ฐานข้อมูลงานวิจัยและการประเมินงานวิจัยในอนาคต พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
e-research in research university น่าจะแปลว่า “มหาวิทยาลัยที่เน้นหนักด้านการวิจัย” อย่างไรก็ตาม การกำหนดน้ำหนักที่ชัดเจนในการวัดผลสัมฤทธิ์ ไม่ชัดเจน กลยุทธ หนึ่งที่ใช้คือ e-research น่าจะแปลว่า “การวิจัยโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ” เนื่องจากเป็นการลด ข้อจำกัดหลายอย่างในการทำวิจัย ทั้งด้าน ต้นทุน เวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสืบค้น
นนทรีเน็ต กับ e-research ที่จะพูดวันนี้ อยู่บนอินเทอร์เน็ตเกือบทั้งหมด ขึ้นกับว่า เรามีสิทธิใช้มากหรือน้อยเพียงใด วันนี้ ... ถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ต ยากต่อการทำค้นคว้าวิจัย เช่น ค้นยาก ติดต่อยาก E-research จะเหลือเพียง ซอฟต์แวร์แพกเกจ กับ ซีดีรอม โอเค ... เผอิญเรามีเน็ตที่เร็วมากๆที่หนึ่ง แม้ว่าบางทีก็เร็วไม่ทันใจ เมื่อความกว้างการส่ง (bandwidth) ข้อมูลเพิ่ม ลักษณะการใช้งานก็เพิ่ม ดีที่สุดเท่าที่เงินเรามีแล้วครับ
ข้อมูล มักเป็นส่วนที่แพงที่สุดในการทำการทดลอง ข้อมูล ฟรี/ไม่ฟรี แพงกว่าซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ตำรา ฯลฯ ข้อมูล ฟรี/ไม่ฟรี มีประโยชน์มากมักไม่ฟรี ฟรีมักมีจำนวนไม่มากพอ ไม่ฟรีมักไม่ open บางครั้ง ที่เรา submit เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของ server มากกว่าเรา โดยที่เราไม่รู้ว่าเขาใช้ประโยชน์อย่างไร (มองในแง่ดีไว้ก่อนนะครับ)
ข้อมูลพร้อมใช้ มีฐานข้อมูลเฉพาะเรื่องอยู่มาก จริงๆมีอยู่เยอะครับ แต่มักไม่คอยมีคนเอาไปใช้ เนื่องมาจาก ไม่ค่อยตรง ไม่เผยแพร่ ไม่ครบ หวง หรือ จริงๆแล้วไม่มี ฯลฯ จริงๆมีอยู่เยอะครับ มีผู้รวบรวมไว้พอสมควร แต่ มักไม่มีอะไรตรงความต้องการทั้งหมด ต้องมีการ preprocessing ก่อน และก็ นึกไม่ออกว่าจะเอาไปทำอะไร
ตัวอย่าง ข้อมูลพร้อมใช้ Biomirror.ku.ac.th FAO Waicent อื่นๆ ดูในเว็บสำนักหอสมุดเอาเองนะครับ ข้อมูลการเกษตร ข้อมูลศัพท์การเกษตร ฯลฯ
สารสนเทศวิจัยใน ม.เกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุด เป็นแหล่งบทความวิจัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในงบประมาณที่มี การใช้ “ไม่คุ้มค่า เพราะใช้กันน้อยมาก” เมื่อเทียบกับที่อื่น ฐานข้อมูลสำคัญ ScienceDirect http://www.sciencedirect.com ทั้งหมดที่มี http://www.lib.ku.ac.th/reference_DB.htm ปีหน้า ได้ข่าวว่าจะมี Web Of Science ให้ใช้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มีหน้าที่เก็บรวบรวมรายงานวิจัยใน ม.เกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานจากทุนอุดหนุนวิจัย เก็บงานนอกทุนอุดหนุนวิจัย เช่น จาก สกว ฯลฯ
สถานะข้อมูลงานวิจัย ทุน ผลงาน ทุนอุดหนุนวิจัย ครบ สกว ครบ สวทช คาดว่าครบ ทุนกระทรวงต่างๆ มีเท่าที่แจ้ง ทุนต่างประเทศ มีเท่าที่แจ้ง ผลงาน งานทีอยู่ใน Scifinder, Scopus ครบ งานที่ตอบเมื่อเวียนขอ มีเท่าที่แจ้ง Proceedings มีเท่าที่แจ้ง สิทธิบัตร มีเท่าที่แจ้ง
การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยภายใน ที่ผ่านมาทำเป็น “แบบสอบถาม” แต่ข้อมูลไม่ครบและไม่ถูกต้อง ทำซ้ำซ้อนหลายหน่วยงาน หน่วยงานที่ต้องการข้อมูลไม่รู้จะขอใคร ก็เวียนแบบสอบถามไปเรื่อย นักวิจัยเบื่อหน่ายที่จะกรอก เพราะ “เพิ่งจะกรอกให้ … ไปหยกๆ … มาขออีกแล้ว ไม่ใช่ว่างนะ” กรอกให้ทำไมไม่ใช่งานเรา ทำให้แล้วเงินเดือนก็ไม่ขึ้น กรอกด้วยจำนวนที่ต่ำที่สุด (แต่ตอนขอผลงานกะพิมพ์สูจิบัตรกรอกเต็มที่) อย่างไรก็ตาม มีกระบวนที่จะได้ข้อมูลครบแต่ไม่สามารถรวบรวมได้ เชน ใน กม.๓ ซึ่งได้ครบตลอด
สรุป ปัญหาคือ ไม่มีกระบวนการประมวลผลสารสนเทศงานวิจัยที่เหมาะสม ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเพื่อที่ให้ได้ข้อมูลได้ถูกต้อง ข้อมูลไม่มีการทวนสอบ (validation)
ทางออกที่เหมาะสม แจ้งข้อมูลที่เดียว โดยนักวิจัยเอง ผู้ดูแล ถือเป็นหน้าที่ของนักวิจัย เพราะยังไงก็ต้องรายงานตอนเสนอผลงานอยู่แล้ว ผู้ดูแล มีผู้ที่ดูแลอย่างเป็นทางการ (authorization) มีการการทวนสอบ (validation) ประโยชน์ของข้อมูลได้มาจากแหล่งเดียว เมื่อนักวิจัยรายงานแล้ว ก็ไม่ต้องกรอก เพื่อขอตำแหน่งอีก การทำรายงานประจำปีของทุกหน่วยงาน สามารถสรุปผ่านระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อข้อมูลวิจัยมีเพียงแหล่งเดียว การประเมินผล ในทุกระดับจะทำได้ตลอดเวลา ข้อมูลจะถูกต้องมากขึ้น จะทราบการเปลี่ยนแปลงจำนวนงานวิจัยโดยทันที แทนที่จะได้จากช่วงคาบของการออกแบบสอบถาม สามารถนำมาใช้ประกันคุณภาพ เพื่อยืนยันว่าผ่าน “มาตรฐาน” สามารถนำมาประเมิน “สมรรถนะ” เพื่อตรวจสอบความเข้มแข็งเชิงการแข่งขัน ในทุกระดับ ทั้งภาควิชา คณะ วิทยาเขต สามารถนำมาใช้วางแผนการวิจัยในปีถัดๆไปได้
อะไรที่ควรเก็บ เอาเป็นว่าทุกอย่าง ผู้กรอกที่คิดว่าเหมาะสม เพราะ เราต้องการทุกอย่าง หากว่าต้องมีการประเมิน จะเลือกมาเฉพาะที่ต้องการ ข้อมูลที่ส่งมาจะมีการทวนสอบ เช่น มีการเก็บ reprint มีการรับรอง ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลกลางจะมีการรับรอง (certified)
ฐานข้อมูลที่ควรเป็น แกนฐานข้อมูล Publication Index (pindex) มีเพียงตัวเดียว Publication Index (pindex) จะเป็นส่วนเผยแพร่สู่ภายนอก KU Research Performance Index (อยู่ในระหว่างดำเนินการ) เป็นส่วนที่ใช้ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อเก็บรวบรวม ประเมินสมรรถนะ และ เป็นข้อมูลสำหรับตัดสินใจ มหาวิทยาลัยจะต้องให้ความสำคัญต่อข้อมูลที่ authorized และ validated แล้วเท่านั้น เป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่จะต้องแจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบ
แผน ออกแบบระบบป้อนข้อมูลโดยนักวิจัย ออกแบบวิธีการประเมินสมรรถนะ กำหนดดัชนี ประชาพิจารณ์ นำเสนอแนวทางปฏิบัติต่อมหาวิทยาลัย สถานะการดำเนินการปัจจุบัน ระบบข้อมูลอยู่ในระหว่างการ ชำระ ข้อมูลเก่า และออกระบบเพื่อรับข้อมูลใหม่ ประสานกับสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เกียวข้องกับ Publication Index
สาธิตระบบต้นแบบ
ข้อสังเกต หัวข้อรางวัลในปีนี้ มีรางวัลประเภทใหม่ หน่วยงานได้รับทุนวิจัยต่อจำนวนบุคคลากรสูงสุด หน่วยงานได้รับการตีพิมพ์ต่อจำนวนบุคคลากรสูงสุด อนาคต การประเมินการแข่งขันในเชิงเปรียบเทียบจะมีมากขึ้น ถ้ารู้สึกว่า หัวข้อใดไม่ “เมคเซ็นส์” เสนอว่าก็ตั้งหัวข้อที่ดีเพิ่ม อย่างน้อย จะได้รู้ว่า จริงๆแล้ว มหาวิทยาลัยนี้ เจ๋ง/ห่วย ในเรื่องใดบ้าง
สรุป ฐานข้อมูลสำหรับการทำวิจัย สารสนเทศงานวิจัย การประเมินงานวิจัย อยู่เกณฑ์ดี แต่การใช้งานต่ำ สารสนเทศงานวิจัย จะต้องมีเอกภาพและเชื่อถือได้ การดำเนินการจะต้องลดค่าใช้จ่าย งาน และความซ้ำซ้อน เป็นเครื่องมือช่วยผลักดันความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย การประเมินงานวิจัย การไปสู่ความเป็นเลิศต้องประเมินที่ “สมรรถนะ” ไม่ใช่เพียงแค่การ “ประกันคุณภาพ” ทั้งนี้ ต้องเห็นความสำคัญของกระบวนการจัดการข้อมูลมากขึ้น
พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า pp@ku.ac.th; http://www.cpe.ku.ac.th/~pp ขอบคุณครับ พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า pp@ku.ac.th; http://www.cpe.ku.ac.th/~pp
งาน วันนักวิจัย หอประชุม โรงเรียนสาธิตเกษตร ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๗ ๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕