ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี 2 ประเภทคือ คือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี 2 ประเภทคือ 1.วจนภาษาหมายถึงภาษาพูด และภาษาเขียน 2.อวจนภาษา อ แปลว่าไม่ หมายถึงภาษาที่ไม่ใช่ภาษาพูดและภาษาเขียนแต่เป็นภาษากาย
ประเภทของอวจนภาษา 1.สายตา(เนตรภาษา) เป็นการแสดงออกทางดวงตาซึ่งจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า เช่นการหรี่ตาแสดงออกถึงความไม่แน่ใจ 2.กิริยาท่าทาง( อาการภาษา) เป็นการแสดงกิริยาท่าทางของบุคคลสามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูดเช่นการพยักหน้าแสดงถึงการยอมรับหรือตกลง การยิ้มแสดงถึงความสุขเป็นต้น
3.สิ่งของหรือวัตถุ(วัตถุภาษา)เป็นอวัจนภาษาที่สามารถสื่อความหมายได้จากวัตถุที่บุคคลใช้เช่นเสื้อผ้า เครื่องประดับเช่นสวมแหวนนิ้วนางซ้ายของชายและหญิงแสดงว่าแต่งงานแล้วหรือใช้ของแบรนด์เนมแต่งกายภูมิฐานแสดงว่ามีฐานะดีเป็นต้น 4. น้ำเสียงหรือ(ปริภาษา) เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูดได้แก่ความดัง ความเบาของน้ำเสียง การพูดเร็วหรือรัว การพูดที่หยุดเป็นช่วงๆแสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัวหรือเสียงสั่นเครือแสดงถึงความเศร้าเป็นต้น 5.เนื้อที่หรือช่องว่าง(เทศภาษา) ช่อองว่างของสถานที่หรื่อระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกันเป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจกันได้เช่นระยะห่างของหญิงชาย การเดินคลอเคลียกันของชายหญิงย่อมแสดงถึงความสัมพันธ์ของคนนั้นได้ 6.กาลเวลา(กาลภาษา) เวลาเป็นสิ่งที่สามารถสื่อความหมายได้เช่นการไปก่อนเวลาสอบแสดงถึงความสำคัญของสิ่งนั้น ในวัฒนธรรมตะวันตกการตรงต่อเวลาถือว่ามีความสำคัญมาก การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายถือว่าเป็นการดูถูกและเสียมารยาทเป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น 7.การสัมผัส(สัมผัสภาษา) เป็นอวัจนภาษาที่แสดงออกถึงการเพื่อสื่อความรู้สึก อารมณ์ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่นการโอบกอด แสดงถึงความรักความห่วงใย ปลอบประโลมเป็นต้น
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างการใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษามีดังนี้ 1.ใช้แทนกันการใช้อวัจนภาษาแทนวัจนภาษากันเช่นเช่นชายหนุ่มถามหญิงสาวว่าคุณรักผมไหม หญิงสาวได้แต่ยิ้มและพยักหน้าแทนคำตอบ 2.ใช้ซ้ำกันเช่นเพื่อนชวนกินส้มตำเราตอบปฏิเสธพร้อมส่ายหน้า การส่ายหน้าเป็นอวัจนภาษาที่ซ้ำกับคำพูดที่พูดไปหากเพื่อนไม่ได้ยินก็สามารถเข้าใจได้จากการส่ายหน้า 3.ใช้เสริมกัน การใช้อวัจนภาษาเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักให้แก่คำพูดเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกเช่นแม่มีน้ำเสียงสั่นเครือเมื่อพูดถึงชีวิตที่ลำบากที่ต้องเลี้ยงดูลูกที่พิการทางสมอง พร้อมกับมีน้ำตาคลอเบ้าใบหน้าหม่นหมอง 4.ใช้เน้นกัน การใช้อวัจนภาษาเน้นข้อความที่พูดเช่นชาวบ้านพูดว่าตอนนี้ระดับน้ำในหมุ่บ้านสูงถึงเอวพร้อมทำมือประกอบ 5.ใช้ขัดแย้งกัน การใช้อวัจนภาษาที่สื่อความหมายตรงกันข้ามกับวจนภาษาเช่นเราขอยืมดินสอเพื่อนเพื่อนบอกว่าได้แต่มีสีหน้าเฉยเมยไม่เต็มใจแต่ก็ยื่นดินสอให้