ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ประวัติเบื้องต้น พระอุบาลีเถระเป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ บิดามารดาเป็นใครไม่ปรากฏ ก่อนออกบวชท่านทำหน้าที่เป็นกัลบกคือช่างตัดผมของเจ้าชายศากยะ ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ในสมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ และพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์ เจ้าชายแห่งราชวงค์ศากยะ ๖ พระองค์คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภคุ กิมพิละ และเทวทัต ได้พร้อมใจกันออกบวช ขณะที่เจ้าชายทั้ง ๖ เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น มีข้าราชบริพารตามส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จไปถึงชายแดนของแคว้นสักกะ เจ้าชายศากยะทั้ง ๖ ก็รับสั่งให้ข้าราชบริพารกลับเมืองกบิลพัสดุ์ คงเหลือแต่อุบาลีตามเสด็จเพียงคนเดียว ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี และเมื่อเดินทางต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง เจ้าชายศากยะทั้ง ๖ก็ทรงปลดเปลื้องทรัพย์สินและของมีค่าของพระองค์รวมกัน แล้วใช้ผ้าห่อรวมกันแล้วทรงมอบให้แก่อุบาลี พร้อมกับรับสั่งว่าให้อุบาลีเดินทางกลับเมืองไปเสีย อุบาลีไม่อาจขัดรับสั่งได้ จึงจำใจรับเอาห่อของมีค่านั้นแล้วเดินทางกลับ เมื่อเดินทางกลับไปได้ไม่ไกลนัก อุบาลีฉุกคิดขึ้นว่า เมื่อตนกลับไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ พระราชบิดา พระราชมารดาของเจ้าชายทั้ง ๖ พระองค์อาจจะทรงคิดว่าตนลอบปลงพระชนม์เจ้าชายศากยะทั้ง ๖ พระองค์แล้วยึดเอาของมีค่ากลับมา ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี เมื่อเป็นเช่นนั้น ตนเองย่อมจะต้องได้รับโทษ อีกทั้งท่านคิดขึ้นได้ว่าเจ้าชายศากยะทั้ง ๖ ได้ทรงสละของมีค่าได้ง่ายดายเหมือนกับถ่มน้ำลายเพื่อเสด็จออกบวช เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุใด ท่านจึงจะต้องไปรับเอาสิ่งของมีค่าเหล่านั้นเล่า เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว ในที่สุดอุบาลีก็ได้นำห่อของมีค่าไปผูกแขวนไว้ที่กิ่งไม้ริมทางแล้วรีบเดินทางย้อนกลับไปจนทันเจ้าชายทั้ง ๖ ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี การบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เมื่อเจ้าชายศากยะทั้ง ๖ พร้อมด้วยอุบาลีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลขอบวชนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบดีว่า โดยปกติเจ้าศากยะจะถือตัว และไม่ยอมทำความเคารพใครง่าย ๆ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงให้อุบาลีบวชก่อน ต่อจากนั้นจึงให้เจ้าชายศากยะบวช การที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำเช่นนี้ เพราะมีพระประสงค์จะให้เจ้าชายศากยะได้ทำความเคารพพระอุบาลีเพื่อทำลายความถือตัว เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระเรื่องการทำความเคารพกันตามลำดับพรรษา กล่าวคือผู้มีพรรษาน้อยทำความเคารพผู้มีพรรษามาก ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ในกรณีที่บวชวันเดียวกัน ใครเข้าบวชก่อน ผู้เข้าบวชภายหลังจะต้องเคารพผู้บวชก่อนนั้น หลังจากบวชแล้วได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระภคุ และพระกิมพิละ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ คงเหลือแต่พระอานนท์ พระเทวทัต และพระอุบาลีที่ยังไม่สามารถบำเพ็ญเพียรให้บรรลุธรรมได้ ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ด้วยความที่พระอุบาลีต้องการจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงได้เรียนกรรมฐานแล้วกราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อจะเดินทางไปแสวงหาที่สงบเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้ท่านอยู่ปฏิบัติธรรมในสำนักของพระองค์ เพราะจะทำให้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งท่านก็เชื่อฟังพำนักบำเพ็ญเพียรพร้อมกับศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักของพระพุทธเจ้าอยู่ จน กระทั่งในที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกับเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านพระวินัย ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ผลงานสำคัญ พระอุบาลีเถระมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ท่านมีความชำนาญพิเศษในพระวินัย และมีผลงานที่เกี่ยวกับความชำนาญของท่านที่ควรนำมากล่าวถึง ๓ ประการ คือ ๑. การวินิจฉัยอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้ท่านวินิจฉัยอธิกรณ์ (ตัดสินคดี) ๓ เรื่อง คือ เรื่องของพระภารุกัจฉกะ เรื่องของพระอัชชุกะ และเรื่องของภิกษุณีมารดาของพระกุมารกัสสปะ ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ๒. ท่านได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นผู้ตอบปัญหาพระวินัยในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน ซึ่งท่านได้รับหน้าที่นั้นโดยการรวบรวมพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ มาจัดไว้เป็นหมวดหมู่จนปรากฏเป็น “พระวินัยปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้ ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ๓. พระอุบาลีเถระได้สอนพระวินัยให้บรรดาสัทธิวิหาริกของท่านทรงจำสืบต่อกันมา เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จนถึงการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช การที่พระพุทธศาสนาอยู่ได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ นับได้ว่าพระอุบาลีมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้รับภาระสืบทอดสายพระวินัย ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี แบบอย่างในการดำเนินชีวิต พระอุบาลีเถระ มีแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้คือ ๑. เป็นผู้มีความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อเจ้านายเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่ง ๒. เป็นผู้มีความทรงจำเชี่ยวชาญในหลักพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เลิศในทางวินัย เป็นแบบอย่างของการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถรอบรู้เป็นที่ยอมรับ และได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบุคคลอื่นได้ ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com
ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com พระอุบาลี ๓. เป็นกำลังสำคัญในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ร่วมกับพระมหากัสสปะเถระ และพระอรหันต์อื่น ๆ รวม ๕๐๐ รูป หลังจากนั้นก็ได้สั่งสอนสัทธิวิหาริกของท่านให้ทรงจำพระวินัยสืบกันมาเป็นทอด ๆ จนถึงการสังคายนาครั้งที่ ๓ ศิษย์สายของท่านก็ได้เป็นหลักในการสังคายนา ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา สำนักสงฆ์สวนวาง www.watsuanvang.com