาย พัฒนาระบบการประเมินในชั้นเรียน โดยการเสริมวิธีการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและปฏิบัติจริง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ การประเมินดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน อย่างแท้จริง เพราะสามารถประเมินได้ทั้งความสามารถ ทักษะ ความรู้ขั้นสูงที่ซับซ้อน ตลอดจนความสามารถในการแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้วิชาต่าง ๆ ได้
ลักษณะการประเมิน เป็นการประเมินเชิงบวก เพื่อค้นหาความสามารถ จุดเด่นและความก้าวหน้าของผู้เรียน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ แก่นักเรียนในจุดที่ต้องการพัฒนาให้สูงขึ้นได้
ลักษณะ เป็นการประเมินที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งใช้ในการประเมินผลโดยรวม ในสถานการณ์ การเรียนการสอนที่ใกล้เคียงชีวิตจริง
ลักษณะ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนได้ปฏิบัติจริง และ นักเรียนเป็นผู้สร้างงาน และสร้างความรู้โดยครูเป็น ผู้ชี้แนะให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองอย่างเต็มความสามารถ
สาเหตุ ในปัจจุบัน ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ทักษะและ คุณลักษณะที่สามารถต่อสู้ แข่งขันกันเพื่อความสำเร็จ ต้องพัฒนาคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น สื่อสารเป็น ใช้เทคโนโลยีได้ ประสานประโยชน์ได้ เจรจาแลกเปลี่ยนได้ แก้ไขปัญหาได้ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
หน้าที่คุณครู ครูจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินผลจากแนวทางเดิมให้ไปสู่วิธีการประเมินผลที่สามารถประเมิน ความก้าวหน้าในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่มาจากการจัดกิจกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
ทำอะไรได้มากกว่ารู้อะไร ประเมินผลตามสภาพจริงจะเอื้อต่อการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าการเรียนการสอน ที่เกิดจากครูเป็นผู้บอกความรู้ แต่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการกระทำมากขึ้น การประเมินผลตามสภาพจริงจะแสดงให้เห็นว่านักเรียนทำอะไรได้ มากกว่าจะบอกว่านักเรียนรู้อะไร
การประเมินตามสภาพจริง ปฏิบัติอย่างไร เมื่อนักเรียนเรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ย่อย ๆ ครูก็ซ่อมด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้สอน ปัญหานี้จะหมดไป ถ้าครูจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลจากสภาพจริง เพราะมีรายงานหรือหลักฐานการปฏิบัติงานของนักเรียน ขณะเรียนและมีการพัฒนาแก้ไขข้อบกพร่องมาโดยตลอด รวมทั้งมีบันทึกการปฏิบัติงาน การรายงานการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ของผู้เรียนแต่ละคน รวมทั้งมีข้อมูลแสดงความสามารถของผู้เรียน ซึ่งแสดงว่าผู้เรียน ทำอะไรได้มากกว่ารู้อะไร
เจตนาที่แท้จริงของการประเมิน โดยทั่วไป ครูให้ความรู้ เมื่อเห็นว่าผู้เรียนรู้แล้วจึงทำการประเมินผล ซึ่งใช้วิธีที่เรียกว่าการสอบ ทำให้ผู้เรียน เกิดความวิตกกังวล ไม่มีความสุขเพราะดูเหมือนว่า เป็นการจับผิดจุดด้อยของผู้เรียน แต่เจตนาที่แท้จริงของการประเมินคือ การช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครู เป็นการค้นหาจุดดีมากกว่า
เกณฑ์การประเมินผลที่ดี 1. การประเมินผลต้องมีความตรงคือสอดคล้องกับ เป้าหมายและจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. การประเมินผลจะต้องไม่ใช้เฉพาะการทดสอบด้วย ข้อสอบเลือกตอบที่สอบเป็นกลุ่ม เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ และตัดสินผลการเรียนเท่านั้น
เกณฑ์การประเมินผลที่ดี 3. ต้องสามารถวัดนักเรียนได้หมดทั้งครบ ทั้งร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา 4. การประเมินต้องเกี่ยวข้องกับการสังเกตซ้ำ ๆ หลายครั้ง หลีกเลี่ยงการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเมื่อพบพฤติกรรม ที่ไม่เป็นปกติของนักเรียน 5. การประเมินนักเรียนต้องเปรียบเทียบความก้าวหน้าของ ตนเองมากกว่าจะเปรียบเทียบกับกลุ่ม
เกณฑ์การประเมินผลที่ดี 6. การประเมินผลจะต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อรวบ รวมข้อมูลจากแหล่างต่าง ๆ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการ ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล 7. ข้อมูลจากการประเมินผลจะต้องนำไปใช้ในการปรับ หลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กแต่ละคน