ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดย ครูเพ็ญประภา หร่ายเจริญ
การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวเส้นตรง การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวเส้นตรง อาจมีลักษณะการเคลื่อนที่ในแนวราบคือขนานไปกับพื้นหรือเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง หรือในแนวเอียงทำมุมกับพื้น ศึกษาได้ดังตัวอย่าง การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ตามแรงโน้มถ่วงของโลก การเคลื่อนที่ในแนวราบ การเคลื่อนที่ในแนวเอียงทำมุมกับพื้น
การเคลื่อนที่แนวโค้งแบบวงกลม การเคลื่อนที่แนวโค้งแบบวงกลม เช่นการโคจรของโลก ชิงช้าสวรรค์ เป็นการเคลื่อนที่ที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นทิศทางของแรงเหวี่ยงกับแรงหนีศูนย์กลาง ถ้านักเรียนใช้เชือกผูกหูกระป๋องน้ำใส่น้ำแล้วเหวี่ยงเป็นวงกลมน้ำจะไม่หกออกนอกกระป๋อง เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนเป็นวงกลม
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (projectile motion) เป็นการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้งของวัตถุที่ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ทั้งแนวดิ่งและแนวระดับไปพร้อม ๆ กัน เช่น การขว้างวัสดุออกไปในอากาศด้วยแรงค่าหนึ่งจะเกิดการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ดังตัวอย่าง
แรงผลักทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวราบด้วยความเร็วคงที่ แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อมวลของวัตถุดึงวัตถุให้ตกลงสู่พื้นโลกในแนวดิ่งจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นในแนวดิ่ง จึงมีลักษณะเฉพาะเป็นวิถีโค้ง ความเร็วในแนวดิ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมากกว่าความเร็วในแนวระดับ จะทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นดิน
ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การยิงธนู การเคลื่อนที่ของโลมา การเตะฟุตบอล การตีลูกเทนนิส
การกระโดดของกบ การกระโดดไกล
การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบสั่น เช่น การแกว่งของชิงช้า การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา การสะบัดของเส้นเสียงของเครื่องดนตรี การสั่นของมวลที่ติดกับปลายแผ่นสปริง เป็นต้น
การแกว่งของชิงช้า
การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา
ภาพแสดงการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน