การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) รศ.ดร. โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล
หลักเบื้องต้นของการวิจัยในเชิงคุณภาพ การเชื่อในหลักปฏิฐานนิยม การเชื่อในหลักปรากฏการณ์นิยม การค้นหาความรู้ที่เป็นความจริง จากผู้รู้ที่รู้จริง (Key informants)ในประเด็นที่ค้นหาคำตอบ ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเนื้อหา (Content) ที่เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว อาจเขียนในลักษณะของเรียงความ เรื่องเล่า ถอดเทปบทสนทนา เนื้อความจากเอกสาร จดหมายเหตุ ฯลฯ ภาพถ่าย แผนที่ วัตถุ ฯลฯ
หลักสำคัญในการวิจัยในเชิงคุณภาพ เชื่อในความจริง (Reality) ที่ปรากฏและนักวิจัยเห็น อัตวิสัย (Subjectivity) แล้วอธิบายเป็นความรู้ (Knowledge) ที่ปรากฏ โดยนักวิจัยเป็นผู้ตีความ การมีความรู้ในทฤษฎีหลักที่ใช้เป็นฐานคิดในการวิจัยจะช่วยให้ตีความได้เร็วขึ้น การวิเคราะห์จะแม่นตรงมาก กระบวนการในการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา ต้องอ่านเนื้อความที่เป็นข้อมูลร้อยแก้ว บทถอดเทป ฯลฯ จากทุกแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดและถี่ถ้วนจนตกผลึก (Internal validity)
หลักสำคัญในการวิจัยในเชิงคุณภาพ และต้องตรวจสอบกับข้อมูลที่ได้จากแหล่งอื่นๆ เช่น วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่ผ่านมา (External validity) ว่าเนื้อความที่ได้ คล้าย สอดคล้องหรือแตกต่างอย่างไร หากแตกต่างต้องแยกประเด็นออกมา แล้ววิเคราะห์ว่าเพราะอะไร เช่น เวลาเปลี่ยนแปลง ทัศนคติเปลี่ยน ค่านิยมเปลี่ยน (ไม่ใช่ความแตกต่างของผู้ให้ข้อมูล เพราะถือว่าไม่มีความแตกต่างเนื่องจากทุกอย่างได้มาตามหลักระเบียบวิธีวิจัยแล้ว)
กระบวนการในการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา Thesis Synthesis Antithesis Thesis คือ ทฤษฎี หรือองค์ความรู้หลักที่ใช้เป็นฐานในการพิสูจน์ Synthesis คือ ขั้นตอน การสังเคราะห์ วิเคราะห์ คิดและตีความ Antithesis คือ ขั้นตอนการสรุปผลที่ได้ว่าขัดแย้งหรือสอดคล้องกับทฤษฎี (หากเป็นการตรวจสอบทฤษฎีจะได้ผลยืนยันทฤษฎี)
หลักสำคัญในการตีความ (Content Analysis) นฤมิตนิยม (Constructionism) ให้ความสำคัญกับความคิดรวบยอดที่สรุปออกมาว่ามีเนื้อหาที่สำคัญที่สุดจากประเด็นที่ปรากฏอย่างไรบ้าง ในการแยกประเด็น อาจจำแนกเป็นข้อๆตามเนื้อหา นัยนิยม (Interpretivism) การตีความตามความจริงที่คาดว่ามีนัยยะ หรือส่อเค้าว่าจะเป็นอย่างที่ให้เนื้อความไว้ เช่น ตามทฤษฎีคนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดสูง ดังนั้นในการตีความจะพิจารณาถึง นัยยะที่ส่อเค้าคือความอ้วน “ในชุมชนล้วนมีแต่คนอ้วน หลายคนชอบกินของมันๆ เช่นเครื่องในสัตว์ มันเป็นความชอบของคนพื้นเพนี้ จะแก้ไม่ให้กินเลยคงไม่ได้”
หลักสำคัญในการตีความ (Content Analysis) สัญญนิยม (Phenomenology) เป็นเนื้อความที่ให้ความหมายไปในทางที่เป็นสัญญาณหรือปรากฏการณ์ว่าน่าจะตีความไปตามที่เห็นหรือที่ปรากฏนั้น ยกตัวอย่างเช่น ตามทฤษฎีว่าด้วยการป่วยเป็นโรคเอดส์ อาการจะได้แก่ มีตุ่มดำที่คอ ลำตัว แขน ฯลฯ รูปร่างผอม ตัวดำคล้ำ มีสะเก็ดเงินหลุดล่วง ฯลฯ
การตีความ (Interpretation) ในข้อมูลที่เป็นร้อยแก้วเขียนว่า “ผู้ชายวัยแรงงานที่มาโรงพยาบาลช่วงนี้ส่วนมากที่คอจะมีตุ่มดำคล้ำ ตัวผอมมากๆเลย แต่ละคนที่แขนจะมีอะไรก็ไม่รู้ร่วงเหมือนสะเก็ดรังแคสีขาวๆ เหมือนคนไม่สบายมากๆเลย..... บางคนเวลาพูดเราแอบเห็นลิ้นเขาเป็นสีขาวๆ นั่งเดี๋ยวหลับ เดี๋ยวลุก เดินเหมือนคนไม่มีแรง ถ่มถุยเสมหะตลอด... .” เนื้อความนี้คือสัญญาณที่ส่อว่าน่าจะเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์
การตีความ (Interpretation) ควรมีการเขียนแผนผัง (Diagram) เพื่อช่วยในการตีความและวิเคราะห์ ขั้นตอนนี้จะเริ่มทำเมื่อคิดว่าอ่านข้อมูลที่ได้จนตกผลึก ค้นพบว่าข้อมูลนิ่ง ไม่มีอะไรใหม่ปรากฏขึ้นมาอีก อ่านแล้วพบว่าเนื้อหาที่ได้วนไปวนมาซ้ำอยู่กับที่ จึงวาดแผนผังขึ้นมาเพื่อช่วยในการเขียน ตัวอย่างแผนผังเช่น ลักษณะครัวเรือน ความเชื่อ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
การตีความ (Interpretation) ลักษณะหมู่บ้าน ความเชื่อ การเคารพผู้วิเศษ การรักษาแผนโบราณ การไม่ยอมรับแผนใหม่
การตีความ (Interpretation) ในการวิเคราะห์และตีความต้องนำความรู้จากทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงานวิจัยที่ผ่านมา มาร่วมพิจารณาด้วยทุกครั้ง โดยต้องเขียนผสมผสานเข้าด้วยกันในลักษณะการอ้างอิงและระบุเชิงอรรถ เช่น ใช้คำว่า สอดคล้องกับ คล้ายกับ ขัดแย้งกับ ตอบโต้กับ ฯลฯ หากไม่มีการนำทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่ผ่านมา มาร่วมบรรยายในลักษณะข้างต้น ผลการวิเคราะห์ในเชิงการบรรยายจะเหมือนกับเรื่องเล่า เป็นการบรรยายข้อมูลที่ขาดการวิเคราะห์และตีความรายงานจะไม่มีคุณค่า