Good Governance :GG
รายชื่อผู้ร่วมงาน นายอภิชาติ อภิเมธีธำรง ประธาน นางวรรณวิมล ตั่นประดิษฐ์ เลขา นายสมัคร สดุดี นายสุกิตติ ธนพิทักษ์ คุณวิไลรัตน์ รุ้งกำธรธรรม คุณสุพรศรี ทุมโฆสิต นายสนอง ดลประสิทธิ์ นายชรัญญา หยองเอ่น นายบำนาญ สุวรรณรักษ์ นายสมประสงค์ ประสพสุข นายสุวินัย รันดาเว นางวนิดา วานิช นางสาววิไลรัตน์ นายวิชา สว่างขจร
กรอบการนำเสนอ นำเสนอ 2 เรื่อง คือ - การลดขั้นตอนและระยะเวลาฯ - ศูนย์บริการร่วม
การนำเสนอประกอบด้วย สรุปประสบการณ์ พร้อมบทเรียนที่ได้เรียนรู้ การดำเนินการของหน่วยงานที่สามารถเป็นตัวอย่าง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการให้เข้มแข็งในอนาคต
การลดขั้นตอน
ความสำเร็จ ราชการทำงานเร็วขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การต่อทะเบียนรถยนต์ การทำบัตรประชาชน โดยเฉพาะงานทะเบียน/การขออนุมัติอนุญาตเรื่องต่าง ๆ ภาพรวมของการให้บริการภาครัฐดีขึ้น มีการมอบอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติในการอนุมัติอนุญาต เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการ ประชาชนได้รับความสะดวกและมีความพึงพอใจในการได้รับบริการจากภาครัฐมากขึ้น ภาครัฐและประชาชนประหยัดเวลาและงบประมาณ ประชาชนรู้สึกเป็นมิตรและเข้ามาใช้บริการของรัฐมากขึ้น
ความผิดพลาด ข้อจำกัดเรื่อง กฎ ระเบียบ ไม่มีการมอบอำนาจจากต้นสังกัดให้แก่จังหวัด การลดขั้นตอน จึงเป็นการสั่งการจากกรม บางกระบวนงานไม่ควรนำมาลดขั้นตอน เพราะเสี่ยงต่อความมั่นคง เช่น ทะเบียนปืน บางกระบวนงานหากมีการลดขั้นตอนมากอาจทำให้คุณภาพและมาตรฐานของงานลดลง ความไม่พร้อมของทรัพยากรทางการบริหาร เช่นงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี(4M)
บทเรียน เป็นผลสำเร็จของการบริหารงานแนวใหม่ที่เห็น เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดประการหนึ่งของระบบบริหารราชการแนวใหม่ ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการติดต่อราชการและมีความพอใจภาครัฐมากขึ้น ข้าราชการมีการเครียดเพิ่มขึ้นจากการต้องปฏิบัติงานให้สำเร็จได้ตามกรอบ โดยเฉพาะงานที่ลดขั้นตอนไม่ได้ถึง 30-50% หน่วยงานสนับสนุนต้องมีความพร้อมทั้ง 4 M เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ
ศูนย์บริการร่วม
ความสำเร็จ มีช่องทางในการขอรับบริการจากรัฐเพิ่มขึ้น อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อยู่ต่างพื้นที่ ประหยัดงบประมาณและเวลาของประชาชน เช่นการขอใช้ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ มีหน่วยงานรับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานให้แก่ประชาชน มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการให้บริการประชาชน
ปัญหา ประชาชนไม่ทราบว่ามีศูนย์บริการร่วม ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้บริหาร จนถึงผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์บริการร่วม หน่วยงานในภูมิภาคอยู่ใกล้เคียงกันจึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีประโยชน์ในการจัดตั้งศูนย์บริการร่วม ผู้ทำหน้าที่ในศูนย์บริการร่วม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานที่ให้บริการร่วมอย่างชัดเจนและถูกต้องได้ยาก สถานที่ในการจัดตั้งขาดความพร้อมและขาด IT ในการพัฒนาระบบการให้บริการ ขาดการสนับสนุนทางด้านงบประมาณฯลฯ ขาดความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บทเรียน บางงานมีข้อจำกัดในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ เช่นการอนุมัติ อนุญาต โดยภาพรวมไม่ชัดเจนในการปฏิบัติ การตั้งศูนย์บริการร่วมควรเลือกจัดตั้งตามความจำเป็นของงานและพื้นที่ที่มีความเหมาะสม รัฐไม่รีบทำอาจถูก 7-eleven แย่งงานไปทำได้
หน่วยงานที่สามารถเป็นตัวอย่าง ลดขั้นตอน การทำบัตรประชาชนของกรมการปกครอง การเสียภาษีของกรมสรรพากร ศูนย์บริการร่วม ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของ สนจ. ศูนย์ดำรงธรรม ของ ก.มหาดไทย ศูนย์บริการแจ้งภัย
แนวทางการพัฒนาฯ มีเว็บไซต์เชื่อมโยง จัดให้มีทีมงานรับผิดชอบทุกระดับ มีการประชุมสัมมนาร่วมกันกับทีมงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ