โครงการ จัดทำระบบบริหารจัดการข้อมูลงานรังวัดเพื่อการชลประทานและแผนที่บัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว. 43 ก.) เหตุผลความจำเป็น การก่อสร้างโครงการชลประทานมีการจ่ายเงินค่าชดเชย หรือค่าทดแทนที่ดิน แผนที่ที่ใช้ประกอบการจ่ายเงินคือ แผนที่บัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว. 43 ก.) การรังวัดที่ดินดำเนินการโดยช่างรังวัดกรมที่ดิน ภายใต้บันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินและกรมชลประทาน ปี พ.ศ. 2542
เหตุผลความจำเป็น(ต่อ) กรมที่ดินจะสร้างแผนที่บัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว. 43 ก.) เป็นกระดาษบาง โดยเก็บต้นฉบับไว้ และส่งคู่ฉบับให้กรมชลประทานเก็บไว้เป็นหลักฐาน จัดเก็บไว้ที่ฝ่ายประสานงานรังวัดที่ดิน ส่วนสำรวจกันเขตและประสานงานรังวัด สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา ปัจจุบันแผนที่ ร.ว. 43 ก. ของโครงการต่างๆทั่วประเทศมีประมาณ 250,000 แผ่น (ข้อมูลจากกรมที่ดิน) ตามบันทึกข้อตกลงต้องมีการถ่ายสำเนา(กระดาษ)ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ชุด
เหตุผลความจำเป็น(ต่อ) การจัดเก็บกระดาษบาง (แผนที่ ร.ว. 43 ก.) พับใส่แฟ้ม และเก็บไว้ที่ชั้นจัดเก็บ
เหตุผลความจำเป็น(ต่อ) แผนที่เก่าและชำรุด มีรอยพับ และส่วนใหญ่จะชำรุดบริเวณรอยพับ การค้นหายุ่งยากและใช้เวลานาน
เหตุผลความจำเป็น(ต่อ) ปัจจุบันที่ดินมีราคาแพง เกิดการรุกล้ำเขตชลประทาน มีข้อพิพาทต่างๆมากขึ้น
เหตุผลความจำเป็น(ต่อ) แผนที่ ร.ว. 43 ก. เป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง สำนักสำรวจฯ มีระบบสืบค้นแผนที่สำรวจกันเขต และระบบสืบค้นแผนที่ภาคพื้นดินแล้ว ระบบเดิมไม่สามารถรองรับข้อมูลแผนที่จำนวนมากเพิ่มเติมได้ ระบบบริหารจัดการฯ เป็นการบูรณาการข้อมูลแผนที่ของสำนักสำรวจฯ
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดเก็บแผนที่ ร.ว. 43 ก ซึ่งอยู่ในรูปแบบกระดาษเป็นดิจิตอลไฟล์ และนำมาสร้างระบบฐานข้อมูล(data base) เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการค้นหา และทำสำเนาแผนที่ รว.43 ก ให้แก่สำนัก กอง โครงการ เพื่อทำให้ผู้ใช้น้ำชลประทานและชุมชนใกล้เคียงมีความพึงพอใจ
ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มประสิทธิภาพการด้านการค้นหา ทำสำเนา จัดเก็บแผนที่ รว. 43 ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับสำเนาแผนที่ โดยสะดวก รวดเร็ว สามารถนำแผนที่ไปดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมความพร้อมก่อนการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงาน สนองตอบต่อยุทธศาสตร์การเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ผู้ใช้น้ำชลประทานและชุมชนใกล้เคียงมีความพึงพอใจ
สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน กระบวนการประกาศทางน้ำและการอนุญาตใช้น้ำชลประทานมีประสิทธิภาพ มีอุปกรณ์เครื่องมือ ระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผู้ใช้น้ำชลประทานและชุมชนใกล้เคียงมีความพึงพอใจ