กลุ่มที่ 1 กลุ่มภาคเหนือและภาคตะวันออก 1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1.1 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน 2. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2.1 พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ 2.2 นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร 5. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 5.1 ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
ประธาน : คุณอนุศิษฎ์ ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดล้านนา เลขานุการกลุ่ม : คุณสมเกียรติ ไพศาล (จังหวัดอุทัยธานี)
แนวทาง หลักการและการจัดกลุ่มจังหวัดที่เหมาะสม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนมีความเห็นในเรื่องขนาด และจำนวนจังหวัดเป็น 2 แนวทาง ไม่เหมาะสม ขนาดใหญ่เกินไป ทรัพยากรส่วนใหญ่จะลงสู่แต่จังหวัดหลัก โอกาสของจังหวัดรองในการแสดงความคิดเห็นมีน้อย การเดินทาง คมนาคม ไกลและไม่สะดวก เช่น จากน่านไปเชียงใหม่ เหมาะสม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตเดียวกัน ความต่อเนื่องของโครงการและฐานข้อมูลที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีพลังต่อรองมากขึ้นเมื่อเป็นกลุ่มใหญ่ 2. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เหมาะสม 3. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เหมาะสม
ข้อสังเกต ขนาดไม่ควรใหญ่เกินไป ควรยึดพื้นที่เป็นหลัก ควรมีองค์กรรองรับการบริหารกลุ่มจังหวัด
การจัดระบบหรือกลไกการบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด การจัดระบบหรือกลไกการบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด
กลไกการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด ข้อเสนอของกลุ่ม ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอย่างแท้จริง กำหนดให้มีแผนบริหารงานกลุ่มจังหวัดที่เป็นรูปธรรมและนำไปปฏิบัติได้จริง การบริหารกลุ่มจังหวัด ควรจัดในรูปคณะกรรมการ ซึ่งควรประกอบด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนในสัดส่วน ที่ใกล้เคียงกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน /ภาคประชาชน กำหนดจำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อวางแผนและติดตามงาน โดยอาจกำหนดให้มีการประชุม 2 เดือน ต่อครั้ง หรืออย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ควรมีประธานระดับกลุ่มจังหวัดที่มีความเป็นกลาง ทำหน้าที่หลักในการประสานงานระหว่างจังหวัด ตัวชี้วัดไม่ควรเหมือนเดิมเพราะไม่เอื้อกับจังหวัดเล็ก และทำในสิ่งที่วัดง่าย
กลไกการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด (ต่อ) ข้อเสนอของกลุ่ม จัดให้มีสำนักงานเลขาธิการกลุ่มจังหวัด (ที่ไม่ใช่ราชการ ทำหน้าที่งานธุรการ) และบุคลากรที่ปฏิบัติงานกลุ่มจังหวัดแยกจากสำนักงานจังหวัด โดยมีภาครัฐสนับสนุนงบประมาณแบบจัดสรรโดยตรงให้กลุ่มจังหวัด ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการฯ โดยมีกระบวนการทำงานแบบครบวงจร ตั้งแต่วางแผน ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนกลุ่มจังหวัด มีการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เริ่มจากการตั้งประเด็น เช่น ประเด็นเศรษฐกิจ ควรจัดเวทีให้ stakeholders มาคุยกัน เช่น ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ โครงสร้างกลุ่มจังหวัด ต้องตั้งเป้าหมายให้ได้ว่ารวมกันเพื่ออะไร อาทิ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องมีคนคิดว่าจะได้ประโยชน์อย่างไร มี roadmap ในแต่ละด้านในการเชื่อมโยงการทำโครงการ มีคณะที่ปรึกษาในเรื่องหลักๆ เพื่อการทำงานยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดให้เกิดประสิทธิผล