วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวชิรป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน วัฒนธรรมกับภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวชิรป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
Free template from www.brainybetty.com
“ภาษาของชนชาติจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้น”
ความหมายและลักษณะของวัฒนธรรม วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมารวมถึง ความคิดเห็น ความประพฤติ กิริยาอาการ ภาษาศิลปะ ความเชื่อ ประเพณี เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อวัจนภาษา กิริยาท่าทาง การสัมผัส ลักษณะทางกายภาพ วัจนภาษา ใช้ภาษาหลากหลาย มีกำหนดคำลงท้าย ใช้คำคล้องจอง ใช้การเปรียบเทียบ
องค์ประกอบที่ทำให้ใช้ภาษาแตกต่างกัน ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙.
องค์ประกอบที่ทำให้ใช้ภาษาแตกต่างกัน อายุ เพศ ประสบการณ์ ความใกล้ชิด โอกาส การอบรม/การศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง/ฐานะ สภาพภูมิศาสตร์
สรุป ความสัมพันธ์ภาษากับวัฒนธรรม ๑) ภาษาเป็นเครื่องแสดงความเป็นชาติ และวัฒนธรรมของชาติ แสดงถึงความผูกพัน เป็นชนชาติเดียวกัน และมีประโยชน์ต่อนักภาษาศาสตร์ที่สามารถสืบค้นความเป็นมาของชนชาติตน ๒) ภาษาเป็นเครื่องแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในฐานะของผู้ส่ง-ผู้รับภาษา และในฐานะความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ ๓) ภาษาเป็นตัวแทนของพฤติกรรม และกิจกรรมที่ถ่ายทอดความเป็นสังคมของมนุษย์
สรุป ความสัมพันธ์ภาษากับวัฒนธรรม ๔) ภาษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แสดงความเชื่อทางการเมือง ความศรัทธาความจงรักภักดีต่อระบอบการปกครองและทางการเมือง ๕) ภาษาช่วยในการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบัน ๖) ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์สังคม
ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับวัฒนธรรม ๑. ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่นิยมความประณีต ละเมียดละไม จากการใช้คำให้ตรงกับความหมายให้ถูกต้องและเหมาะสมตามฐานะของบุคคล เช่น การใช้คำราชาศัพท์ และระดับภาษา เป็นต้น ๒. ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมประสมประสาน จากการที่ภาษาไทยได้ยืมคำจากภาษาอื่นๆมาใช้ ซึ่งเราสามารถใช้คำเหล่านี้ได้กลมกลืนกันและเหมาะสม
ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับวัฒนธรรม ๓. ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรม ที่เจริญด้านศิลปวัฒนธรรม จากการมีศัพท์เรียกต่างๆ ทั้งเครื่องดนตรี เช่น แตร ปี่ ซอ กลอง ศัพท์ที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์ เช่น วง จีบ เป็นต้น ๔. ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน นิยมใช้คำคล้องจอง จากการตั้งชื่อต่างๆ เช่น ชื่อหนังสือ ถ้อยคำสำนวนต่างๆ คำประพันธ์ เป็นต้น
“หันเปิ้นมีบ่ดีใคร่ได้ หันเปิ้นขี้ไร้อย่าไปดูแคลน” คำคมวันละคำ “หันเปิ้นมีบ่ดีใคร่ได้ หันเปิ้นขี้ไร้อย่าไปดูแคลน”